วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ถ่านกัมมันต์

http://www.vcharkarn.com/vcafe/30714

ถ่านกัมมันต์
โพสต์เมื่อ
: 22:46 วันที่ 12 พ.ค. 2548         ชมแล้ว: 31,557 ตอบแล้ว: 42
วิชาการ >> คาเฟ่>> ทั่วไป



ถ่านกัมมันต์ที่ทำจากขี้เลื่อยที่ได้จากไม้ยางมีสูตรโครงสร้างรึป่าว
 รู้ได้ไงว่าวัตถุดิบนี้ควรกระตุ้นด้วยเคมีหรือกายภาพ
 ประโยชน์ของถ่านกัมมันต์ที่ได้จากขี้เลื่อยเอาไปทำอะไรได้บ้าง

glad_kid@hotmail.com(203.156.25.39,,)





จำนวน 40 ความเห็น, หน้าที่| -1-

ความเห็นเพิ่มเติมที่ 1 16 พ.ค. 2548 (00:25)
ถ่านกัมมันต์หรือactivated charcoal เป็น amorphous form ของคาร์บอนจึงไม่มีโครงสร้างผลึก (พวกเพชร จะมีโครงสร้างผลึก) สูตรโครงสร้างก็ C (carbon) แต่ผ่านการ activate ไม่แน่ใจว่าวัตถุดิบมีผลหรือเปล่าในเมื่อมันให้เป็นธาตุคาร์บอนเหมือนกันแตความบริสุทธิ์,%yield และประสิทธิภาพหลังกระตุ้นแล้วคงไม่เท่ากันในแต่ละวัตถุดิบวิธักระตุ้นน่าจะใช้วิธีที่นิยมใช้อะ ประโยชน์ก็เป็นประโยชน์ของภ่านกัมมันต์คือเป็น filter กรองน้ำ ,เป็น adsorbent ตัวดูดซับ กลิ่น chemical impurities, decolorizer ดูดสี pigments,เป็น antidote กินเพื่อดูดซับยาบางชนิด สารพิษบางชนิด แต่จะใช้ได้ดีหรือเปล่าคงต้องทดสอบประสิทธิภาพในการดูดซับก่อนอะ

หอยโข่ง (IP:203.209.111.55,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 2 17 พ.ค. 2548 (20:54)
ขอบคุณมากคะคุณหอยโข่ง
 มีคำถามรบกวนอีกคะคืออยากทราบว่ารูพรุนขนาดเล็กมีความสามารถในการการดูดซับดีกว่าขนาดใหญ่ใช่ไหมคะ
 แล้วการกระตุ้นทางเคมีได้รูพรุนขนาดใหญ่ส่วนทางกายภาพได้รูพรุนขนาดเล็กจริงรึป่าวคะอย่างนี้วิธีทางเคมีก็ไม่ดีใช่ไหมคะแล้วทำไมคนนิยมใช่วิธีทางเคมีหละคะ(งง)

glad (IP:203.156.24.115,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 3 17 พ.ค. 2548 (21:41)
ใช่อันเดียวกันกับถ่านโค้กหรือป่าวค่ะ

คอมบุ
ร่วมแบ่งปัน101 ครั้ง - ดาว 152 ดวง - โหวตเพิ่มดาว


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 4 7 มิ.ย. 2548 (12:41)
อยากทราบว่าหลังจากการกระตุ้นแล้วจากนั้นนำถ่านไปเผาการเผาจะต้องควบคุมอุณหภูมิรึเปล่าคะแล้วเราใช้เตาเผาะรรมดาได้รึเปล่าคะ

au-jang@hotmail.com (IP:202.29.6.254,unknown,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 5 26 มิ.ย. 2548 (14:26)
มีใครทราบเครื่องmicromeritics ASAP 2000 บางรึป่าวว่ามีหลักการทำงานอย่างไร
 ช่วยหน่อยนะค่ะ

เด็กอยากรู้ (IP:203.156.25.131,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 6 19 ก.ค. 2548 (17:49)
ช่วยหาวิธีกำจัดสีในนำเสียก่อนเข้าระบบASให้ที ต้องการdataตัวไหนวานบอก

a (IP:203.155.21.58,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 7 15 ส.ค. 2548 (20:27)
การกระตุ้นทางเคมีเป็นการเปลี่ยน funtional group บน surface ของ activated carbon ซึ่งไม่น่าจะเกี่ยวกับขนาดของรูพรุน

คนธรรมดา (IP:202.44.14.194,10.1.9.215,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 8 14 ก.ย. 2548 (11:53)
บางทีถ้าขนาดของรูพรุนเล็กเกินไป ก็อาจทำให้ไฮเดรทของสารดูดซับเข้าไปได้ยากกว่ารูพรุนที่มีขนาดใหญ่
รวมถึงพื้นที่ผิวถ้ามีมากก็สามารถดูดซับได้ดี

ลูกช้าง (IP:202.28.27.4,202.28.24.163,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 9 12 ต.ค. 2548 (10:32)
น่าจะมีสูตรสำเร็จสำหรับการควบคุมการผลิตถ่านกัมมันต์ได้มั่งนะวอนท่านผู้รู้ช่วยชีแนะหน่อยนะครับ

คนจะเอาถ่าน (IP:203.156.138.2,203.144.141.141,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 10 6 ม.ค. 2549 (16:10)
ขอตอบที่ละคำถาม นะครับ
 ถ่านโค๊ก(Coke) กับถ่านกัมมันต์(Activated Carbon)คนละตัวกันนะครับ ถ่านโค๊กเป็นถ่านเชื้อเพลิงถ้าจำไม่ผิดก็พวกๆพี่ๆน้องๆถ่านหินนะ ส่วนถ่านกัมมันต์เป็นถ่านที่ใช้ประโยชน์ด้านการดูดซับกลิ่นสีประมาณนั้น ที่เห็นกันบ่อยก็คือถ่านที่ใส่ในที่กรองน้ำ หรือ ยาก้อนดำที่ใช้ดูดแก๊ซในทางเดินอาหาร หรือในตู้เย็น(แต่ไม่ใช้ถ่านหุงข้าวนะ)ในกล่องดูดกลิ่นของตู้เย็นบางรุ่น หรือใส่อยู่ในเครื่องฟอกอากาศ หรือ ใช้ในหน้ากากกันแก๊ซพิษที่เราเห็นเป็นจมูกหมูนแหละ ตรงที่เป็นจมูกหมูนั้นแหละเป็นกระเปาะใส่ถ่านพวกนี้อยู่ ส่วนการทำน้ำก็คือการนำถ่านธรรมดาที่ได้จากกระบวนการเผาถ่านหุงต้มเรานี้แหละ
 มาผ่านระบวนการกระตุ้น(Activate)อีกทีนึง จึงทำให้มันมีชื่อว่า Activated Carbon ซึ่งถ้าแปลตัวภาษาอังกฤษแล้วก็คือ"คาร์บอน(ถ่าน)ที่ผ่านการกระตุ้น(Activated)แล้ว"
 ส่วนวัตถุดิบที่แตกต่างก็ขึ้นอยู่ว่าเป็นอะไร อย่างถ่านที่ไ้ด้จากถ่านหินที่ผ่านการเผาถ่าน(Carbonization)แล้ว หรือถ่านที่มาจากกระลามะพร้าว วัตถุดิบที่แตกต่างกันก็ทำให้ถ่านกัมมันต์มีคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพแตกต่างกันไปด้วย
 ส่วนอีกประเด็นนึงก็คือ การกระตุ้น(Activate)ก็มี 2 แนวหลักๆ ก็คือการกระตุ้นด้วยสารเคมี และ ด้วยวิธีทางกายภาพ ซึ้งก็มีข้อดี ข้อด้อยด้วยกัน การระตุ้นด้วยสารเคมีนั้นมีข้อดีคือราคาถูกกว่า แต่ข้อด้อยก็คือการล้างสารเคมีออกในขั้นตอนสุดท้ายนั้นทำให้เกิดความยุ่งยาก ส่วนวิธีการทางกายภาพนั้นก็คือการเผาที่อุณภูมิสูง
 ส่วนประเด็นเรื่องสูตรสำเร็จนั้นมันไม่มีหรอกจ๊ะ เพราะมันขึ้นอยู่กับว่าผู้ผลิตมีวัตถุดิบคืออะไร เช่น ถ่านหิน, กระลา, ไม้, แกลบ และวัตถุประสงค์เพื่ออะไร ทำยา หรืออุตสาหกรรมอาหาร หรือ กำจัดสารพิษในอุตสาหกรรม แต่ถ้าอยากได้รายละเอียดเชิงลึกหน่อยแนะนำให้ไปที่ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ เพราะเขาได้รวบรวมpaperด้านนี้ไว้มาก

monay (IP:202.57.175.24,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 11 1 ก.พ. 2549 (09:36)
อยากรู้ว่าถ่านกัมมันต์ทำมาจากอะไร ใช่พืชหรือเปล่า ขอคำตอบอย่างด่วน

คำถ่าน (IP:202.129.44.58,172.20.200.120,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 12 22 ก.พ. 2549 (16:17)
อยากได้ข้อมูลวิจัยเกี่ยวกับถ่านกัมมันต์ต้องทำอย่างไงบ้างหาข้อมูลจากใหนบ้าง

bananamuay@hotmail.com (IP:125.24.85.213,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 13 23 ก.พ. 2549 (17:50)
อยากทราบว่ากลไกปฏิกิริยาของ activated carbon เป็นยังไง สามารถจับกับสารฟีนอลิกได้ยังไง

fon085@hotmail.com (IP:202.183.233.213,10.129.46.82,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 14 3 เม.ย. 2549 (17:37)
อยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างทางเคมีของเถ้าแกลบ
 แล้วทำไมถึงดูดซับสารต่างๆได้

... (IP:202.44.14.194,10.1.9.14,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 15 10 เม.ย. 2549 (14:48)
อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของ Activate carbon ที่แยกน้ำมันออกจากนำแอมโมเนีย เพื่อต้องการนำน้ำแอมโมเนียกับเข้าสู่ระบบ

Sutham@thainitrate.com (IP:210.1.18.98,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 16 20 มิ.ย. 2549 (13:48)
ถ่านกัมมันต์ผลิตจากสบู่ดำได้ไหม

At_@hotmail.com (IP:202.28.35.245,10.100.52.53,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 17 29 มิ.ย. 2549 (15:37)
อยากทราบว่า Activated carbon กับ Carbon Black เป็นสารชนิดเดียวกันหรือไม่ ถ้าไม่แตกต่างกันอย่างไร และนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร

tamaca28@hotmail.com (IP:124.120.234.241,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 18 13 ก.ค. 2549 (21:23)
ถ้าจะผลิตถ่านกัมมนต์โดยการนำพืชชนิดต่าง ๆไปเผาจะได้หรือไม่ ?
 ( นอกจากกะลา หรือ ไม้ )

Kira~KunG (IP:58.9.82.144,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 19 16 ก.ค. 2549 (12:03)
Activated carbon เป็นตัวดูดซับ ส่วนcarbon black เป็นสารเสริมแรง และให้สีดำ

kiddy (IP:58.64.101.23,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 20 18 ก.ค. 2549 (21:38)
ผมมีความสนใจอยากทำธุรกิจเกี่ยวกับถ่านกัมมันต์ควรเริ่มต้นอย่างไรหาข้อมูลด้านค้าขายได้จากทางไหนครับ...ขอบคุณครับ

forgetdream_sa@hotmail.com (IP:202.12.97.118,10.161.60.25,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 21 10 พ.ย. 2549 (14:43)
ไม่ทราบว่าจะซื้อถ่านกัมมันต์ มาเป็น standard ในการเปรียบเทียบกับที่ผลิตได้เอง..จะหาซื้อได้ที่ไหน ราคาเท่าไหร่/กิโลกรัม ผมอยู่กรุงเทพครับ..ขอบคุณ

jojoe_koong@hotmail.com (IP:202.151.41.2,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 22 14 ธ.ค. 2549 (17:31)
1.อยากว่าเมื่อทำการกระตุ้นด้วยสารละลายซิงค์คลอไรด์แล้วจะมีวิธีอย่างไรที่จะทำการเผาไม่ให้กัดกร่อนเตาเผาครับ
 2.การค่าไอโอดีนนัมเบอร์หาได้อย่างและคำนวณอย่างไร

pengpretty@hotmail.com (IP:203.158.118.15)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 23 16 ธ.ค. 2549 (13:04)
อยากทราบวิธีการในการเตรียมถ่านกัมมันต์อย่างละเอียดค่ะ ขอขอบคุณล่วงหน้า

ningnong35@hotmail.com (IP:58.8.159.180)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 25 19 ธ.ค. 2549 (19:24)
วิธีการหาค่าไอโอดีนนัมเบอร์
(Standard test method for determination of iodine number
of Activated carbon, ASTM D 4607)

1. เครื่องมือ
 - เครื่องชั่งละเอียด 4 ตำแหน่ง
 - เตาอบอุณหภูมิ 110-150 องศาเซลเซียส
 - ขวดรูปชมพู่ (Erlenmeyer Flask) ขนาด 250 มิลลิลิตร
 - กระดาษกรองเบอร์ 42 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มิลลิลิตร
 - เครื่องแก้ว: บิวเรตต์, ปิเปต, กรวยกรอง, บีกเกอร์, ขวดปรับปริมาตรขนาด 1 ลิตร
 - โถดูดความชื้น (Decicator)

2. สารเคมี และวิธีเตรียม
 2.1 สารละลายกรดไฮโดรคลอริก ร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก
 - ผสมกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นจำนวน 70 มิลลิลิตร ลงในน้ำกลั่น 550 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากัน
 2.2 สารละลายมาตรฐานโปแตสเซียมไอโอเดต 0.1000 นอร์มัล (normal, N)
 - ชั่งโปแตสเซียมไอโอเดต (Primary Standard Grade Potassium Iodate, KIO3) ที่ผ่านการอบที่อุณหภูมิ 110  5 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วทิ้งให้เย็นในโถ ดูดความชื้น จำนวน 3.5667  0.1 มิลลิกรัม ละลายน้ำกลั่นปริมาณ 100 มิลลิลิตร ถ่ายสารละลายลงในขวดปรับปริมาตร (Volumetric Flask) ขนาด 1 ลิตรทำให้เจือจางด้วยน้ำกลั่นจนได้ปริมาตร 1,000 มิลลิลิตร
 2.3 สารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.1  0.001 นอร์มัล (normal, N)
- ละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต (Sodium Thiosulfate, Na2S2O3.5H2O) 24.820 กรัม ในน้ำกลั่นที่ผ่านการต้มให้เดือด 75  25 มิลลิลิตร เติมโซเดียมคาร์บอเนต 0.10  0.01 กรัม ถ่ายสารละลายลงในขวดปรับปริมาตร (Volumetric Flask) ขนาด 1 ลิตร ทำให้เจือจางด้วยน้ำกลั่นจนได้ปริมาตร 1,000 มิลลิลิตร เก็บสารละลายนี้ไว้ในขวดสีชา ทิ้งไว้อย่างน้อย 4 วัน ก่อนทำการตรวจสอบความเข้มข้น

2.4 สารละลายมาตรฐานไอโอดีน 0.1  0.001 นอร์มัล (normal, N)
 - ชั่งไอโอดีน 12.7 กรัม และโปแตสเซียมไอโอไดน์ (Kl) 19.1 กรัม ผสม ให้เข้ากัน เติมน้ำกลั่น 2-5 มิลลิลิตร คนให้ของแข็งละลาย ค่อยๆ เติมน้ำทีละน้อย (ครั้งละประมาณ 5 มิลลิลิตร) จนกระทั่งให้สารสารละลายประมาณ 40 มิลลิลิตร ทิ้งสารละลายไว้อย่างน้อย 4 ชั่วโมง คนเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าของแข็งละลายหมด ถ่ายสารละลายลงในขวดปรับปริมาตร (Volumetric Flask) ขนาด 1 ลิตร ทำให้เจือจางด้วยน้ำกลั่นจนได้ปริมาตร 1,000 มิลลิลิตร เก็บสารละลายนี้ไว้ในขวดสีชา ตรวจสอบความเข้มข้น กับสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.1 N
 2.5 สารละลายแป้ง
- สารละลายแป้ง (Soluble Starch) 1.0  0.5 กรัม ในน้ำเย็น 5-10 มิลลิลิตร คนสารละลายพร้อมกับเติมน้ำกลั่นเพิ่มอีก 25  5 มิลลิลิตร เทสารละลายลงในน้ำเดือด 1 ลิตร แล้วต้มต่อให้เดือดอีก 4-5 นาที

















ภาพที่ 1 ภาคผนวก ก การเตรียมสารเคมีในการวัดค่าไอโอดีนนัมเบอร์
 3. การตรวจสอบความเข้มข้นของสารละลาย
 3.1 การตรวจสอบความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต
 ใช้ปิเปตดูดสารละลายโปแตสเซียมไอโอเดต (KIO3) 25 มิลลิลิตร ใส่ในขวด รูปชมพู่ เติมโปแตสเซียมไอโอไดน์ (KI) 2.0  0.01กรัม เขย่าจนละลาย ปิเปตกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 5 มิลลิลิตร ลงในขวดรูปชมพู่แล้วไตเตรดทันทีด้วยสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.1 N เมื่อสีของสารละลายไอโอดีนจางลงจนกระทั่ง เป็นสีเหลืองอ่อน (ใกล้ถึงจุด End Point) หยดน้ำแป้ง 2-3 หยด สารละลายจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ไตเตรดต่อจนสารละลายไม่มีสี บันทึกปริมาตรของสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตที่ใช้ ทำการไตเตรดซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง คำนวณ หาความเข้มข้นสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตโดยใช้สูตร

N1 = (P.R)/S

เมื่อ N1 = ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต, นอร์มัล
P = ปริมาตรสารละลายโปแตสเซียมไอโอเดต, มิลลิลิตร
R = ความเข้มข้นสารละลายโปแตสเซียมไอโอเดต,
นอร์มัล
S = ปริมาตรสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตที่ใช้,
มิลลิลิตร

3.2 การตรวจสอบความเข้มข้นของสารละลายไอโอดีน
 ใช้ปิเปตดูดสารละลายไอโอดีน 25 มิลลิลิตร ใส่ในขวดรูปชมพู่ แล้วไตเตรด ทันทีด้วยสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.1 N เมื่อสีของสารละลายไอโอดีนจางลงจนกระทั่งเป็นสีเหลืองอ่อน (ใกล้ถึงจุด End Point) หยดน้ำแป้ง 2-3 หยด สารละลายจะเป็นสีน้ำเงิน ไตเตรดต่อจนสารละลายไม่มีสี บันทึกปริมาตรของสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตที่ใช้ ทำการ ไตเตรดซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง คำนวณหาความเข้มข้นสารละลายไอโอดีนโดยใช้สูตร





N2 = (S.N1)/l

เมื่อ N2 = ความเข้มข้นของสารละลายไอโอดีน, นอร์มัล
S = ปริมาตรสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตที่ใช้, มิลลิลิตร
N1 = ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต, นอร์มัล
l = ปริมาตรสารละลายไอโอดีน, มิลลิลิตร

อรัญ (IP:203.155.54.242)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 26 19 ธ.ค. 2549 (19:29)
4.1 การเตรียมถ่านกัมมันต์

ศึกษาการเตรียมถ่านกัมมันต์และปัจจัยที่มีต่อประสิทธิภาพของถ่านกัมมันต์ คือผลของอุณหภูมิที่ใช้ในการเผา เวลาที่ใช้ในการเผากระตุ้น และอัตราส่วนโดยน้ำหนักของวัตถุดิบต่อสารกระตุ้นที่ใช้
4.1.1 การแปรสภาพอินทรีย์วัตถุให้เป็นถ่าน สถานที่ในการเตรียมถ่านในครั้งนี้ ทำในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
1) การเตรียมหลุม ขุดหลุมลึกประมาณ 0.5-1 เมตร กว้าง 1 เมตร
2) นำเชื้อเพลิงวางก้นหลุม โดยวางหนาประมาณ 20-30 เซนติเมตร เชื้อเพลิงที่ใช้ ได้แก่ เศษใบไม้ กิ่งไม้เล็กๆ ฟางข้าว
3) จุดไฟเผาเชื้อเพลิงที่ก้นหลุม เมื่อไฟเริ่มติดบริเวณผิวด้านบนของ เชื้อเพลิงให้ใส่กะลาลูกตาลโตนดทีละน้อยจบเต็มหลุม รอจนสังเกตเห็นว่าไฟเริ่มลุกติด กะลาลูกตาลโตนด
4) นำแกลบปิดทับด้านบนให้หนาพอที่ควันไฟไม่สามารถขึ้นมาได้ ในช่วงนี้ต้องคอยเติมแกลบในช่วง 4-6 ชั่วโมงหลังจากเผา ทิ้งไว้อีกประมาณ 8-10 ชั่วโมง
5) เปิดปากหลุม นำถ่านที่ได้ใส่ในโอ่งเคลือบปิดฝาโอ่งให้แน่นไม่ให้อากาศเข้าไปได้เพื่อลดการเกิดขี้เถ่า ทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน จนถ่านเย็นสนิท
6) การคัดขนาด นำถ่านที่ได้จากขั้นตอนข้างต้น มาคัดขนาดให้ได้ประมาณ 3-4 มิลิเมตร เพื่อเตรียมใช้ในกระบวนการกระตุ้นในขั้นตอนต่อไป

4.1.2 ผลของอุณหภูมิในการเผา ต่อประสิทธิภาพของถ่านกัมมันต์
1) ทำการบรรจุวัตถุดิบในภาชนะดินเผา ปิดฝา นำเข้าสู่กระบวนการเผาและกระตุ้นด้วยโซเดียมคลอไรด์ที่อุณหภูมิ 500 ,600 ,700,800 และ900 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
2) ล้างสารกระตุ้น หลังจากการเผานำถ่านกัมมันต์มาล้างสารกระตุ้นที่เหลือจากการเผาโดยการแช่น้ำค้างคืนไว้ 1 คืน หลังจากนั้นล้างถ่านด้วยน้ำเดือดเพื่อล้างสารกระตุ้นออก แล้วนำไปอบแห้ง แล้วบดละเอียด จนสามารถร่อนผ่านตะแกรงคัดขนาด ( ตามมาตรฐานที่ใช้วิเคราะห์ค่าไอโอดีนนัมเบอร์ เช่น ASTM D 4607 ร่อนผ่านตะแกรงคัดขนาดเบอร์ 100 เมซได้ 95% และผ่านตะแกรงคัดขนาดเบอร์ 325 เมซได้ 60% )
 3) วิเคราะห์ค่าไอโอดีนนัมเบอร์ นำถ่านที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิต่าง ๆ ไปวิเคราะห์ค่าไอโอดีนนัมเบอร์ ตามวิธีการของ American Society for Testing and Material เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดติดผิวของถ่านกัมมันต์ที่ทำการเผาที่อุณหภูมิต่าง ๆ และเลือกอุณหภูมิการเผาที่ให้ถ่านกัมมันต์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มาใช้ในการทดลองในขั้นต่อไป ขั้นตอนการทดลองแสดงในภาพที่ 3.1





























ภาพที่ 3.1 ขั้นตอนการเตรียมถ่านพิจารณาอุณหภูมิที่เผา

4.1.3 ผลของอัตราส่วนโดยน้ำหนักของวัตถุดิบต่อโซเดียมคลอไรด์ต่อประสิทธิภาพของถ่านกัมมันต์
1) คัดขนาด นำถ่านที่ได้มาคัดขนาดให้ได้ประมาณ 3-4 มิลลิเมตร
2) ผสมกับเกลือแกง นำวัตถุดิบที่ได้มาผสมกับโซเดียมคลอไรด์ ที่อัตราส่วน1:0 ,1:1 ,1:2 ,1:3 และ1:4 โดยน้ำหนักของวัตถุดิบต่อโซเดียมคลอไรด์แล้วบรรจุลง ในภาชนะดินเผาปิดฝา แล้วนำเข้าสู่กระบวนการเผาและกระตุ้นในเตาเผาที่อุณหภูมิที่เหมาะสม ที่ได้จากการทดลองหาผลของอุณหภูมิในการเผา ต่อประสิทธิภาพของถ่านกัมมันต์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง อัตราส่วนของวัตถุดิบต่อโซเดียมคลอไรด์ที่อัตราส่วนต่างๆ ดังแสดงในตารางที่ 3.1

ตารางที่ 3.1 แสดงอัตราส่วนโดยน้ำหนักของวัตถุดิบต่อโซเดียมคลอไรด์

 วัตถุดิบ อัตราส่วนของวัตถุดิบ/โซเดียมคลอไรด์ จำนวนวัตถุดิบที่ทำการเผากระตุ้น (ส่วน) โซเดียมคลอไรด์ที่เติมลงในวัตถุดิบในขั้นตอนการเผาและกระตุ้น (ส่วน)

กะลาจาก
 ลูกตาลโตนด 1:0 1 -
1:1 1 1
 1:2 1 2
 1:3 1 3
 1:4 1 4

3) ล้างสารกระตุ้น หลังจากการเผานำถ่านกัมมันต์มาล้างสารกระตุ้นที่เหลือจากการเผาโดยการแช่น้ำค้างคืนไว้ 1 คืน หลังจากนั้นล้างถ่านด้วยน้ำเดือดเพื่อล้างโซเดียมคลอไรด์ออก นำไปอบแห้งแล้วบดละเอียด จนสามารถร่อนผ่านตะแกรงคัดขนาด ( ตามมาตรฐานที่ใช้วิเคราะห์ค่าไอโอดีนนัมเบอร์ เช่น ASTM D 4607 ร่อนผ่านตะแกรงคัดขนาดเบอร์ 100 เมซได้ 95% และผ่านตะแกรงคัดขนาดเบอร์ 325 เมซได้ 60% )
 4) วิเคราะห์หาค่าไอโอดีนนัมเบอร์ นำถ่านที่ผ่านการเผาที่อัตราส่วนต่าง ๆ ที่ร่อนผ่านตะแกรงแล้ว มาวิเคราะห์หาค่าไอโอดีนนัมเบอร์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการ ดูดติดผิวของถ่านกัมมันต์ที่ทำการเผาที่อัตราส่วนโดยน้ำหนักของวัตถุดิบต่อสารกระตุ้นที่ต่างกัน และเลือกอัตราส่วนที่ทำให้ถ่านกัมมันต์มีประสิทธิภาพสูงสุด มาใช้ในการทดลองหาประสิทธิภาพการดูดติดผิวตะกั่ว ขั้นตอนการทดลองแสดงในภาพที่ 3.2





























ภาพที่ 3.2 ขั้นตอนการเตรียมถ่านพิจารณาอัตราส่วนน้ำหนักต่อสารกระตุ้น
6) ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพที่สำคัญของถ่านกัมมันต์ที่ได้ ดังต่อไปนี้
- ค่าการดูดติดผิวไอโอดีนตาม ASTM D 4607-94
- ค่าพีเอชตาม ASTM D 3838-80
- ค่าพื้นที่ผิวตาม ASTM C 819-77
 7) ศึกษาลักษณะโครงสร้าง พื้นผิว และความเป็นรูพรุนของถ่านกัมมันต์ ที่ได้ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอล ( Scanning Electron Microscope : SEM )

4.2 การศึกษาความสามารถในการดูดติดผิวตะกั่ว

ศึกษาความสามารถในการดูดติดผิวตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ ของถ่านกัมมันต์ที่ได้จากการทดลองข้างต้น โดยใช้การทดลองแบบทีละเท (Batch Experiment) และศึกษาปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการดูดติดผิว ได้แก่ อิทธิพลของค่าพีเอช เวลาสัมผัส และปริมาณถ่านกัมมันต์ นำผลที่ได้มาเขียนไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดลิซ

4.2.1 อิทธิพลของพีเอชต่อการดูดติดผิว
1) ปรับค่าพีเอช นำน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้น10 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาตร 100 ลบ.ซม. ที่ปรับค่าพีเอชให้เท่ากับ 2 ,3 ,4 ,5 ,6 ,7 ,8 และ 9 ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วกรองตะกอนออกโดยใช้กระดาษกรอง แล้วนำน้ำเสียไปวัดปริมาณตะกั่วที่เหลืออยู่
2) เขย่าบนเครื่องเขย่า นำน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาตร 100 ลบ.ซม. ที่ปรับค่าพีเอชให้เท่ากับ 2 ,3 ,4 ,5 ,6 ,7 ,8 และ 9 ใส่ลงในขวดรูปชมพู่ขนาด 250 ลบ.ซม.เติมผงถ่านกัมมันต์ปริมาณ 0.2 กรัม ลงในขวดแต่ละใบ นำขวดไปเขย่าบนเครื่องเขย่า เป็นเวลา 120 นาที
3) แยกผงถ่านกัมมันต์ออกโดยนำไปกรองผ่านกระดาษกรอง วัดค่าพีเอชของน้ำเสียหลังเขย่า แล้วนำน้ำเสียไปวัดปริมาณตะกั่วที่เหลืออยู่ ทำการทดลองซ้ำ 3 ซ้ำ ขั้นตอนการทดลองดังแสดงในภาพที่ 3.3

































ภาพที่ 3.3 ขั้นตอนการศึกษาอิทธิพลของ pH ที่เหมาะสมในการทดลองแบบทีละเท
(Batch Experiment)
 4.2.2 อิทธิพลของเวลาสัมผัสต่อการดูดติดผิว
1) เตรียมน้ำเสียสังเคราะห์ นำน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัม ต่อลิตร ปริมาตร 100 ลบ.ซม. ที่ปรับค่าพีเอชให้เท่ากับการทดลองในขั้นตอนข้างต้น ใส่ลงในขวดรูปชมพู่ขนาด 250 ลบ.ซม.เติมผงถ่านกัมมันต์ปริมาณ 0.1 กรัม ลงในขวดแต่ละใบ
2) นำขวดไปเขย่าบนเครื่องเขย่า เป็นเวลา 5 , 10 ,15 ,30 ,60 และ 120 นาที
3) แยกผงถ่านกัมมันต์ออกโดยนำไปกรองผ่านกระดาษกรอง วัดค่าพีเอช ของน้ำเสียหลังเขย่า แล้วนำน้ำเสียไปวัดปริมาณตะกั่วที่เหลืออยู่ ทำการทดลองซ้ำ 3 ซ้ำ ขั้นตอนการทดลองดังแสดงในภาพที่ 3.4

4.2.3 อิทธพลของปริมาณถ่านกัมมันต์ต่อการดูดติดผิว
1) เตรียมน้ำเสียสังเคราะห์ นำน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัม ต่อลิตร ปริมาตร 100 ลบ.ซม. ที่ปรับค่าพีเอชให้เท่ากับการทดลองในขั้นตอนข้างต้น ใส่ลงในขวดรูปชมพู่ขนาด 250 ลบ.ซม.
2) นำขวดไปเขย่าบนเครื่องเขย่า เติมผงถ่านกัมมันต์ปริมาณ 0.01 ,0.02 ,0.03 ,0.04 ,0.1 และ 0.2 กรัม ลงในขวดแต่ละใบ นำขวดไปเขย่าบนเครื่องเขย่า เป็นเวลา 120 นาที
3) แยกผงถ่านกัมมันต์ออกโดยนำไปกรองผ่านกระดาษกรอง วัดค่าพีเอชของน้ำเสียหลังเขย่า แล้วนำน้ำเสียไปวัดปริมาณตะกั่วที่เหลืออยู่ ทำการทดลองซ้ำ 3 ซ้ำ
4) เขียนกราฟสมการไอโซเทอม นำค่าที่ได้ไปเขียนกราฟสมการไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดลิซ ขั้นตอนการทดลองดังแสดงในภาพที่ 3.5









































ภาพที่ 3.4 ศึกษาอิทธิพลของเวลาสัมผัสที่เหมาะสมในการทดลองแบบทีละเท
(Batch Experiment)

อรัญ (IP:203.155.54.250)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 27 27 ธ.ค. 2549 (13:41)
แต่ activated charcoal นั้น ในสภาพจริง จะมีประสิทธิภาพตำกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อทำงานอยู่ในร่างกาย เพราะของเหลวในร่างกายจะลดประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้นจึงกินครั้งละ ๒ เม็ด สำหรับผู้ใหญ่

sk
ร่วมแบ่งปัน46 ครั้ง - ดาว 152 ดวง - โหวตเพิ่มดาว


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 28 9 ม.ค. 2550 (19:57)
อยากทราบว่ากลิ่นที่เกิดจากสารไฮโดรคาร์บอนหรือสารกลุ่มอะโรเมติกส์จะสามารถใช้ถ่านcarbon ในการดูดซับกลิ่นได้หรือไม่ครับ ขอบคุณมากครับ

ps_nod@yahoo.com (IP:124.120.17.142)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 29 26 ม.ค. 2550 (14:42)
อยากทราบวิธีการเตรียมน้ำเสียสังเคราะห์ใ นการบำบัดน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรม

takji@hotmail.com (IP:61.19.95.120)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 30 6 ก.พ. 2550 (09:16)
อยากทราบวิธีที่จะดึงเอาสีออกจากสารสกัดโดยใช้ activated charcoal ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

umpika_ph@hotmail.com (IP:203.185.68.195)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 31 7 ก.พ. 2550 (16:00)
ขอเพิ่มเติมความเห็นที่ 25(คุณอรัญ)
 การคำนวณ Iodine number
 X/M = ( 10 - (2.2 x 0.1 x V.of Na2S2O3) x 126.93 )/M
 X/M = Iodine number (mg/g)
 V.of Na2S2O3 = ปริมาตรของไธโอซัลเฟต (ml)
 M = นำหนักถ่านที่ชั่ง (กรัม)
2.2 = Dilution Factor (100+10)/50
 Don CGC

laos22donbundal@yahoo.co.th (IP:58.136.134.51)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 32 7 ก.พ. 2550 (16:28)
ใครมี Test method ของ Iodine number (British Standard : EN 12902) กรุณาช่วยส่งให้ด้วยครับ ผมจะทดลองทำดูครับ ตอนนี้ผมใช้วิธีของASTMอยู่
 ขอบคุณล่วงหน้าครับ
 ----------------------------------------------------------------
 Don CGC

laos22donbundal@yahoo.co.th (IP:58.136.134.51)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 33 7 มี.ค. 2550 (09:54)
ฝากถามถึงคุณอรัญค่ะ ว่าสัญลักษณ์ที่มันขึ้นว่า &#61617 ในข้อความข้างบนที่อธิบายถึงการเตรียมสารเคมีในการวิเคระห์ไอโอดีนฯ นั้น คืออะไร แล้วตัวเลขข้างหน้าหรือข้างหลัง สัญลักษณ์นี้ ตัวเลขไหนใช้ในการเตรียมแน่ งงมากค่ะ

nidsree1@hotmail.com (IP:58.137.48.4)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 34 7 มี.ค. 2550 (17:06)
ตอบ ค.ห.33
 &#61617 เท่าที่ได้อ่านดู และจากที่ผมได้เตรียมและทดลองอยู่ น่าจะเป็นค่า +/- เช่น
 " ชั่งโปแตสเซียมไอโอเดต (Primary Standard Grade Potassium Iodate, KIO3) ที่ผ่านการอบที่อุณหภูมิ 110 +/- 5 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วทิ้งให้เย็นในโถ ดูดความชื้น จำนวน 3.5667 +/- 0.1 มิลลิกรัม"

laos22donbundal@yahoo.co.th (IP:58.136.135.173)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 35 18 มี.ค. 2550 (15:12)
อยากทราบว่าผงถ่านกัมมันต์ที่หมดอายุการใช้งานในการดูดซับแล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรอย่างอื่นได้อีกบ้างครับ

naranaja2@hotmail.com (IP:124.157.172.190)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 37 22 มี.ค. 2550 (13:55)
อยากทราบว่า ถ้าเราหาค่า ไอโอดีนนัมเบอร์ ออกมาได้แล้ว
 จะสามารถ เอามาใช้ในการหา adsorption isotherm ของการดูดซับไอโอดีน ได้รึปล่าวครับ

redsentai@gmail.com (IP:158.108.25.167)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 38 18 มิ.ย. 2550 (17:10)
อยากทราบว่าจะสั่งซื้อถ่านกัมมันต์ได้ที่ไหนค่ะ ราคาประมาณเท่าไหร่/กก.

b4661658@hotmail.com (IP:124.120.245.138)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 39 20 เม.ย. 2551 (12:26)
อยากได้วิธีทำถ่านกัมมันต์ที่ง่ายๆครับ


meows21
ร่วมแบ่งปัน1 ครั้ง - ดาว 50 ดวง - โหวตเพิ่มดาว


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 40 16 ส.ค. 2552 (21:38)
อยากทราบว่าถ้าผสมนมกันผงถ่านกำมันต์แล้วจะได้ของผสมสีใดคะ
ใครทราบช่วยตอบด้วยนะคะ
ขอบคุณค่ะ


oil_29
ร่วมแบ่งปัน1 ครั้ง - ดาว 50 ดวง - โหวตเพิ่มดาว


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 41 26 มิ.ย. 2554 (22:24)
อยากทราบวิธีการและขั้นตอนอย่างละเอียดของการcalibrate เครื่องโอโซนที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย
 และอยากทราบว่าคุณสมบัติในการดูดซับของถ่านกัมมันต์แบบผงและผักตบชวาแบบที่ขึ้นรูปต่างกันอย่างไร

kunnay-somtavin@hotmail.com (IP:49.229.237.71)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 42 12 ต.ค. 2554 (12:47)
อยากทราบวิธีการหาค่า Iodine number ค่ะ
 ขอบคุณมากน่ะค่ะ

แอมป์ (IP:101.109.222.239)


จำไว้ตลอด




กรอกตัวอักษรตามภาพ

ตัวช่วย 1: CafeCode วิธีการใช้
ตัวช่วย 2: VSmilies วิธีการใช้
ตัวช่วย 3: พจนานุกรมไทย ออนไลน์ ฉบับราชบัณฑิต
ตัวช่วย 4 : dictionary ไทย<=>อังกฤษ ออนไลน์ จาก NECTEC
ตัวช่วย 5 : ดาวน์โหลด โปรแกรมช่วยพิมพ์ Latex เพื่อแสดงสมการบนวิชาการ.คอม

จะทำอย่างไรถ้าภัยพิบัติจากนิวเคลียร์เกิดขึ้น Danger from radioactivity : อันตรายจากกัมมันตภาพรังสี

จะทำอย่างไรถ้าภัยพิบัติจากนิวเคลียร์เกิดขึ้น                    http://www.arsadusit.com/1887
Danger from radioactivity : อันตรายจากกัมมันตภาพรังสี

ขอขอบพระคุณ ข้อมูลที่ดีมากๆ จาก : http://www.sunflowercosmos.org


ในความคิดทั่วไป เมื่อกล่าวถึง กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) มักนึกถึงเรื่อง ระเบิดนิวเคลียร์ (Nuclear) จากเหตุการณ์ร้ายแรงของสงคราม แต่วันนี้เมื่อได้ รับฟังข่าวแผ่นดินไหว (The Science of Earthquakes) ในประเทศญี่ปุ่นส่งผล ให้เกิดคลื่นซึน่ามิขนาดยักษ์ เกิดความเสียหายต่อ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์  (Nuclear Power Plan) ยิ่งทำให้ประชากรโลก หวาดวิตกอย่างไม่เคยมีมากก่อน

เหตุผลสำคัญคือ จำนวนตัวเลข โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จากอดีตถึงปี ค.ศ.2011 มีจำนวนรวม 442 แห่ง ใน 30 ประเทศโดยอเมริกา มี 104 แห่ง ฝรั่งเศส 59 แห่ง ญี่ปุ่น 56 แห่ง เป็นต้น นอกจากนั้นอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 65 แห่ง    และในประเทศไทย ปัจจุบันมีโครงการเดินเครื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ประมาณปี 2563 ทั้งหมดจึงเป็นกระแสความสนใจถึงภัยพิบัติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นซ้ำรอยเดิม  ในประเทศอื่นๆได้









โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร







ความหมาย พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear energy) และ พลังนิวเคลียร์ (Nuclear power)

พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear energy) หมาย ถึงพลังงานไม่ว่าในลักษณะใดซึ่ง เกิดจากการปลดปล่อย ออกมาเมื่อมีการแยก รวมหรือแปลงนิวเคลียส (แกน)ของปรมาณู คำที่ใช้แทนกันได้คือ พลังงานปรมาณู (Atomic energy) เป็นคำ
 ที่เกิดขึ้นก่อนและใช้กันมานาน

พลังนิวเคลียร์ (Nuclear power) หมายถึง มหาอำนาจนิวเคลียร์หรือประเทศ ที่มีอาวุธนิวเคลียร์สะสม ไว้เพียงพอที่จะใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Power Plan)

คือเทคโนโลยีที่ออกแบบขึ้น เพื่อนำพลังงานจาก อะตอมของสสารมาใช้งาน อาศัยเตาปฏิกรณ์ นิวเคลียร์ (Nuclear Reactor) ในทางวิศวกรรมนิวเคลียร์จะใช้คำว่าพลังนิวเคลียร์ หมายถึงโรงงานที่ใช้เปลี่ยนรูปพลังงานนิวเคลียร์มาเป็น พลังงานไฟฟ้า หรือเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังนิวเคลียร์ หมายถึงเรือที่ขับเคลื่อน โดยการเปลี่ยนรูปพลังงาน นิวเคลียร์มาเป็นพลังงานกล เป็นต้น

โรงไฟฟ้าพลังงาน มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Nuclear Reactor) ซึ่งแต่ละโรงอาจมีจำนวนหลายเตา ใช้เป็นเครื่องที่ใช้สำหรับก่อให้ เกิดปฏิกิริยาแตกตัวทางนิวเคลียร์เพื่อผลิตพลังงาน เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใช้
 เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ เช่น Uranium-235 และ Plutonium-239 เป็นต้น









เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ (Nuclear Reactor)









Uranium-235








Plutonium-239






สารกัมมันตรังสี (Radioactivity)

คือ รังสีที่แผ่ออกมาได้จากธาตุบางชนิด ส่วนหนึ่งอยู่ในธรรมชาติ และส่วนหนึ่ง เกิดจากฝีมือมนุษย์ สารกัมมันตรังสีที่สลายตัวนี้ จะปะปนในสิ่งแวดล้อมทั่วไป บางกรณีมาจากรังสีในอวกาศ เช่น จากดาว (Star) รวมถึงดวงอาทิตย์ (Sun)
 ดังนั้นห้วงอวกาศ จึงมีรังสีแผ่การะจายไปทั่วจักรวาลมากมาย เช่น รังสีคอสมิก (Cosmic ray) โดยวิ่งเข้าสู่โลกตลอดเวลา ในลักษณ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือกระแสอนุภาคที่มีความเร็วสูง

ทั้งนี้คำว่า กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) คือจำนวนของไอโซโทปรังสีซึ่ง อยู่ในสถานะไม่คงตัว และมีการสลายตัวให้รังสีออกมาในช่วง เวลาหนึ่งวินาที

ส่วนคำว่า รังสี (Radiation) คือ อนุภาคซึ่งมีพลังงาน โดยมีที่มาจากการสลายตัว ของไอโซโทปรังสี จากรังสีคอสมิค และจากเครื่องเร่งอนุภาค พลังงานของรังสี ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด เช่น รังสีเบตา จากสตรอนเชียม-90 มีพลังงานสูงสุดเท่ากับ 546 keV รังสีแกมมาจาก โคบอลต์-60 มีพลังงาน 1.17 และ 1.33 MeVเป็นต้น






ตารางแสดงการสัมผัสรังสี ของมนุษย์ในชีวิตประจำวัน
 ตามหลักเกณฑ์ของ Stephen A. mcGuire – Carol A. Peabody USA 1982
 ——————————————————————————-
 โดยทั่วไปมนุษย์ อาจมีโอกาสรับรังสีจากสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ และจากสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ได้ดังนี้






แหล่งที่มาของรังสี

อัตราการสัมผัส (มิลลิเร็ม/ปี)


รังสีจากอวกาศ (Cosmic ray)

28


จากวัสดุก่อสร้าง เช่น สี โลหะ

4


จากร่างกายมนุษย์

25


จากพื้นดิน สินแร่

25


จากการรักษาทางการแพทย์

90


จากฝุ่นการทดลอง ระเบิดนิวเคลียร์

5


จากโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์

0.3


จากเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น T.V.

1



178.3










Cosmic ray วิ่งเข้าสู่โลกตลอดเวลา






แท้จริงแล้ว สารกัมมันตรังสีเหล่านี้ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เมื่อมีปริมาณที่หมาะสมทำให้เกิดประโยชน์ คือ สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโต มีอายุยืนยาวขึ้น และมีวิวัฒนาการ กลายพันธุ์ (Mutation) ที่ดีในเชิงบวก

แหล่งที่ก่อให้เกิดรังสีมากที่สุดจากธรรมชาติ เช่น จากสารกัมมันตรังสีที่มีใน พื้นดินที่มีสินแร่ (Mineral) ซึ่งอากาศที่มนุษย์หายใจ อาหารที่มนุษย์บริโภคและ น้ำมีการเจือปนด้วย สารกัมมันตรังสีตามธรรมชาติ แต่ทั้งหมดมีค่าเจือจางมักจะ ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์

แหล่งกำเนิดรังสีที่มาจาก การกระทำของมนุษย์มีหลายรูปแบบ เช่น จากการเดิน เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ การระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์ รวมทั้งการผลิตสารกัมมันตรังสีจาก ปฏิกิริยานิวเคลียร์ต่างๆ

โดยกัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) เป็นคุณสมบัติของธาตุและไอโซโทปบาง ส่วนที่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นธาตุหรือไอโซโทปอื่น ซึ่งการเปลี่ยนแปลง นี้จะมีการปลดปล่อย หรือส่งรังสีออกมา ด้วยรังสีที่แผ่ออกมาในขบวนการสลาย
 ตัวของธาตุหรือไอโซโทป ประกอบด้วย รังสีแอลฟา, รังสีเบต้าและรังสีแกมมา

รังสีแอลฟา (Alpha Ray ) ความเร็วต่ำ อำนาจทะลุทะลวงน้อย มีพลังงานสูง ประกอบด้วยอนุภาคแอลฟาซึ่งเป็นอนุภาคที่มีมวล 4 amu มีประจุ +2 อนุภาค ชนิดนี้ จะถูกกั้นไว้ด้วยแผ่นกระดาษ หรือเพียงแค่ผิวหนังชั้นนอกของมนุษย์ได้

รังสีเบต้า (Beta Ray) มีความเร็วสูงมากใกล้เคียงกับความเร็วแสง ประกอบด้วย อนุภาคอิเลคตรอนหรือโพสิตรอน มีคุณสมบัติทะลุทะลวงตัวกลางได้ดีกว่ารังสี แอลฟา โดยสามารถทะลุผ่านน้ำที่ลึกประมาณ 1 นิ้ว รังสีเบต้าจะต้องถูกกั้นได้
 โดยใช้แผ่นอะลูมิเนียม ชนิดบาง

รังสีแกมมา (Gamma Ray) ที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง มีคุณสมบัติ เช่นเดียวกันกับรังสีเอกซ์ สามารถทะลุผ่านร่างกายและทำอันตรายเนื้อเยื่อได้  การกำบังรังสีแกมมา ต้องใช้วัสดุที่มีความหนาแน่นสูงเช่น ตะกั่วหรือยูเรเนียม
 เป็นต้น






ผลกระทบจากรังสีต่อร่างกาย
 International Commission on Radiological Protection (ICRP)
 ———————————————————————-
 ขององค์การสากลในการป้องกันอันตรายจากรังสี






ปริมาณรังสี(มิลลิซีเวิร์ต)

เกณฑ์ /แสดงอาการ


2.2

ระดับรังสีปกติในธรรมชาติ
 ที่มนุษย์แต่ละคนได้รับใน 1 ปี


5

เกณฑ์สูงสุดที่อนุญาตให้สาธารณชน
 ได้รับใน 1 ปี


50

เกณฑ์สูงสุดที่อนุญาตให้ผู้ปฏิบัติงาน
 ทางรังสีได้รับใน 1 ปี


250

ไม่ปรากฏอาการผิดปกติใดๆ
 ทั้งระยะสั้นและระยะยาว


500

เม็ดเลือดขาวลดลงเล็กน้อย


1000

มีอาการคลื่นเหียน และอ่อนเพลีย
 เม็ดเลือดขาวลดลง


3000

อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องเสีย
 เม็ดเลือดขาวลดลง ผมร่วง เบื่ออาหาร
 ตัวซีด คอแห้ง มีไข้ อายุสั้น
 อาจเสียชีวิตภายใน 3-6 สัปดาห์


6000

อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องร่วงภายใน
 1-2 ชั่วโมง เม็ดเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว
 ผมร่วง มีไข้อักเสบบริเวณปาก
 และลำคออย่างรุนแรง มีเลือดออก
 มีโอกาสเสียชีวิตถึง 50% ภายใน 2-6 สัปดาห์


10000

มีอาการเหมือนข้างต้น ผิวหนังพองบวม
 ผมร่วง เสียชีวิตภายใน 2-3 สัปดาห์










การตรวจค่ารังสี กรณี Fukushima Nuclear plant ในประเทศญี่ปุ่น







อันตรายจากกัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) หรือรังสี (Radiation)

ผลของรังสีต่อโมเลกุลของสิ่งมีชีวิต
 ร่างกายของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะ มนุษย์และสัตว์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือน้ำ ประมาณ 75% สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ประมาณ 25% ของน้ำหนักร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับรังสีประเภทก่อให้ เกิดไอออน เช่น รังสีแกมมา หรือเอกซเรย์ จะไปทำให้โมเลกุล เช่น ของน้ำเปลี่ยนแปลง

อนุมูลต่างๆที่เกิดขึ้น มักมีคุณสมบัติไวต่อการทำปฏิกิริยาเคมี กับสารประกอบ อื่นๆจึงสามารถ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ของร่างกายได้ สำหรับโมเลกุล ของสารประกอบประเภทสารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์ ก็จะเกิดการแยกตัวเป็น อนุมูลอิสระ และสามารถสร้างความเสียหายต่อเซลล์ร่างกาย ได้เช่นกัน

ผลของรังสีต่อเนื้อเยื่อและอวัยวะ
 เมื่อโมเลกุลและเซลล์ได้รับความเสียหาย ก็จะส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและอวัยวะ ก่อให้เกิดอาการต่างๆ อาการจากการได้รับรังสีไม่มีลักษณะเฉพาะตัว จะไม่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยได้ รับรังสีหากดูจากอาการเพียงอย่างเดียว ต้องอาศัยการซักประวัติร่วมด้วย รังสีมีผลต่อเนื้อเยื่อและ อวัยวะต่างๆ

อาการจากการได้รับรังสีทั่วร่างกาย
 ในผู้ใหญ่ ข้อมูลที่ได้จากการใช้ระเบิดปรมาณูในสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ การทดสอบกับสัตว์ทดลอง และการใช้รังสีทางการแพทย์ ทำให้ สามารถแบ่งกลุ่มอาการจากการได้รับรังสี ทั่วร่างออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

1.กลุ่มอาการทางระบบเลือด
 2.กลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร
 3.กลุ่มอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง

โดยกลุ่มอาการเหล่านี้จะปรากฏเมื่อการได้รับรังสีอยู่ภายใต้  เงื่อนไข 3 ประการดังนี้
 1.ได้รับรังสีภายในระยะเวลาสั้นๆ (นาที)
 2. ทั่วร่างได้รับรังสี
 3. ต้นกำเนิดรังสีอยู่ภายนอกร่างกาย และรังสีเป็นชนิดที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูง






ขีดจำกัดขนาดของรังสีขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคล *กรณีได้รับสัมผัสรังสีตลอดทั้งร่างกาย*






ปริมาณรังสี(มิลลิซีเวิร์ต)

อาการที่ปรากฏ


0-25

ไม่ปรากฏแน่ชัด


25-50

มีการเปลี่ยนแปลงของเม็ดโลหิต


50-100

เม็ดโลหิตมีการเปลี่ยนแปลง อ่อนเพลีย
 อาเจียน ไม่มีความพิการปรากฏ


100-200

มีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น มีความพิการ


200-400

มีการเจ็บป่วยทางรังสี มีความพิการ
 หรืออาจเสียชีวิตได้


400

โอกาสรอดชีวิต 50 เปอร์เซนต์


มากกว่า 400

โอกาสเสียชีวิตสูง










สิ่งที่ต้องกังวลของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ อีกประเด็นคือ กากสารกัมมันตรังสี ซึ่งต้องถูกกลบฝังไว้รอวันสลายตัวอีกนานเท่านานต่อไป






ปัจจัยที่ต้องทบทวน กรณีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

ต้องยอมรับว่า สิ่งใดมีประโยชน์มหาศาลเพียงใด ก็ย่ิอมมีโทษมหาศาลเพียงนั้นด้วย การที่มนุษย์ใช้ก็าซ และน้ำมันอย่างสิ้นเปลือง จนโลกกำลังจะหมดตัวแล้ว(The Limits of Earth’s Resources) โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จึงเป็นช่องทาง
 ออกของพลังงานทางหนึ่ง และคงไม่สามารถหลีกเหลี่ยงได้

การที่ประเทศใดไม่สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งปลอดภัยต่อรังสีแม้แต่น้อย เพราะประเทศเพื่อนบ้านต่างก็มีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ไปแล้ว ต่อไปทั้งโลกอาจมีจำนวนนับพัน แน่นอนว่าประเทศนั้นๆย่อมมีความเสี่ยงอันตรายสูงที่จะแลกกับความสะดวก ความประหยัดในการใช้พลังงาน

และหากเกิดกรณีภัยพิบัติ เพียงโรงหนึ่งโรงใดบนโลกแล้ว ปัจจัยความเสี่ยงนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทันที แม้จะตั้งอยู่ห่างไกลก็ตาม เพราะรังสีที่หลุดรั่วออกมาอาจปนเปื้อนไปกับอากาศไปทั่วโลกเพียงไม่กี่วัน แล้วตกลงมากับฝนไหลสู่แม่น้ำและแหล่งเพาะปลูกได้ หรือดื่มกินโดยสัตว์และมนุษย์

หากมีความเจือจางลง คงไม่มีปัญหา แต่คงเป็นความกังวลใจตื่นกลัวกันเช่นนี้ต่อๆไป การที่จะรอดพ้นปัญหาดังกล่าวคือ ต้องทบทวนกระบวนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ใหม่ หรือ ยกเลิกการใช้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั้งโลก แต่ประชากรโลกทั้งหลายก็ต้องลดความฟุ่มเฟื่อยในการใช้พลังงานด้วย และกลับมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทน




References :

European Nuclear Society
 Nuclear engineering division, EGAT.
 Nuclear Society of Thailand






องค์การอนามัยโลกแนะ ปรึกษาแพทย์ก่อนกินไอโอดีนแก้พิษรังสี ไม่ใช่ยาแก้พิษรังสี อีกทั้งไม่อาจป้องกันสารกัมมันตรังสี

วันนี้ 15 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์การอนามัยโลก(WHO) เตือนประชาชนอย่าตื่นตระหนกกับเหตุการณ์โรงงานนิวเคลียร์ ในประเทศญี่ปุ่นระเบิด หลังมีรายงานว่า บนเว็บไซต์การประมูลอีเบย์ มีการประมูลซื้อยาเม็ดโปแตสเซียม ไอโอดีน ในราคาซองละ 540 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,200 บาท) โดย 1 ซอง ประกอบด้วยยา 14 เม็ด องค์การอนามัยโลกบอกให้ประชาชนปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานยาชนิดนี้ และอย่ารับประทานโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะยาเม็ดไอโอดีนไม่ใช่ยาแก้พิษรังสี อีกทั้งไม่อาจป้องกันสารกัมมันตรังสี เช่น ซีเซียม บางคนที่รับประทานยาดังกล่าว เช่น สตรีมีครรภ์ อาจมีความเสี่ยงต่อสุขภาพ

นอก จากนี้ องค์การอนามัยโลกยังได้เตือนผู้ที่คิดจะบริโภคไอโอดีนชนิดเหลว ซึ่งโดยปกติใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ เพราะจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน โปแตสเซียม ไอโอดีน คือ เกลือชนิดหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้ต่อมไทรอยด์เกิดการอิ่มตัว เพื่อจะสามารถป้องกันไอโอดีนกัมมันตรังสีไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อ ในร่างกาย





Potassium Iodate Tablets, KIO3





ในกรณีที่เกิดระเบิดนิวเคลียร์ จะเกิดสารกัมมันตรังสีหลายชนิดด้วยกัน อย่างหนึ่งก็คือ
ไอโอดีน 131 (I-131) – ซึ่งเมื่อเข้าไปในร่างกาย I-131 จะเข้าไปที่ต่อมไทรอยด์
(ตามปกติต่อมไทรอยด์จะใช้ไอโอดีนในการทำงานอยู่แล้ว)
ทำให้เกิดโรค เช่น มะเร็งที่ต่อมไทรอยด์ได้
ถ้าเรากิน  โปแตสเซียมไอโอไดด์ (KI)  หรือ  โปแตสเซียมไอโอเดต (KIO3)
เข้าไปภายใน ๑ – ๒ ชั่วโมงหลังจากเกิดระเบิด

อาจจะลดปริมาณ I-131 ที่ต่อมไทรอยด์ได้รับได้ถึง 90%


อ่านเพิ่มเติมได้ที่

http://www.iodine131.org/4treat-mgmt.htm

http://www.ioffer.com/i/147225027

Medical Corps Potassium Iodate Tablets (KIO3):
 Thyroid Blocker, Nuclear Protection!



ข้อมูลเพิ่มเติม

คุณผู้อ่านคงทราบข่าวกันดีว่า การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกที่เกิดขึ้นนี้ ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนของประชาชนทั่วไป แต่ยังสร้างความสั่นสะเทือนไปถึงโรงงานผลิตพลังงานจากนิวเคลียร์ ฟุกุชิม่า ไดอิจิ ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจากโรงงาน ไม่เพียงแต่ผู้คนที่อยู่อาศัยในละแวกนั้นที่จะได้รับผลกระทบ พบว่ากัมมันตภาพรังสียังมีการรั่วไหลลงสู่ผืนทะเลโดยรอบ

รายงานจากเพนตากอนพบว่า ตัวอย่างน้ำทะเลที่ห่างจากโรงงานออกไป ถึง 60 ไมล์ ยังพบสารกัมมันตภาพ ซึ่งคาดว่าจะเป็น ซีเซี่ยม-137 (Cesium-137) และ ไอโอดีน-131 (Iodine-131) ปนเปื้อนอยู่

เจ้าสารไอโอดีน-131 นี้เป็นกัมมันภาพรังสีเดียวกับที่เคยรั่วเมื่อสมัยโรงไฟ ฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล และพบว่าทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมธัยรอยด์ถึง 6,000-7,000 รายในครั้งนั้น

ข่าวว่ารัฐบาลญี่ปุ่นกำลังเร่งดำเนินการแจกยาโพแทสเซี่ยมไอโอไดด์ให้กับ ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเจ้ายาที่แจกนี้จะเข้าไปช่วยขัดขวางเจ้าสารกัมมันตภาพรังสี ไม่ให้ไปสะสมที่ต่อมธัยรอยด์มากนัก และช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมธัยรอยด์ในผู้ที่ได้รับสารกัมมันภาพรังสี ได้ แต่แน่นอนว่า เจ้าหน้าที่คงไม่สามารถแจกยาหรือกระทำการใดๆ เพื่อลดการสะสมของสารกัมมันตภาพรังสี ให้กับเหล่าปลาในพื้นที่แถบนั้น จึงแน่นอนว่าปลาและน้ำทะเลโดยรอบจะถูกปนเปื้อนโดยสารไอโอดีน-131นี้

ข่าวดีคือ

อย่างไรก็ตาม เจ้าสารไอโอดีน-131นี้ มีอายุขัย หรือที่เรียกกันภาษาวิทยาศาสตร์ว่า half-life เพียง 8 วัน นั่นหมายความว่า มันน่าจะหายไปหมดจากอากาศและน้ำโดยรอบในเวลาประมาณ 80 วัน … เฮ้อ

แต่ข่าวร้ายคือ

เจ้าสารกัมมันตภาพรังสีอีกตัวหนึ่งคือ ซีเซี่ยม-137 นั้นมีอายุขัย หรือ half-life ถึง 30 ปี นั่นหมายความว่ามันจะอยู่ในน้ำทะเล หมู่ปลาเล็กใหญ่ในห่วงโซ่อาหารได้นานนับร้อยปี!! พบว่าสารซีเซี่ยม-137 นี้สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดหรือลิวคีเมีย มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่

มาถึง ณ จุดนี้ คุณผู้อ่านพอนึกภาพออกหรือยังคะ ว่าการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกเพียงเล็กน้อย ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ คร่าชีวิตเพื่อนร่วมโลกของเราไปร่วมหมื่น จะส่งผลชิ่งกระทบมาถึงการสั้นลงของอายุขัยของเราได้อย่างไร “มันมากับปลาค่ะ!!!” นับจากนี้ไป ปลาดิบอร่อยๆชั้นดีที่นำเข้าจากญี่ปุ่น ซึ่งเราไม่มีทางจะทราบได้ว่ามาจากท้องทะเลส่วนใหญ่ในญี่ปุ่น และแน่นอนว่า ระบบการตรวจสอบกัมมันภาพรังสีปนเปื้อนในอาหารนำเข้าของไทยเรา ก็คงน่าเชื่อถือเกินกว่าที่เราจะเชื่อถือได้ ว่าจะตรวจสอบอะไรพบ

อย่างไรก็ตาม เหล่าบรรดา “ปลาดิบเลิฟเวอร์” ทั้งหลาย อย่าเพิ่งโห่ไล่ผู้เขียนลงจากเวทีค่ะ ที่ว่ามานี้ ไม่ได้จะบอกว่าให้เลิกบริโภคปลาดิบจากญี่ปุ่น เพราะผู้เขียนเองก็ทำไม่ได้เช่นกัน แต่เราต้องฉลาดบริโภคค่ะ ด้วยความกังวลต่อสุขภาพแต่มีใจรักการทานปลา ผู้เขียนจึงค้นคว้าหาทิป การรับประทานปลาที่น่าจะช่วยให้ชาวซูชิเลิฟเวอร์ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

1. งดรับประทานปลาดิบนำเข้าจากญี่ปุ่นก่อน เป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือนโดยประมาณ เพราะอย่างที่ว่าไปว่า เจ้าไอโอดีน-131นั้น จะคงอยู่ได้ประมาณ 80 วันในบรรยากาศ อาจหันไปรับประทานปลาดิบจากฝั่งอลาสก้า ปลาดิบที่เลี้ยงในฟาร์ม หรือหันมารับประทานปลาไทยๆที่นำมานึ่ง ทอด ต้ม บ้าง (แต่ปลาดิบไทยเนี่ย… อาจอันตรายกว่าปลาดิบจากลุ่มน้ำแถบฟุกุชิม่านะคะ!!)

2. หลังจากพ้นสามเดือนไปแล้ว หากอยากจะรับประทานปลาดิบญี่ปุ่น พยายามเลือกรับประทานปลาตัวเล็ก ที่อายุขัยสั้น อยู่ตอนปลายของห่วงโซ่อาหาร ซึ่งจะมีการสะสมของสารกัมมันตภาพรังสี และสารพิษต่างๆน้อยกว่า รายชื่อเมนูปลอดภัย(กว่า)ได้แก่ ฮิราเมะซาชิมิ ออยสเตอร์ หอยเชลล์(scallop) กุ้ง เป็นต้น ส่วนปลาตัวใหญ่อายุยืนยาวเช่น ทูน่า นั้น แน่นอนว่า อาจยังมีซีเซี่ยม-137ตกค้างอย

3. หากจับพลัดจับผลู ต้องไปร้านอาหารญี่ปุ่นในช่วงสามเดือนนี้ อาจสั่งเป็นเป็นประเภทที่ทำสุกแล้ว เช่น แคลิฟอร์เนียโรล ซึ่งมีเนื้อปูสุกและปลาไหลปรุงสุกเป็นส่วนประกอบหลัก

4. แน่นอนว่า แม้จะไม่มีการรั่วไหลจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในอาหารที่เรารับประทานกันอยู่ในปัจจุบัน ก็มีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี และสารพิษต่างๆอยู่แล้วในระดับต่ำๆ ที่ร่างกายเราพอจะรับและกำจัดได้ ดังนั้น การดูแลตัวเองขั้นพื้นฐานเช่น การดูแลรักษาตับซึ่งเป็นโรงงานกำจัดสารพิษในร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการไม่ดื่มสุรา และรับประทานผักในกลุ่มบร็อคโคลี่ หรือ กะหล่ำดอก ซึ่งมีสาร Indole-3-carbinol ช่วยการทำงานของเอนไซม์ขับสารพิษภายในตับหรือ การออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดปริมาณไขมันส่วนเกิน อันเป็นแหล่งสะสมของสารพิษให้น้อยที่สุด ก็ถือเป็นการดูแลสุขภาพพื้นฐาน ที่ควรจะปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่องเป็นประจำนะคะ

โลกจะแตกสลายตามคำทำนายจริงหรือไม่ ไม่มีใครอาจรู้ได้ ความตายเป็นสิ่งที่พุทธศาสนิกชนอย่างเราควรระลึกเสมอว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว และเป็นความจริงที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า เราควรจะละเลยสุขภาพหรือการดูแลตนเอง ในทางตรงข้าม เรากลับต้องดูแลสุขภาพกายและใจของตัวเอง ของคนรัก ของครอบครัว ของเพื่อนร่วมงาน ของเพื่อนร่วมชาติ และของเพื่อนร่วมโลก ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในแต่ละวัน ใช้ชีวิตอย่างมีสติ รับประทานอาหารอย่างมีสติ ใช้ทรัพยากรโลกอย่างมีสติ เพราะวันนี้หรือวันหน้า อาจเป็นวันสุดท้ายของคุณและโลกใบนี้

————————————

Guest Columnist : พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและเวชศาสตร์ชะลอวัย




อันตรายจากรังสี





สารกัมมันตภาพรังสี (Radioactive substance) ถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานาน แล้ว เช่นวงการแพทย์นำมาใช้ในเครื่อง X-Ray, รักษามะเร็ง ทางเกษตรนำมาใช้ในการถนอมอาหาร, ปรับปรุงพันธุ์พืช เป็นต้น แต่ถ้าหากนำมาใช้ผิดวิธีหรือไม่มีวิธีป้องกันอาจเกิดโทษได้

ความรู้เรื่องผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายจากรังสีมีอยู่น้อย เกือบทั้งหมดได้จากการศึกษาผู้ป่วยที่รอดชีวิต จากระเบิดปรมาณูที่ญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เมืองเชอร์โนบิล ประเทศรัสเซีย อาการของผู้ป่วยเกิดได้ทุกระบบ ขึ้นกับอวัยวะที่ได้รับรังสี, ปริมาณรังสีและ ระยะเวลาที่ได้รับ

ปริมาณของรังสีทางการแพทย์มีหน่วยเป็น Gray (Gy) โดย 1 Gy เท่ากับ 100 rad (เครื่องถ่าย X-ray ปอดจะแพร่รังสี น้อยกว่า 1/4 rad ต่อครั้ง)

ถ้าผู้ป่วยได้รับรังสีมากกว่า 100 Gy จะเสียชีวิตทุกรายภายใน 24-48 ชม.
 ถ้าน้อยกว่านั้น เช่น 5-12 Gy จะเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน, ท้องเสีย ขาดน้ำรุนแรง อาจเกิดลำไส้ตาย และทะลุได้ อาจมีผื่นลอกตามตัว, เนื้อตาย และเป็นหมันถาวร ส่วนขนาดที่น้อยลงเช่น 2-8 Gy จะกดการทำงานของไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำลง เกล็ดเลือดต่ำ ซีดได้ ขนาดที่ทำให้เสียชีวิตได้ (Lethal dose : LD) คิดเป็นค่า LD50/60 (หมายความว่าปริมาณรังสีที่ทำให้คนปกติเสียชีวิต 50 ใน 100 คนภายใน 60 วัน) ประมาณเท่ากับ 325 rad หรือ 3.25 Gy ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์

นอกจากผลของรังสีระยะสั้นแล้ว ผลระยะยาวของการได้รับรังสี ซึ่งจะแสดงออกหลังจากได้รับรังสีไปนานหลายปี หรือหลายสิบปี ได้แก่การเกิดมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ เช่นมะเร็งเม็ดเลือดขาว, มะเร็งต่อมน้ำเหลือง, มะเร็งต่อมธัยรอยด์, มะเร็งเต้านม เป็นต้น

การนำ รังสีมาใช้ในการแพทย์นั้นได้รับการป้องกันภัยจากรังสีอย่างรัดกุม อาทิเครื่องฉาย X-ray จะไม่แผ่รังสีถ้าไม่มีการถ่ายภาพรังสี อีกทั้งรังสีก็มีจำนวนน้อยมาก ส่วนการนำรังสีรักษามาใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็ง เช่น โคบอลท์-60 นั้นมีการป้องกันโดยบรรจุในภาชนะตะกั่วขนาดที่หนาพิเศษ มีการติดตั้งในห้องที่มิดชิด และหุ้มด้วยตะกั่วโดยรอบ รังสีไม่อาจรั่วไหลออกมาได้ คนทั่วไปรวมทั้งผู้ป่วยจึงไม่ต้องกังวลแต่ประการใดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และปล่อยปละละเลยของผู้เก็บสารกัมมันตภาพรังสีโดยไม่ถูกต้อง

ไอโอดีนป้องกันสารกัมมันตภาพรังสี

ไอโอดีน เป็นสารที่ทราบกันดีว่า ช่วยเป็นเกราะป้องกันร่างกายมนุษย์ อย่างน้อยที่สุดป้องกันสารพิษกัมมันภาพรังสีที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เม็ด ไอโอดีนได้ถูกพัฒนาให้สามารถรับ ประทานได้ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง หลังจากอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยจะไปรวมกันที่ต่อมไธรอยด์ซึ่งจะช่วยทำให้โรคมะเร็งอ่อนแอลง หลังจากที่ได้รับสารกัมมันตภาพรังสี

สารกัมมันตภาพรังสีในญี่ปุ่นที่รั่วออกมาคืออะไร

และจะป้องกันตัวอย่างไร

From oTo โดย Veera เหลืองชมพูเหนือหัวชาวไทย


เหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่เชอร์โนบิลเกิดขึ้นในวันที่ 26 เมษายน ปีค.ศ. 1986เหตุการณ์วันนั้นเกิดจากกระแสไฟกระชากเกิน มีการปิดเครื่องไปแล้ว และรอจนเครื่องเย็น พอเจ้าหน้าที่ทำการ boost เปิดเครื่องใหม่ แต่เนื่องจากว่าตัว core ที่เพิ่งปิดไปยังไม่เสถียรและ ระบบหล่อเย็นยังไม่สามารถควบคุมให้อุณหภูมิคงที่ได้จึงเกิดการระเบิดขึ้น (ขออธิบายแบบง่ายๆแล้วกันนะคะ)

จะเห็นได้ว่าการระเบิดที่เชอร์โนบิล แทบจะเรียกได้ว่าเป็น man error ล้วนๆ เพราะว่าพนักงานสองกะ ทำงานกันไม่ประสาน และ ไม่ได้ทำตาม protocol ที่ได้ร่างไว้(คนอนุมัติในการเปิดเครื่องใหม่ก็ไม่ได้เป็นไปตามที่กำหนด)

ในการระเบิดครั้งแรก เกิดจากห้องระบายไอร้อนระเบิดเพราะว่ามีความดันสูงเกินกว่าจะระเหยได้ทัน ซึ่งทำให้น้ำในระบบหล่อเย็นรั่วออกทันทีทุกคนคงคาดได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อระบบหล่อเย็นไม่ทำงานการระเบิดลูกที่สองอันเกิดจากปฏิกิริยาปรมาณูเกิดขึ้นตามมาอีก 2 วินาที

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้สารกัมมันตรังสีกระจายออกมากขึ้นคือตัวแกรไฟต์ที่ใช้บรรจุเกิดลุกติดไฟในอากาศ ความร้อน และลมเป็นส่วนส่งเสริมอย่างดีให้สารกัมมันตรังสีกระจายไปทั่วประเทศสารในตอนนั้นคือ Xe (xenon isotope) และ I-131 มีคนตายทันทีทั้งสิ้น 50 คน และ ตามมาหลังจากนั้นอีก 4000 คน จากมะเร็งที่คาดว่าเป็นผลพวงจากสารกัมมันตรังสี

กลับมายังประเทศญี่ปุ่น เหตุการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ fukushima สาเหตุมาจาก ธรรมชาติ หลังเหตุการณ์สึนามิตัวระบบหล่อเย็นหยุดทำงาน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ตัว “แกน” ระเบิดจึงได้ใช้น้ำจากทะเลปั๊มเข้าเพื่อหล่อเย็นแทน ทั้งตัวเตาที่ 1 และ 3 ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้

แล้วสารกัมมันตภาพรังสีที่รั่วออกมาคือ สารอะไรล่ะ??

สำหรับสารกัมมันตรังสีที่ออกมาคราวนี้ คือ I-131 ซึ่งเป็นตัวต้นปฏิกิริยา ก่อนที่จะกลายเป็น Xe (ซีนอน) (สารที่รั่วออกมาที่เชอร์โนบิลนั่นแหละ) ถ้าใครเรียนแพทย์ หรือว่าเคยเป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษ จะร้อง “อ๋อ” ทันที สาร I-131 เป็นสารกัมมันตรังสีที่เราคุ้นเคยในวงการแพทย์มากๆ เราใช้ในการรักษาคนไข้ไทรอยด์เป็นพิษ โดยการให้กลืนแร่นี้ เพื่อไปหยุดการทำงานของต่อมไทรอยด์ สิ่งที่น่าแปลกก็คือ I-131 ที่เราให้กิน ถือว่าเป็นปริมาณ dose ที่สูง เพราะเราหวังผลให้ไป “หยุด” การทำงานของต่อมไทรอยด์ ทางการแพทย์เราให้ “ตูมเดียวหยุด” ขณะที่ การให้ ปริมาณ “น้อยๆแต่นานๆ” อาจทำให้เกิด การกลายพันธุ์ของเซลล์ ทำให้เกิดมะเร็งได้

ใครที่เคยกิน “แร่ไอโอดีน” จะทราบดีว่า แพทย์จะแนะนำให้ท่าน อยู่ในรพ.ซักสองสามวัน ในห้องที่มีฉากสังกะสีกั้นสองด้าน เพื่อป้องการกัน “แพร่กระจาย” ของสารกัมมันตภาพรังสี สารไอโอดีน จะถูกขับออกมาทางเหงื่อและปัสสาวะ โดยทั่วไปจะแนะนำให้คนไข้ทำความสะอาดห้องน้ำบ่อยๆ สารที่ออกมาจากร่างกายนั้นเป็นปริมาณน้อยมากๆ แทบจะไม่มีผลต่อคนที่อยู่ด้วย แต่เพื่อเป็นการป้องกัน รวมถึงเด็กๆที่มีความเสี่ยงสูงกว่า จึงแนะนำให้อยู่รพ.ซัก 2-3 วันและทำความสะอาดห้องน้ำทุกครั้งที่เข้า รวมไปถึง (ถ้าเป็นไปได้) งดการมีเพศสัมพันธ์ 1 เดือน และ ห้ามท้องอีก 6 เดือน

พิษของ I-131
 โดยทั่วไปแล้ว ไอโอดีน (ที่ไม่ใช่ 131) เป็นแร่ธาตุตามปกติที่เรากินกันอยู่ คงจะเคยได้ยิน ประมาณว่า มาม่าเพิ่มไอโอดีน เนื้อปลามีไอโอดีน แจกไอโอดีนเด็กภูเขา กินกันเอ๋อ ไอโอดีนตัวนี้ เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายจะนำไปใช้ในการผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนออกมา ซึ่งมีผลในการช่วยการเผาพลาญพลังงานในร่างกาย เสริมสมอง เพิ่มการทำงานของร่างกาย ในทางกลับกัน I-131 ที่เป็นสารกัมมันตรังสี มีผลในการ “หยุด” การทำงานของต่อมไทยรอยด์ (และส่วนมากคือ หยุดถาวร) เมื่อมีการระเบิดหรือปนเปื้อน สาร I-131 มักจะอยู่ในผัก หรือ อาหาร และจะเข้าไปสะสมในร่างกายไปที่ต่อมไทยรอยด์เมื่อกินเข้าไป หากได้ต่อเนื่องกันเป็นปริมาณมาก ก็จะก่อให้เกิดภาวะ “มะเร็งต่อมไทรอยด์” หรือ อาจจะอย่างอ่อนๆคือ “ไทรอยด์อักเสบ” (ซึ่งรักษาได้)

จากงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีอายุมากเมื่อเทียบกับเด็ก หากได้รับสาร I-131 ในปริมาณเท่ากับ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งน้อยกว่าเด็ก จะป้องกัน I-131 อย่างไรดีละในกรณีที่จำเป็นต้องไป?

ถ้าฟังข่าวจะเห็นว่า ที่ญี่ปุ่นเขาแจก ไอโอดีน กินกัน อย่างที่อธิบายไปแล้วว่า ไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องนำไปใช้ โดยเก็บไว้ที่ต่อมไทรอยด์ ดังนั้น การกินไอโอดีน (ธรรมดา) ก็เพื่อไป แย่งจับกับ receptor ที่ไทรอยด์ ก่อนที่จะโดน I-131 แย่งจับ อธิบายง่ายๆ ก็เหมือนกับ ร่างกายเรามีโกดังเก็บไอโอดีนอยู่ 100 แห่ง โดยเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่เอาไอโอดีนมาเก็บจากท่าเรือ ไม่ทราบว่า กล่องไหนที่จะเอาไปเก็บ เป็น ไอโอดีนธรรมดา หรือ I-131 (ไอโอดีนที่เป็นสารกัมมันตรังสี) ดังนั้นเพื่อเป็นการดักทางไว้ เราก็เลย รีบๆ “เติม” ไอโอดีนธรรมดา ให้เจ้าหน้าที่เอาไปเก็บๆให้เต็มโกดังซะ เมื่อเวลาที่ดันกิน I-131 เข้าไปโดยไม่ตั้งใจ เจ้าหน้าที่จะได้ไม่เอาไปเก็บเพิ่ม เพราะว่ามัน “เต็มแล้ว”

เหตุเกิดที่เชอร์โนบิล มีคนเป็นมะเร็งเยอะ ก็เพราะส่วนหนึ่งไม่ได้รับแจก “ไอโอดีน” กัน จะไปญี่ปุ่นอีกเดือนสองเดือน แร่ I-131 มันอยู่นานไหมเนี่ยะ?
 ค่าครึ่งชีวิต (half life) ของ I-131 อยู่ที่ 8 วัน ส่วนมากหากปนเปื้อน ก็จะปนเปื้อนกับอาหารที่กินมากกว่า

พิษของ Caesium (Cs) ซีเซี่ยม
 สารกัมมันตรังสีอีกตัวที่ตรวจจับได้ที่ fukushima คือ Cs (ซีเซี่ยม ต่อไปนี้ขอย่อว่า Cs) ตัว Cs เองมีถึง 39 isotope มีตั้งแต่ Cs 135 ที่มีค่าครึ่งชีวิตถึง 2.3ล้านปี!! แต่ Cs ที่รั่วออกมาคือ Isotope 137 ซึ่งมีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี (ยาวอยู่ดีแหละ) ส่วนมากแล้ว Cs จะมีพิษและผลรุนแรงน้อยกว่า I-131 ดังที่กล่าวข้างต้น ในกรณีที่ได้รับสาร Cs ตรงๆเป็นปริมาณมาก จะทำให้เกิดอาการแพ้ คัน อย่างรุนแรง หรือชักเกร็งกระตุก การปนเปื้อนของ Cs-137 มักจะตกข้างในพืชผัก แต่ไม่ต้องห่วงปกติแล้ว Cs ไม่ใช่สารกัมมันตภาพรังสีที่จะสามารถสะสมได้ในร่างกาย เหมือนกับ I-131 เมื่อกิน Cs-137 เข้าไป ร่างกายจะขับออกมาอย่างรวดเร็วในรูปเหงื่อและ ปัสสาวะ โอกาสที่จะเป็นมะเร็งจาก Cs คือต้องกินสารปนเปื้อนนั้น เป็นระยะเวลานานๆต่อเนื่องกันมากกว่า

ทำความรู้จักกับ สารกัมมันตรังสี



สาร กัมมันตรังสี คือ สารที่สลายตัวปลดปล่อยรังสีออกมา โดย รังสี คืออนุภาคหรือคลื่นที่ปลดปล่อยออกมาจากอะตอมของกัมมันตรังสี จึงไม่มีสี กลิ่น หรือสิ่งที่ทำให้สังเกตเห็นได้ สามารถจำแนกตามลักษณะการเกิดได้จาก 2 แหล่ง ดังนี้

1. จากธรรมชาติ สารกัมมันตรังสีจากธรรมชาติ เช่น ยูเรเนียม 235 , ยูเรเนียม 238, คาร์บอน 14 ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการเกิดของโลก

2. จากมนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเอง เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู (Nuclear reactor) หรือในเครื่องเร่งอนุภาค ซึ่งสารกัมมันตรังสีที่ได้จากการผลิต เช่น โคบอลต์ 60, ไอโอดีน 131 , ซีเซียม 137, นิวตรอน

สำหรับ สารกัมมันตรังสีทั้ง 2 กลุ่มนี้ จะให้รังสีออกมา ได้แก่ รังสีแอลฟ่า , รังสีเบต้า , รังสีแกมมา นิวตรอน นอกจากนี้ รังสีที่เป็นที่รู้จักกันดีและใช้กันอย่างกว้างขวางมีประโยชน์มากมาย ได้แก่ รังสีเอกซ์(X-ray) สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางการแพทย์ อุตสาหกรรม การเกษตรและงานวิจัยต่าง ๆ ขณะเดียวกัน รังสี ก็มีอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน

อันตรายจากรังสีต่อมนุษย์

1. การได้รับรังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีจากภายนอก ( External exposure ) ความรุนแรงของการบาดเจ็บ ขึ้นอยู่กับความแรงของแหล่งกำเนิดและระยะเวลาที่ได้รับรังสี แต่ตัวผู้ที่ได้รับอันตรายไม่ได้สารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกาย จึงไม่มีการแผ่รังสีไปทำอันตรายผู้อื่น

2. การได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย ( Internal exposure ) มักพบในกรณีมีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ที่ เป็นก๊าซ ของเหลว หรือฝุ่นละอองจากแหล่งเก็บสารกัมมันตรังสี หรือที่เก็บกากสารกัมมันตรังสีจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เช่น ที่เชอร์โนบิล ประเทศรัสเซีย การระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น

ทั้ง นี้ การกระจายของสารกัมมันตรังสีจะฟุ้งไปในอากาศ น้ำ มนุษย์อาจได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย ทางการหายใจฝุ่นละอองของรังสี, กินของที่เปรอะเปื้อน, การฝั่งสารกัมมันตรังสีเพื่อการรักษา สารกัมมันตรังสีที่อยู่ในร่างกายจะแผ่รังสีออกมา ทำอันตรายต่อร่างกายเป็นระยะเวลานาน จนกว่าจะถูกกำจัดออกไปจากร่างกายจนหมด และยังสามารถแผ่รังสีไปทำอันตรายคนที่อยู่ใกล้เคียงได้

ผลกระทบจากสารกัมมันตสังสีต่อร่างกายมนุษย์

องค์การ สากลในการป้องกันอันตรายจากรังสี หรือ International Commission on Radiological Protection (ICRP) ได้รวบรวมผลกระทบจากรังสีต่อร่างกายไว้ ดังนี้



มิลลิซีเวิร์ต  คือ  หน่วยวัดปริมาณรังสีที่ร่างกายได้รับ โดยคำนึงถึงผลของรังสีที่มีต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิต

รังสีที่มีความถี่สูงมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต  มีดังนี้


ขอบคุณข้อมูลจาก kapook.com : http://hilight.kapook.com/view/57087





ความเสี่ยงจากการได้รับกัมมันตภาพรังสี ระยะสั้นและระยะยาว



จากความวิตกกังวลเรื่องกัมมันตภาพรังสีจากโรงงานนิวเคลียร์ใน Fukushima ในขณะนี้ได้มีการแจกจ่าย  potassium iodide กันในญี่ปุ่น ในตอนแรกที่มีการกระจายของกัมมันตภาพรังสีจากโรงงานที่ 3 ยังอยู่ในระดับต่ำ และยังไม่ร้ายแรง แต่เมื่อมีการระเบิดของโรงงานที่ 2 สำนักข่าว Kyodo รายงานว่ามีการเพิ่มขึ้นของระดับรังสีอย่างชัดเจน และลดลงสู่ระดับปกติในเวลาต่อมา

ยาเม็ด potassium iodide ที่แจกจ่ายไปเพื่อป้องกัน iodine-131 ที่เป็นสารก่อมะเร็งไทรอยด์ โดยปกติไอโอดีนจะสะสมที่ไทรอยด์ ดังนั้นเพื่อป้องกันการรับ ไอโอดีนที่เป็นรังสี เพิ่มเข้าไป จึงต้องร่างกายมีการสะสมไทรอยด์ไว้ก่อนจนอิ่มตัว

อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการระเบิดของแท่งปฏิกรณ์ จะมีอนุภาคที่อันตรายหลายชนิดที่มีผลต่อร่างกาย เช่น

Strontium-90 ซึ่งจะถูกดูดซับเข้าไปในกระดูกทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งกระดูกและมะเร็งเม็ดเลือดขาว

Cesium-137  ซึ่งจะเข้าไปทำลายเซลล์กล้ามเนื้อในร่างกาย

Plutonium จะเป็นพิษเมื่อสูดดมเข้าไป และก่อให้เกิดมะเร็งปอดได้

สารแต่ละตัวมี half-life ที่ต่างกัน โชคดีที่ iodine-131 มีค่าแค่ 8 วัน แต่ strontium-90 มีค่าตั้ง 29 ปี




ภาพตัวอย่างผลที่เกิดขึ้นจากการระเบิดของโรงงานเชอโนบิว



อาการที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน Acute Radiation Syndrome




นอก เหนือไปจากผลระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นมะเร็งแล้ว ยังสามารถเกิดอาการแบบเฉียบพลันได้ด้วยถ้าได้รับปริมาณกัมมันตภาพรังสีใน ปริมาณมาก ๆ ในเวลาอันสั้น

อาการเริ่มแรก ที่พบได้คือ
อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ทันทีทันใด อาการจะดีขึ้นสักพัก แล้วจะกลับมารุนแรงขึ้น ตามมาด้วยอาการไม่อยากอาหาร อ่อนเพลีย ไข้ อาจมีอาการชัก และ Coma ได้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นจะเสียชีวิตในไม่กี่เดือน ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตเนื่องจากไขกระดูกไม่ทำงาน ทำให้เกิดการติดเชื้อ และตกเลือด

อาการอีกอย่างที่พบได้คืออาการทีผิวหนังถูกทำลาย จะมีอาการคัน แดง บวม แสบร้อน นานได้เป็นสัปดาห์ หรืออาจมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ได้





ทิศทางลมเป็นปัจจัยที่สำคัญ




จาก การอพยพของผู้คนกว่า 180,000 คน ในพื้นที่รอบโรงงานนิวเคลียร์ ตามมาตรฐานการความปลอดภัย

กระแสลมได้ช่วยพัดเอาสารกัมมันตรังสีออกไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิกแต่ถ้าหากมี กระแสลมที่พัดย้อนกลับเข้ามา อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการได้รับรังสีมากขึ้นได้ และอาจจะมีการตกค้างของสารดังกล่าว ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งในเด็กมากขึ้นในอนาคต

คอยติดตามให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือเท่าที่พอจะทำได้กันนะครับ

สรุปเนื้อหาเรียบเรียงจาก

http://www.medscape.com/viewarticle/738973?src=smo

Dr.Carebear Samitivej





จะทำอย่างไร ถ้าภัยพิบัติจากนิวเคลียร์เกิดขึ้น



ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Edited by Sannse

:http://scratchpad.wikia.com/wiki/จะทำอย่างไร_ถ้าภัยพิบัติจากนิวเคลียร์เกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้

แนวทาง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุก่อการร้ายหรือยุทธศาสตร์ทางสงครามที่ใช้อา วุูธนิวเคลียร์ทำลายล้าง และ ตามมาด้วยฝุ่นกัมมันตรังสีไปทั่วบริเวณที่อยู่ทางลม อ่านแนวทางนี้ตลอดต้นจนจบก่อน แล้วลงมือ… ให้เร็ว!!
#1 จะอยู่ หรือ จะไป

คุณต้องตัดสินใจให้เร็วที่สุด ว่าเตรียมจะอยู่ตรงไหน หรือ จะหนีภัยไปที่อื่น ถ้าตัดสินใจจะอยู่ที่บ้านของคุณเอง หรือ อย่างน้อยในสถานที่หลบภัยชั่วคราวใกล้ๆ ให้ดู
ถ้าจะตัดสินใจอพยพหนีไปที่อื่น คุณต้องมีความมั่นใจสูงสุด ให้พิจารณาดูว่าถ้าออกไปแล้ว จะคุ้มไหม ถ้าไปแล้วติดอยู่กลางทาง จะกลับก็ทำไม่ได้ง่ายๆ แล้วถ้าไปก็ไปไม่ถึงที่หมายคุณก็จะุได้รับกัมมันตรังสีโดยไม่มีที่หลบเลย ทั้งยังอันตรายมากเพราะกฎหมายบ้านเมือง ณ เวลานั้นคงไม่ค่อยจะมีความหมายในท่ามกลางความโกลาหลตื่นตระหนกของผู้อพยพ ข้าวของที่คุณเอาติดตัวมาได้ก็คงจำกัด

ถ้าคุณอยู่ในเมืองใหญ่หรือใกล้กับเป้าหมายทางทหาร, และคุณมีญาติหรือเพื่อนที่อื่นที่รอคุณอยู่, และเส้นทางที่จะไปหาพวกเขาสามารถใช้งานได้, และการจราจรไม่ติดขัด, และมีพาหนะหรือวิธีที่จะไปถึง/มีน้ำมัน ถ้าเป็นดังกล่าวมาทุกข้อ การอพยลี้ภัยไปก็อาจเป็นทางเลือกที่ทำได้ แต่ อ ย่ า พยายามอพยพไปถ้าหากทุกข้อที่กล่าวมายังไม่มีคำตอบแน่ชัด หรือถ้าสถานการณ์แย่มากขึ้นอย่างรวดเร็วเกินกว่าจะเดินทางออกไปได้สำเร็จ.. คุณคงไม่ต้องการไปติดอยู่กลางทางหรือกลายเป็นผู้ลี้ภัยในฝูงชนที่กำลังตื่น ตะหนกจำนวนมาก ถ้าหากว่าอพยพได้ ก็อย่ารอ ให้ไปทันที! โดยมีข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ตามรายละเอียดหน้าสุดท้ายให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
#2 สิ่งที่จะต้องทำเป็นอันดับแรก

เนื่องจากเวลานั้นสำคัญ เริ่มแรกคุณต้องมอบหมายงานแต่ละอย่างให้สมาชิกผู้ใหญ่ในบ้านแต่ละคนทำไป พร้อมๆ กัน เพื่อทุกอย่างจะได้เสร็จในเวลาเดียวกัน สิ่งสำคัญอันดับแรก คือ ที่พักชั่วคราว น้ำ อาหารและเครื่องใช้ต่างๆ ในขณะที่คนหนึ่งกำลังกักเก็บน้ำ อีกคนจัดทำที่หลบภัย อีกคนหนึ่งต้องรีบหาอาหารและของที่จำเป็นให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
#3 อาหาร สิ่งจำเป็นที่ต้องจัดหาไว้

มอบหมายให้คนใดคนหนึ่งไปซื้อด่วน!! (ตาม list หน้าสุดท้าย) ถอนเงินสดออกมาจากธนาคารหรือ ATM ก่อน แต่ใช้ Credit Card ซื้อของถ้าทำได้ จะได้เก็บเงินสดไว้
#4 น้ำ

เำก็บน้ำให้ได้มากที่สุด ทันทีอย่าช้า!! ใช้ภาชนะ อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขวด อ่างอาบน้ำ เครื่องซักผ้า สระน้ำของเด็ก (แบบพับเก็บได้) ที่นอนน้ำ (น้ำที่เก็บในที่นอนน้ำ ไม่ควรใช้ดื่ม) ฯลฯ จะใช้ภาชนะอุปกรณ์อะไรก็ได้ นำมาเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุด เดี๋ยวนี้!!
#5 ที่พักหลบภัย

ฝุ่นกัมมันตรังสีที่เกิดจากการระเิบิด จะลอยขึ้นไปบนอากาศ แล้วจะถูกพัดไปกับลม และส่วนใหญ่จะตกกลับมาสู่พื้นโลก เศษวัตถุจากการระเบิดที่หนักที่สุด อันตรายที่สุด และสังเกตเห็นได้ นั้นจะตกลงก่อนและตกอยู่ใกล้ๆ จุดระเบิด ซึ่งจะเริ่มตกลงมาภายในไม่กี่นาทีหรือหลายนาทีหลังระเบิด ส่วนที่เป็นเศษวัตถุขนาดเล็กและเบาลักษณะเหมือนฝุ่นอนุภาคเล็กๆ นั้นจะมาถึงหลังจากเวลาผ่านไปเป็นชั่วโมงๆ เนื่องจากอานุภาพเล็กๆ พวกนี้ถูกพัดลอยไปไกลเป็นร้อยๆไมล์ เมื่อมันตกลงมาแล้วไม่ว่าคุณจะมองเห็นหรือไม่ อานุภาพเล็กๆ นี้จะรวมตัวกันและพัดกระจายไปรอบๆ ทุกๆ ที่ เหมือนฝุ่นหรือหิมะบางๆ ที่ตกลงมาสู่พื้นดินและหลังคานั่นเอง ลมและฝนจะเป็นตัวทำให้อานุภาคพวกนี้ไปรวมตัวกันมากขึ้น โดยที่ตาเปล่าเราจะไม่สามารถบอกได้เลยว่าตรงไหนมีฝุ่นกัมมันตรังสีอยู่สูงๆ

ฝุ่นกัมมันตรังสีนี้อันตรายมาก เพราะว่ามันส่งพลังงานที่เป็นรังสีทะลุทะลวงได้ (เหมือนกับรังสีเอ็กซเรย์) รังสีนี้ (ไม่ใช่ตัวเศษฝุ่นนะ) สามารถทะลุผ่านกำแพง หลังคา และเสื้อผ้าได้ ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้สูดหรือรับเอาฝุ่นเ้ข้าร่างกาย ไม่ได้มีฝุ่นเกาะบนผิว ผม เสื้อผ้าก็ตาม และถึงแม้จะมันจะไม่ได้เข้ามาในบ้านคุณเลยก็ตาม แต่ว่ารังสีที่ทะลุเข้ามาในบ้านคุณได้นี้ก็ยังเป็นอันตรายอย่างรุนแรง สามารถทำให้คุณเจ็บและฆ่าคุณในบ้านได้อยู่ดี

ฝุ่นกัมมันตรังสีจากการระเบิดนิวเคลียร์ ถึงแม้ว่าจะมีอันตรายมากในขั้นต้น แต่ความเข้มข้นของมันก็ลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะว่ามันปล่อยพลังงานมาก เช่นฝุ่นที่ส่งรังสีแกมม่าออกมาที่ 500 R/ช.ม (อันตรายถึงชีวิตในช่วง 1 ชม หลังระเบิด) มันจะอ่อนกำลังลงเหลือเพียง 1/10 หลังจากที่ระเบิดไปแล้ว 7 ชม ใน 2 วันต่อมาก็จะเหลือความเข้มเพียง 1/100 หรืออันตรายน้อยกว่าตอนระเบิดใหม่ๆ 1/100 เท่า

นี่เป็นข่าวดี เพราะว่าครอบครัวของพวกเราก็สามารถเตรียมรอดชีวิตได้ ถ้าอยู่ในที่หลบภัยที่ถูกต้องปลอดภัยในขณะที่รอให้อันตรายลดลงเรื่อยๆ ในทุกๆ ชั่วโมงที่ผ่านไป

สิ่งที่จะกั้นกัมมันตรังสีได้ ก็แค่กองวัตถุต่างๆ รวมกันไว้เยอะๆ กั้นระหว่างคนในครอบครัวของคุณกับแหล่งรังสีนั่นเอง ก็คล้ายๆ กับเสื้อเกราะกันกระสุนของตำรวจที่ใช้กันกระสุน ยิ่งวัตถุที่นำมากันนั้นมีความหนามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งป้องกันกัมมันตรังสีได้มากเท่านั้น และ ยิ่งถ้าวัตถุหนัก(หนาแน่น) มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความหนาของวัตถุธรรมดาๆ ประเภทต่างๆ ที่ทำให้กัมมันตรังสีลดความเข้มข้นลงเหลือ 1/10 มีดังนี้ เหล็ก 3.3 นิ้ว, คอนกรีต 11 นิ้ว, ดิน 16 นิ้ว, น้ำ 24 นิ้ว, ไม้ 38 นิ้ว เป็นต้น

และที่สามารถสะกัดกั้นรังสีได้ถึง 99% ได้แก่ เหล็ก 5 นิ้ว, ก้อนอิฐหรือบล็อคคอนกรีตกลวงที่ใส่ปูนผสมหรือทราย 16 นิ้ว, ดิน(บรรจุอัดไว้เป็น pack) 2 ฟุต, ดินร่วนๆ 3 ฟุต, น้ำ 3 ฟุต

คุณอาจจะไม่มีเหล็กไว้เพียงพอ แต่ไม่ว่าอะไรที่คุณมี ก็สามารถนำมาวางเพิ่มเติมเข้าไปได้ เช่น ใช้ไม้ที่น้ำหนักไม่มากนัก มาวางเพิ่มจำนวนเข้าไปทำให้หนามากขึ้น ดีกว่าใช้ดินในปริมาณที่ดูดซับและป้องกันรังสีได้เท่ากันแต่มีน้ำหนัก มากกว่า การเพิ่มระยะห่างระหว่างคนกับรังสี ก็จะช่วยลดความเข้มข้นของรังสีจากภายนอกได้ด้วย
***เป้าหมายคือ***
 อยู่ห่างจากฝุ่นกัมมันตรังสีจากภายนอกที่อยู่บนพื้นดินและหลังคาให้มากที่สุด
 วางสิ่งกีดขวางให้มากพอระหว่างคนกับกัมมันตภาพรังสี
 สร้างที่พักให้อยู่ได้ในขณะที่รอให้กัมมันตรังสีจางลง

ที่พักหลบภัยจากกัมมันตรังสีสามารถสร้างที่ไหนก็ได้ คุณควรจะต้องดูว่าทางเลือกใดดีที่สุดสำหรับคุณ ในบ้านหรือว่าที่อื่นใกล้ๆ บ้าน โครงสร้างอาคารบางแห่งประกอบด้วยสิ่งที่ช่วยป้องกันรังสีได้ดี บางแห่งก็ป้องกันได้บ้างบางส่วน ถ้าคุณไม่มีชั้นใต้ดิน คุณก็สามารถใช้เทคนิคที่แสดงไว้ด้านล่างได้เหมือนกัน แต่คุณจำเป็นต้องใช้เครื่องกีดกั้นรังสีมากขึ้น คุณอาจจะไปหลบในอาคารสถานที่หนาทึบใกล้ๆ ก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ๆ มีชั้นใต้ดิน เช่น ตึก โรงเรียน โบสถ์ ที่จอดรถชั้นใต้ดิน ท่อ อุโมงค์ใต้ดิน ฯลฯ สถานทีบางแห่งคงต้องขออนุญาตต่อเติมถ้าหากว่าปลายเปิด เพื่อป้องกันไม่ให้กัมมันตรังสีผ่านเข้ามาได้ อาคารที่มี 6 ชั้นขึ้นไป ที่ซึ่งไม่มีข้อกังวลเรื่องความเสียหายจากระเบิด ก็อาจเป็นที่ป้องกันรังสีที่ดีได้ โดยอยู่ในส่วนกลาง ของชั้นกลางๆ ตึก ด้วยเพราะมี “ระยะห่าง” และ “มีชั้นหลายๆ ชั้นเป็นตัวสะกัดกั้นรังสี” นั่นเอง

หลักสำคัญคือ เลือกสถานที่ใกล้ๆ ที่เป็นเกราะป้องกันที่ดีเยี่ยม และมีระยะห่างระหว่างภายในและภายนอกมากๆ
 รูปบน(ซ้าย): ที่แจ้ง ไม่มีที่กำบังเลย

--------------------------------------------------------------------------------
รูปบน(ขวา): บ้านที่ไม่มีชั้นใต้ดิน ป้องกันได้เล็กน้อย

--------------------------------------------------------------------------------
รูปล่าง(ซ้าย): ชั้นใต้ดิน ป้องกันได้ปานกลาง

--------------------------------------------------------------------------------
รูปล่าง(ขวา): สร้างที่หลบภัยในชั้นใต้ดิน ป้องกันได้ดีที่สุด

--------------------------------------------------------------------------------
ถ้าคุณมีชั้นใต้ดินในบ้าน หรือที่บ้านญาติหรือเพื่อนใกล้ๆ ที่คุณอาศัยได้ ทางที่ดีที่สุดคุณควรจะจัดการทำให้ที่นั้นๆ มีความสามารถป้องกันรังสีได้ดียิ่งขึ้น แล้วก็อาศัยหลบภัยอยู่ที่นั่น ยกเว้นว่าคุณมีที่หลบใกล้ๆ ที่ดีกว่า ลึกกว่า
 สำหรับที่หลบภัยแบบนาทีสุดท้าย ทำได้โดยใช้โต๊ะหนักๆ ที่คุณสามารถเข้าไปนั่งใต้โต๊ะนั้นได้ ดันโต๊ะเข้ามุม ในตำแหน่งที่ดินภายนอกอยู่สูงที่สุด และระดับพื้นดินข้างนอกนั้นจำเป็นที่จะต้องอยู่เหนือกว่าตำแหน่งบนสุดของที่ หลบภัยข้างใน ถ้าไม่มีโต๊ะหนักๆ ก็เอาบานประตู (ภายในบ้าน) มาใช้ทำเป็นโต๊ะ จากนั้นนำวัตถุต่างๆ มากองรวมกันเป็นเกราะกำบังรอบๆ โต๊ะ เช่น หนังสือ ไม้ อิฐ กระสอบทราย เฟอร์นิเจอร์หนักๆ ตู้ที่มีเอกสารเก็บเต็ม ภาชนะที่บรรจุน้ำอยู่เต็ม กล่อง ลัง ปลอกหมอนที่ใส่อะไรก็ได้หนักๆ เช่น ดิน จะใช้อะไรก็ได้ที่คุณสามารถนำมาใช้เป็นเกราะทั้งด้านบนและรอบๆ ด้านข้าง เพื่อดูดซับรังสีที่ทะลุเข้ามาในบ้าน ยิ่งหนักก็ยิ่งดี อย่างไรก็ตามต้องจัดให้โต๊ะและตัวที่ทำเป็นขาโต๊ะแข็งแรง ทนน้ำหนักได้ ไม่เสี่ยงล้มพังลงมา



ทำช่องทางเข้าเล็กๆ เพื่อลอดเข้าไปใต้โต๊ะได้ และให้มีสิ่งของที่จะทำเป็นเกราะกองรวมกันไว้ตรงบริเวณนั้นให้มากเพื่อจะได้ ดึงเข้ามาปิดช่องได้เมื่อเราเข้ามาใต้โต๊ะแล้ว.. เจาะรูหรือทำช่องขนาด 4-6 นิ้ว ให้อากาศผ่านเข้าออกได้ โดยด้านหนึ่งให้มีช่อง/รูนี้อยู่สูง ส่วนอีกด้านหนึ่งให้อีกช่อง/รู อยู่ต่ำ.. ทำรู/ช่องเพิ่มถ้าคนมากหรืออากาศร้อน .. ใช้กระดาษแข็งมาพัดลมก็ได้ ลมที่เข้ามาข้างในนี้ไม่ต้องกรองถ้าชั้นใต้ดินนี้ปิดมิดชิดไว้ดีแล้ว แต่อย่างไรก็ตามหน้าต่างและช่องต่างๆ จำเป็นต้องมีวัตถุที่แข็งแรงมาปิดไว้ให้ดีอีกชั้นหนึ่ง เพื่อเราจะได้มั่นใจว่ามันปิดสนิทแน่นหนาดีจริงๆ และเพื่อเป็นการเพิ่มเกราะกันรังสีอีกด้วย.. อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในข้อ 6
 ด้วยเวลาที่มากกว่า อุปกรณ์มากกว่า มีความรู้ด้านช่างไม้หรืองานก่อสร้าง คุณยิ่งจะสามารถสร้างที่พักหลบภัยได้ถูกหลักยิ่งขึ้น เช่น แบบ “lean-to” ที่แสดงในภาพ แต่่คุณต้องกองสุมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ไว้เป็นเกราะให้มากกว่านี้หลายเท่า ตามภาพทำไว้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น


ที่พักหลบภัยที่มีประสิทธิภาพที่สร้างขึ้นในชั้นใต้ดิน อาจสามารถลดรังสีลงได้ 100-200 fold (เ่ท่า?) ดังนั้น ถ้ารังสีข้างนอกมีความเข้ม 500 R/ชม (อันตรายถึงชีวิตใน 1 ชม) คนที่อยู่ในที่หลบภัยในชั้นใต้ดินนั้นอาจจะได้รับรังสีเพียงแค่ 5 R/ชม หรือน้อยกว่านี้ ซึ่งอัตรานี้ทำให้รอดชีวิตได้ เพราะความเข้มของรังสีจะลดลงไปเรื่อยๆ ในทุกๆ ชั่วโมงที่ผ่านไป
 การวางวัตถุกั้นรังสีไว้บนชั้นบน เหนือที่หลบใต้ดิน และวางพิงผนังที่หลบที่คุณทำขึ้น ก็จะยิ่งเพิ่มขีดความสามารถในการป้องกันรังสีได้อย่างมากทีเดียว ทุกๆ 1 นิ้ว ที่คุณเติมเข้าไป ยิ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพให้เกราะป้องกันรังสีของคุณ


กลุ่มคนจำนวนมากที่จำเป็นต้องอาศัยที่หลบภัยชั่วคราวจะอยู่ในระยะ หลายๆๆ ไมล์ในทิศทางลม แต่ไม่จำเป็นต้องหลบอยู่นานหลายๆ สัปดาห์ จริงๆ แล้วคนส่วนใหญ่จำเป็นต้องหลบในที่หลบภัยตลอดเวลาเพียงแค่ 2-3 วันเท่านั้น ก่อนที่จะเริ่มออกมาได้บ้างแบบชั่วครู่ หลังจากนั้นก็สามารถออกมาอยู่ข้างนอกได้นานขึ้นในแต่ละวัน แล้วกลับเข้าที่พักอีกในเวลาหลับนอนเท่านั้น
 #6 รายละเอียดที่จำเป็นต้องทราบ
 ข้อมูลจากรัฐเป็นแหล่งข้อมูลจำเป็นที่สำคัญที่คุณจะต้องปฎิบัติตาม ในวิกฤตการณ์จากนิวเคลียร์ แต่ว่าด้วยเหตุหลายประการข้อมูลจากรัฐอาจจะล่าช้า ไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกแนวทาง หรืออาจผิดไปเลยก็ได้

ถ้าคุณจะต้องการความมั่นใจว่าคุณจะมีอาหารและของจำเป็นเพื่อยังชีพให้ ครอบครัวคุณได้แน่ๆ คุณต้องจัดหาก่อนที่จะเกิดความวุ่นวายขึ้น ไม่ต้องรอคำสั่งจากทางการซึ่งอาจไม่มีมาเลย หรือไม่ก็ไม่ทันการณ์ก็เป็นได้ ท้ายที่สุด คุณเท่านั้นที่จะรับผิดชอบต่อครอบครัวของคุณเอง

--------------------------------------------------------------------------------
อากาศที่เข้ามาในที่หลบภัยชั้นใต้ดิน ไม่จำเป็นต้องกรอง อากาศไม่กลายเป็นกัมมันตรังสี และถ้าชั้นใต้ดินของคุณถูกปิดไว้อย่างมิดชิดสนิททุกด้านแล้ว ลมจากภายนอกซึ่งปนเปื้อนด้วยฝุ่นกัมมันตรังสีจะผ่านเข้ามาไม่ได้ แค่ปิดหน้าต่างและช่องว่างอื่นๆ ให้สนิทเท่านี้ก็ป้องกันฝุ่นกัมมันตรังสีได้แล้ว

ควรจะปิดหน้าต่างทุกบานด้วยไม้ และใช้กระสอบทราย อิฐ หรือ ดิน เป็นต้น มาปิดไว้อีกชั้นหนึ่งทั้งข้างในและข้างนอกถ้าเป็นไปได้ จะเป็นการช่วยให้เกราะป้องกันรังสีภายในบ้านของคุณมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และ ยังช่วยป้องกันไม่ให้กระจกแตกอีกด้วย

ถ้าหากว่าภายหลังอากาศในชั้นใต้ดินเริ่มอับขึ้นจริงๆ คุณก็อาจจะเปิดประตูบานที่ต่อไปยังชั้นบน (แต่บ้านทั้งหลังยังปิดสนิทอยู่) หรือว่าเอาแผ่นกรองอากาศมาปิดช่อง/รูที่จะนำอากาศภายนอกให้ผ่านเข้ามาได้ (ปิดไว้ให้แข็งแรงอย่าให้หลุดออกมา)

--------------------------------------------------------------------------------
เกี่ยวกับการปนเปื้อนฝุ่นกัมมันตรังสี อาหารหรือน้ำที่เก็บไว้ในภาชนะที่ปิดมิดชิด ถึงแม้ว่าภาชนะนั้นจะมีละอองฝุ่นเกาะจับอยู่ภายนอกแต่ก็สามารถปัดหรือ ล้างออกได้ในภายหลัง ตราบใดที่ละอองฝุ่นไม่ได้เข้าไปถึงข้างใน อาหาร/น้ำนั้นก็สามารถใช้บริโภคได้อย่างปลอดภัย ส่วนกัมมันตภาพรังสีที่ทะลุผ่านเข้าไปในอาหารและน้ำได้นั้นมันไม่ได้ทำลาย หรือก่อให้เกิดโทษต่อสารอาหาร

ถ้าคุณสังเกตเห็นว่าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของคุณมีฝุ่นเกาะติดอยู่ ก็ให้ถอดทิ้งไว้ข้างนอกก่อนเข้ามาในบ้าน ชุดพลาสติกกันฝุ่นราคาถูกซึ่งสามารถล้างเอาฝุ่นออกได้โดยง่ายและทิ้งไว้ข้าง นอกได้ก็น่าจะนำมาใช้ จัดให้มีน้ำและแชมพูเด็กไว้ใกล้ทางเข้าบ้าน (สายยางฉีดน้ำ และ ภาชนะใส่น้ำ) สำหรับชะล้างผิวส่วนที่เผยออกมานอกเสื้อผ้า และ ผม ให้สะอาดโดยทั่ว การสัมผัสโดนละอองฝุ่นนี้ไม่ได้ทำให้คุณป่วย แต่คุณต้องแน่ใจว่าคุณไม่เอาฝุ่นติดเข้าไปในบ้านด้วย

ถ้ามีบางคนเกิดอาการป่วยจากกัมมันตภาพรังสี ซึ่งปกติจะมีอาการคลื่นไส้ถ้าได้รับเพียงเล็กน้อย (น้อยกว่า 100 Rads) 100% จะหายป่วย และไม่สามารถแพร่ไปติดคนอื่น

ก่อนที่ละอองฝุ่นกัมมันตรังสีจะมาถึง คุณอาจจะคลุมสิ่งของที่อยู่ภายนอกไว้ เพื่อจะได้ล้างออกได้ง่ายๆ ในภายหลัง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีจุดที่คุณปลูกผักไว้ คุณก็อาจจะเอาพลาสติกหรือผ้ายางมาคลุมแล้วถ่วงน้ำหนักไว้

--------------------------------------------------------------------------------
ถ้าไม่มีเวลาพอที่จะหาซื้อเครื่องตรวจวัดกัมมันตรังสี เช่น Geiger Counters หรือ Dosimeters คุณต้องมีวิทยุ และเช็คให้แน่ใจมากๆ ว่า วิทยุของคุณ(แบบใส่ถ่าน) ใช้การได้ดีในที่พักหลบภัยหรือเปล่า

คุณต้องมีถ่านใหม่สำหรับวิทยุเป็นจำนวนมากด้วย คุณต้องฟังข่าวสารทางวิทยุเพื่อจะได้ทราบว่าบริเวณที่คุณอยู่ปลอดภัยที่จะ ออกมาได้แล้วยัง และก็อาจจะเป็นทางเดียวที่คุณจะรู้ได้ว่าเมื่อใดเป็นเวลาที่คุณจำเป็นต้อง เริ่มใช้มาตรการป้องกันขั้นสูงสุด

วิทยุเมื่อไม่ได้ใช้ ไม่ควรต่อไว้กับ antenna(เสาสัญญาณวิทยุ) หรือแม้แต่เสาสัญญาณที่ติดกับวิทยุอยู่แล้วก็ไม่ควรดึงให้ยืดขึ้น และควรจะ่ห่อวิทยุด้วยฉนวนกันความร้อน เช่น กระดาษ แผ่น พลาสติก bubble กันกระแทก แล้วก็เก็บไว้ในภาชนะที่เป็นโลหะ หรือไม่ก็ห่อด้วย aluminum foil เพื่อลด EMP ที่จะเกิดขึ้น แล้วทำลายระบบวงจรไฟฟ้าในเครื่อง

การมีวิทยุไว้มากกว่า 1 เครื่องก็เป็นความคิดที่ดี อาจจะเปิดเครื่องหนึ่งไว้ตลอดเวลา เพื่อฟังคลื่นที่อยู่ใกล้กับเมืองที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายโจมตีมากที่สุด ถ้าเมื่อใดสัญญาณหายไปทันทีทันใด คุณอาจทราบได้ตั้งแต่แรกว่าเกิดการโจมตีขึ้นแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------
ถ้าอยู่ใกล้เป้าหมาย หากเกิดระเบิดนิวเคลียร์ขึ้น เครื่องบ่งชี้แรกที่คุณจะเห็นก็คือแสงสว่างจ้าแลบขึ้นมา ส่วนผลกระทบแรกที่ต้องเจอก่อนที่ฝุ่นกัมมันตรังสีจะมาถึงก็คือแรงระเบิด และ คลื่นพลังงานความร้อนจากระเบิด (ขึ้นอยู่กับความใกล้ด้วยว่าใกล้แค่ไหน)

วิธีการ duck & cover (หมอบ & ปิดกำบัง) ทันทีก็จะช่วยให้พ้นจากการบาดเจ็บที่เกิดจากเศษวัตถุที่ปลิวมาจากแรงระเบิด ได้ และ ช่วยลดการบาดเจ็บจากกระแสความร้อนด้วย

ใครที่อยู่ใกล้จุดระเบิดมากๆ จะเจอแรงลมขนาดเท่ากับพายุทอร์นาโด ควรรีบหลบเข้าหลังวัตถุที่แข็งแรงมั่นคง หรือ รีบหลบลงหลุม ท่อ อุโมงค์ หรือ ชั้นใต้ดิน เป็นต้น

ระเบิด 500 กิโลตัน ที่ระยะห่างออกไป 2.2 ไมล์ หลังจากเห็นแสงจ้าแลบขึ้น แรงระเบิดจะมาถึงในเวลาประมาณ 8 วินาที ด้วยแรงลมที่ 295 ไมล์/ชม นาน 3 วินาที ถ้าระเบิด 1 Megaton ที่ระยะห่างออกไป 5 ไมล์ จะมาถึงภายในประมาณ 20 วินาที

หวังว่าคุณจะไม่อยู่ใกล้กับจุดระเบิด แค่ต้องรับมือกับฝุ่นกัมมันตรังสีในภายหลังเท่านั้น

--------------------------------------------------------------------------------
ฝุ่นกัมมันตรังสีที่คาดว่ากำลังจะมา ถึงแม้ว่ามันยังมาไม่ถึง ทุกคนที่อยู่ข้างนอกควรต้องเริ่มสวมใส่หน้ากากกันฝุ่นและชุดกันฝนที่มีหมวก ปิดศีรษะ

ทุกคนควรต้องเริ่มทานเม็ด Potassium Iodide (KI) หรือ Potassium Iodate (KIO3) เพื่อป้องกันต่อมไทรอยด์จากมะเร็ง ถ้าแบบเม็ดไม่มี ใช้สารละลายไอโอดีนก็ได้ เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีน หรือ เบตาดีน ทาบนผิวหนัง ซึ่งจะให้ผลป้องกันได้เหมือนกับชนิดเม็ด

(คำเตือน: สารละลายไอโอดีนทุกชนิด ห้ามใช้ภายใน หรือ กลืนกิน โดยเด็ดขาด)

สำหรับผู้ใหญ่ให้ทาทิงเจอร์ไอโอดีน (ชนิด 2%) 8 มิลลิลิตร บริเวณท้อง หรือ ท้องแขน ในแต่ละวัน หากคาดว่าระเบิดจะเกิดขึ้น ถ้าได้ทาก่อนเกิดเหตุอย่างน้อยๆ 2 ชม จะดีมาก สำหรับเด็กอายุ 3-18 ปี แต่น้ำหนักน้อยกว่า 150 pounds ให้ทาขนาดครึ่งหนึ่ง หรือ 4 มิลลิลิตร สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ แต่มากกว่า 1 เดือน ทา 2 มิลลิลิตร สำหรับเด็กแรกเกิด – 1 เดือน ทา 1 มิลลิลิตร (ถ้าไม่มี dropper สำหรับวัดปริมาณยา กะประมาณเอาว่า 1 ช้อนชา = ประมาณ 5 มิลลิลิตร)

สารละลายไอโอดีนที่มีความเข้มข้นมากกว่า 2% ก็ให้ทาลดน้อยลงตามอัตรา การดูดซึมสารไอโอดีนผ่านทางผิวหนังถึงแม้จะเป็นวิธีที่ให้ค่า Dose หรือขนาดที่รับไปไม่แน่นอนเท่ากับไอโอดีนชนิดเม็ด แต่จากการทดลองพบว่าชนิดทาก็ยังคงมีประสิทธิภาพสูงสำหรับคนส่วนใหญ่

ห้ามใช้ถ้าแพ้ไอโอดีน ถ้าเป็นไปได้ควรไปปรึกษาแพทย์ซะเดี๋ยวนี้ เพื่อให้ทราบว่าสมาชิกคนใดในครอบครัวของคุณสามารถใช้ KI, KIO3 หรือ สารละลายไอโอดีน ได้หรือไม่ได้

--------------------------------------------------------------------------------
เมื่อคุณรู้ว่าเวลาที่ต้องป้องกันรักษาตัวใกล้เข้ามาแล้ว ให้ปิดน้ำไฟให้หมด และ เช็คทุกอย่างว่าปิดและล๊อคเรียบร้อย เสร็จแล้วรีบไปยังที่หลบภัยได้เลย คุณควรดูให้แน่ใจด้วยว่าใกล้ๆ กับที่พักหลับภัยนั้นมีเครื่องมือ เช่น แชลง แม่แรงยกรถ สำหรับใช้ช่วยดันเอาตัวเองขึ้นมาได้

และอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับงานก่อสร้างต่างๆ, แผ่นผ้าพลาสติก staple gun เป็นต้น ก็ควรมีไว้เพื่อใช้ปิดอุดช่อง รู รอยแตก ที่เกิดจากความเสียหาย ชั้นใต้ดินของคุณควรจะปิดไว้มิดชิดอย่างดีแล้ว เพื่อป้องกันเศษฝุ่นละอองกัมมันตรังสีเข้ามา เสร็จแล้วก็ปิดประตูบานสุดท้ายที่คุณใช้ให้มิดชิดแน่นหนาด้วยเทปกาวให้รอบ ทุกด้านทุกมุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าประตูนี้ตรงกับประตูเข้าบ้านยิ่งต้องปิดให้แน่นหนา

--------------------------------------------------------------------------------
คุณไม่จำเป็นต้องเสี่ยงกับเรื่องไฟไหม้เพราะทำอาหารในที่พัก ถ้าคุณเตรียมผลิตภัณฑ์กระป๋อง ที่เปิดกระป๋อง อาหารกระป๋องที่สามารถเก็บไว้ได้นานและพร้อมทานได้เลย เอาไว้ อาหารและน้ำให้วางไว้ให้มาก ตรงปากทางเข้าที่พักที่คุณคลานเข้าไปอยู่ เพื่อที่คุณจะได้ดึงอาหารและน้ำเข้ามาใช้ได้อย่างรวดเร็ว ในเวลาที่ปลอดภัยพอที่จะทำได้

--------------------------------------------------------------------------------
สำหรับเรื่องไฟฉาย ควรใช้แบบ LED หรือ LED Head Lamps เพราะกินไฟ(ถ่านไฟ)น้อย พยายามอย่าใช้เทียนไข และเตรียมหนังสือ เกมส์สำหรับเด็กๆ อาจมีที่นอนเล็กๆ เบาะ ผ้าห่ม หมอน ฯลฯ ไว้ด้วย

--------------------------------------------------------------------------------
ส้วม ใช้ถังขนาด 5 แกลลอน และใช้ที่รองนั่งจากโถส้วมในบ้านมาใช้ก็ได้ถ้าคุณไม่ได้ซื้อสำรองเอาไว้อีก อัน ถุงดำสำหรับใส่ขยะขนาดพอเหมาะเอาไว้ใช้รองถัง ซึ่งควรต้องใช้ถุงรองก่อนทุกครั้ง

เตรียมถังขยะขนาดใหญ่ซึ่งรองด้วยถุงขยะแล้วมาวางไว้ด้านนอกใกล้กับทาง เข้าที่พักให้มากที่สุด เพื่อคุณจะได้เอาถุงปฎิกูลจากถังส้วมทิ้งในถังขยะด้านนอกได้อย่างรวดเร็ว เมื่อปลอดภัยพอที่จะทำได้ ควรมีผ้า/ผ้าห่ม มากั้นเพื่อความเป็นส่วนตัว ส่วนถุงปฎิกูลต้องผูกให้แน่นทุกครั้งหลังใช้เสร็จแล้ว

--------------------------------------------------------------------------------
สัตว์เลี้ยง จะทำอย่างไรกับมันดี เป็นเรื่องยาก แต่การปล่อยสุนัขไว้ข้างนอกนั้นมันโหดร้ายเกินไป เพราะมันก็คงต้องตายทรมานจากกัมมันตรังสี และเป็นอันตรายต่อผู้อื่นด้วยโดยเฉพาะถ้ามันติดเชื้อโรคเข้า หรือไม่ก็คงเข้าฝูงไปกับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ อีกจำนวนมาก ที่ถูกปล่อยออกมาเหมือนกัน การดูแลสัตว์เลี้ยงของคุณไว้เป็นเรื่องที่ดีถ้าเป็นไปได้และไม่ขาดแคลน ปัจจัยจนเกินไป ในขณะที่ถ้าปล่อยมันทิ้งไว้ ที่สุดแล้วอาจเป็นความจริงที่เจ็บปวด แต่ก็จำเป็น

--------------------------------------------------------------------------------
การต้มน้ำ หรือ การฆ่าเชื้อในน้ำ เพื่อใช้ดื่ม นั้นทำได้กับน้ำที่เก็บกักหรือบรรจุอยู่ในภาชนะแล้วเท่านั้น (เป็นการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่ใช่กัมมันตภาพรังสี ซึ่งกัมมันตภาพรังสีที่ทะลุผ่านภาชนะที่ปิดสนิท เข้าไปถึงน้ำและอาหารได้นั้น ไม่ใช่สิ่งที่ต้องกังวลเลย)

น้ำจากก๊อกที่คุณได้เก็บกักไ้ว้ในภาชนะไม่จำเป็นต้องฆ่าเชื้อ (ประเด็นนี้นี่เฉพาะน้ำก๊อกที่สะอาด ไม่มีเชื้อแบคทีเรียในน้ำ ใช้ดื่มได้เลย อย่างในประเทศอเมริกาน่ะคะ แต่บ้านเราคงไม่เหมือนกัน คงต้องต้ม หรือ ฆ่าเชื้อก่อนอยู่ดี–jasminine ) แต่สำหรับน้ำที่สงสัยว่าไม่สะอาด ก็นำมาต้มจนเดือดและทิ้งไว้ ณ จุดเดือดสัก 10 นาทีเป็นอย่างน้อย ถ้าไม่มีเชื้อเพลิงต้มก็สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ (Bleach) คุณภาพดี หยดลงไปในน้ำในอัตรา 10 หยดต่อน้ำ 1 แกลลอน แล้วปล่อยทิ้งไว้สักครึ่งชั่วโมง น้ำยา Bleach นี้ควรจะบริสุทธิ์อย่างน้อย 5.25% เช่น Clorox แล้วก็ต้องไม่มีส่วนผสมอย่างอื่น เช่น สบู่ หรือ น้ำหอม

สำหรับรสชาดเฝื่อนๆ ของน้ำต้มหรือรสคลอรีนของน้ำที่ฆ่าเชื้อด้วย Bleach นั้น ทำให้หายไปได้โดยเทสลับไปมาใส่ภาชนะอื่นหลายๆ รอบ

--------------------------------------------------------------------------------
รายการสิ่งจำเป็นที่ต้องจัดหา

ถ้าร้านค้ายังคงมีของ ถ้าภาวะตอนนั้นยังปลอดภัยที่จะออกไปซื้อ คุณต้องพยายามซื้อให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทันที!

ในรายการข้างล่างนี้ ส่วนที่เป็นอาหารไม่ได้บอกปริมาณเอาไว้ เนื่องจากขนาดของแต่ละครอบครัวต่างกันออกไป และเพราะว่าในภาวะฉุกเฉิน ความตระหนกตื่นกลัวมีมากขึ้นนี้ ของบางอย่างก็จะขายหมดในเวลาอันรวดเร็ว หรือไม่ก็ซื้อได้แบบจำกัดจำนวน คุณก็คงต้องพยายามให้ได้ของมากที่สุดเท่าที่ยังคงมีวางขายบนชั้น อย่างน้อยควรเตรียมไว้สำหรับ 2 สัปดาห์ แต่จะดีกว่ามากๆ ถ้ามีไว้มากพอสำหรับ 2 เดือนขึ้นไป
 รายการอาหารครึ่งแรกที่ขีดเส้นใต้ไว้ใช้ในช่วงแรกขณะที่หลบอยู่ภายในที่พัก ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ที่ไม่ต้องทำให้สุก ไม่ต้องเตรียม แค่ใช้ที่เปิดกระป๋องเปิดก็ทานได้เลย (สารละลายไอโอดีน รวมอยู่ในรายการนี้ด้วย เพราะมีความจำเป็นสำหรับปกป้องต่อมไทรอยด์ แต่ห้ามใช้ภายใน หรือกลืนกินเป็นอันขาด!) ส่วนอาหารอื่นๆ ในรายการ ไว้ใช้ภายหลังจากสถานการณ์ดีขึ้นแล้ว ตามด้วยรายการอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
 รีบไปหาซื้อทั้งหมดมาเดี๋ยวนี้ โดยเร็วๆ!
 อาหารกระป๋องต่างๆ (พาสต้า ซุป ผัก ผลไม้ ทูน่า เนื้อสุก เนยถั่ว เป็นต้น)

อาหารพร้อมรับประทาน (pop-tarts ลูกเกต ชีส granola/energy/protein bars ขนมขบเคี้ยว ฯลฯ)

อาหารที่เสียได้บางอย่าง (ขนมปัง ผลไม้ เช่น กล้วย แอปเปิ้ล ส้ม องุ่น ฯลฯ)

เครื่องดื่มต่างๆ

วิตามินรวม ปริมาณมากๆ

สารละลายไอโอดีน เช่น Betadine (16 Oz.) – ห้ามใช้ภายใน หรือ กลืนกิน

นมอัดเม็ดกล่องใหญ่หลายๆ กล่อง (แบ่งส่วนหนึ่งไปใช้ด้านในที่เราพัก)

แพนเค้ก ขนมปังบิสกิต และ syrub สำหรับทา

ข้าวถุงใหญ่สุด หลายถุง

ถั่ว

แป้งมัน แป้งข้าวโพด ฯลฯ

หัวมัน

ข้าวโอ๊ค ธัญญพืชชนิดอื่นๆ

มักกะโรนี

น้ำตาล

น้ำผึ้ง

น้ำมันสำหรับทำอาหาร 2 แกลลอนใหญ่ๆ หรือมากกว่า

Baking powder, baking soda, เครื่องเทศเครื่องปรุงชนิดต่างๆ

น้ำดื่มเป็นขวด

จาน ถ้วย ช้อนส้อม ที่เป็นกระดาษหรือพลาสติก

ที่เปิดกระป๋องอย่างดี (2 อันถ้าที่บ้านไม่มี)

ไฟแช็ค

ถังขยะใหม่หลายๆ ใบ และถุงรองถังขยะเป็นจำนวนมาก (ไว้เก็บน้ำ และ ใส่ขยะ)

ถังขนาด 5 แกลลอน และ ถุงรองถังขยะขนาดเล็กลงมาเพื่อรองถัง (ไว้ทำเป็นโถส้วม)

ที่รองนั่งโถส้วม สำหรับใช้กับถังที่ทำเป็นโถส้วม (ใช้ของที่บ้านที่มีอยู่แล้วก็ได้)

กระดาษชำระ และ ผ้าอนามัย ผ้าอ้อม ถ้าจำเป็นต้องใช้

กระดาษเช็ดทำความสะอาดของเด็ก

ไฟฉาย (LED จะดีมาก) และวิทยุแบบใส่ถ่านมากกว่า 1 เครื่อง

ถ่านไฟจำนวนมาก อย่างน้อยๆ 3 ชุดสำหรับไฟฉาย/วิทยุ แต่ละเครื่อง

น้ำยา Bleach (5.25% ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม และ สบู่)

แอลกอฮอล์ หรือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้ปวดท้อง ฯลฯ

ยาประจำตัวตามใบสั่งของแพทย์ ต้องเตรียมไว้จำนวนมาก

เครื่องมือปฐมพยาบาล

ถังดับเพลิง

หน้ากากกันฝุ่น จำนวนมาก

ชุดกันฝน สำหรับทุกคน จำนวนมาก

ที่กรองน้ำ และ อุปกรณ์ตั้งแค้มป์อื่นๆ เช่น เตาไฟ น้ำมัน ammo(?) เป็นต้น

พลาสติกที่ขายเป็นม้วนๆ, เทปกาว, staple guns, staples ฯลฯ

--------------------------------------------------------------------------------
รู้ไว้ดีกว่าไม่รู้ ไม่ประมาทดีที่สุด!
 แปลจากต้นฉบับที่ http://www.ki4u.com/guide.htm (บางช่วงที่ไม่ใช่เนื้อหาหลักๆ อาจข้ามไปบ้าง แต่ส่วนใหญ่แปลหมด)
 ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยน่ะคะ
 ถ้าหากตรงไหนเพื่อนสมาชิก อ่านแล้วมีข้อสงสัยหรือคิดว่าอาจมีความผิดพลาด หรือมีข้อแนะนำ-ความคิดเห็นใดๆ ก็ตาม รบกวนช่วยกันโพสขึ้นบนบอร์ดนี้นะคะ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์กับพวกเราทุกคน

*-*ขอขอบคุณคุณ Jasminine เป็นอย่างสูงครับที่ช่วยทำการแปลเป็นภาษาไทยมาให้อ่านกันครับ*-*




มาตรการเมื่อมีการฟุ้งกระจายของวัสดุกัมมันตรังสีจากเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์มายังประเทศไทย
 








สำนักงานฯได้มีการติดตั้งเครื่องวัด รังสีในอากาศทั่วประเทศ โดยติดตั้งที่กรุงเทพมหานคร ขอนแก่น เชียงใหม่ และสงขลา โดยการแจ้งเตือนจะเตือนเมื่อระดับรังสีสูงกว่า ๒๐๐ nSv/hr (Investigation level) โดยสำนักสนับสนุนกำกับดูแลความปลอดภัยจากพลังงานปรมาณูเมื่อมีการฟุ้งกระจาย และมีผลต่อสุขภาพของประชาชนในระดับรุนแรงนั้น สำนักงานจะมีการปฏิบัติโดยใช้แผนฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีแห่งชาติเป็น แนวทางในการปฏิบัติ ในการปฏิบัติเบื้องต้น จะมีการสุ่มตัวอย่างอาหารตามที่ต่างๆ ที่คาดว่าจะมีวัสดุกัมมันตรังสีตกลงและปนเปื้อน โดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงสำหรับการปนเปื้อนในอาหารซึ่งถ้าปนเปื้อน วัสดุกัมมันตรังสีที่แผ่รังสีแกมมา จะกำหนดไว้ตามตารางที่ ๑ เมื่อค่าที่ปนเปื้อนอาหาร และน้ำเกินระดับที่กำหนด จะมีการดำเนินการดังนี้๑. แนะนำให้ประชาชน ไม่ดื่ม หรือไม่รับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนวัสดุกัมมันตรังสีดังกล่าว
 ๒. ถ้าวัดระดับรังสีในอากาศได้มากกว่า ๑ ไมโครซีเวิร์ทต่อชั่วโมง ขึ้นไป ให้ประชาชนหลบอยู่ในที่พักอาศัย โดยปิดประตู หน้าต่างอย่างแน่นหนา และปิดระบบระบายอากาศ เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุกัมมันตรังสีที่อยู่ในอากาศเข้ามาในที่พักอาศัยได้
 ๓. รอรับการแจ้งจากหน่วยงานระงับเหตุฉุกเฉิน (จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบจากเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี และสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ) ว่าจะปฏิบัติตนอย่างไรต่อไป
 ๔. เมื่อระดับรังสีที่ประเมินได้ สูงจนเป็นอันตรายต่อประชาชน หรือ ๑ มิลลิซีเวิร์ท แนะนำให้ประชาชนอพยพออกนอกบริเวณ และไปอยู่ในบริเวณที่มีระดับรังสีไม่ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย
 ๕. เมื่อระดับรังสีที่ประเมินได้ อยู่ในระดับปกติ แจ้งเตือนให้ประชาชนมีระมัดระวังในเรื่องของการเปรอะเปื้อนทางรังสีที่พื้น ดิน อาคารบ้านเรือน
 ๖. การป้องกันเบื้องต้นสำหรับวัสดุกัมมันตรังสี I-131 เมื่อพบว่ามีการฟุ้งกระจายของวัสดุกัมมันตรังสี I-131 แจ้งให้ประชาชนรับประทาน โปแตสเซียมไอโอได ในทันที เพื่อลดการรับรังสีบีตา และแกมมาที่ต่อมไทรอยด์
 ๗. การป้องกันเบื้องต้นสำหรับวัสดุกัมมันตรังสี Cs-137 ให้รับประทาน Prussian Blue หลังจากที่ได้รับวัสดุกัมมันตรังสี Cs-137 นั้นเข้าสู่ร่างกาย (ตามคำแนะนำของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ)

ทั้งหมดนี้เป็นแนวปฏิบัติเบื้องต้นสำหรับประชาชนคนไทย ในกรณีที่มีการฟุ้งกระจายของวัสดุกัมมันตรังสี จากเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ดังกล่าวในปริมาณที่สูงจนอาจก่อให้เกิดอันตราย

นอกจากนี้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติยังมีการตรวจวัดอย่างต่อเนื่องเพื่อทำ ให้ ประชาชนคนไทยได้มั่นใจในความปลอดภัยทั้งจากนิวเคลียร์และรังสีที่มีผลต่อ สุขภาพร่างกาย

นิวไคลด์ อาหารที่ประชาชนทั่วไปรับประทานเป็นประจำ (กิโลเบคเคอเรลต่อกิโลกรัม) น้ำนม อาหารทารก และน้ำดื่ม (กิโลเบคเคอเรลต่อกิโลกรัม)


นิวไคลด์
อาหารที่ประชาชนทั่วไปรับประทานเป็นประจำ (กิโลเบคเคอเรลต่อกิโลกรัม)
น้ำนม อาหารทารก และน้ำดื่ม (กิโลเบคเคอเรลต่อกิโลกรัม)

Cs-134, Cs-137, Ru-103, Ru-106, Sr-89






I-131



๐.๑


Sr-90

๐.๑

๐.๑


Am-241, Pu-238, Pu-239, Pu-240, Pu-242

๐.๐๑

๐.๐๐๑

ตารางที่ ๑ แสดงระดับการปนเปื้อนทางรังสีที่ต้องมีการปฏิบัติการสำหรับอาหาร

โดย : กลุ่มเตรียมความพร้อมประสานงานกรณีฉุกเฉินทางรังสี สำนักกำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ


ดาวน์โหลด



รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามคะ @^__^@

Popularity: unranked [?]
.
Filed Under: จะทำอย่างไรถ้าภัยพิบัติจากนิวเคลียร์เกิดขึ้น • รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม


ทำความรู้จัก “โพแทสเซียมไอโอไดด์” กับอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์   http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000037683


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 มีนาคม 2554 16:36 น. Share  



 


       จากอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้น ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีออกสู่บรรยากาศภายนอก ประชาชนชาวญี่ปุ่นและอีกหลายประเทศเกิดความกังวลว่าจะได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย จึงมีการหาซื้อโพแทสเซียมไอโอไดด์มากินเพื่อป้องกันพิษจากไอโอดีนรังสี
      
       หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักกับโพแทสเซียมไอโอไดด์ “108 เคล็ดกิน” จึงอยากบอกต่อความรู้ที่ได้รับมาจาก กลุ่มงานด้านวิชาการ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้อง
      
       ก่อนอื่นจะต้องรู้ก่อนว่า ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ สารกัมมันตรังสีที่เกิดการรั่วไหลออกมานั้นจะมีอยู่หลายชนิด เช่น ไอโอดีน-131 ซีเซียม-137 ซีนอน-137 เป็นต้น ซึ่งจะเกิดอันตรายมากน้อยแค่ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับปริมาณที่รั่วไหลออกมา รวมถึงคุณสมบัติในการสลายตัวของสารแต่ละชนิดด้วย
      
       ในร่างกายของคนปกติ ต่อมไทรอยด์จะดูดซึมไอโอดีนไปสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ สำหรับ “โพแทสเซียมไอโอไดด์” ก็คือไอโอดีนที่อยู่ในรูปเกลือที่เสถียร (ไม่ใช่ไอโอดีนรังสีที่รั่วไหลออกมา) แต่ในกรณีของอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ เราจะหายใจเอาไอโอดีนรังสีเข้าไปสะสมที่ต่อมไทรอยด์อย่างรวดเร็ว และจะทำลายเซลล์ของต่อมไทรอยด์ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้
      
       แต่เนื่องจากต่อมไทรอยด์ไม่สามารถแยกได้ว่าอะไรคือไอโอดีนรังสี หรือไอโอดีนเสถียร และไอโอดีนทั้งสองชนิดสามารถดูดซึมได้อย่างรวดเร็วในต่อมไทรอยด์ ดังนั้น ในกรณีการเกิดอุบัติทางนิวเคลียร์ ถ้าได้กินไอโอดีนเสถียรที่อยู่ในรูปของโพแทสเซียมไอโอไดด์ในปริมาณที่เพียงพอก่อนที่จะได้รับไอโอดีนรังสี ต่อมไทยรอยด์ก็จะไม่จับไอโอดีนรังสีอีก เนื่องจากต่อมไทรอยด์มีความสามารถในการจับไอโอดีนได้ในปริมาณจำกัด จึงเป็นที่มาของการ ซื้อโพแทสเซียมไอโอไดด์มากินเพื่อป้องกันพิษจากไอโอดีนรังสี
      
       ในส่วนของคนไทยนั้นมีความจำเป็นหรือไม่ในการกินโพแทสเซียมไอโอไดด์ ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศแล้วว่าในตอนนี้ประเทศไทยยังไม่ได้รับผลกระทบ ทั้งจากการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีในอาหารและเครื่องดื่ม และจากรายงานการเฝ้าระวังระดับกัมมันตภาพรังสีทั่วประเทศ ของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ก็ยังไม่พบการแพร่กระจายของฝุ่นผงกัมมันตรังสีจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ดังนั้นจึงยังไม่จำเป็นที่จะต้องซื้อหาโพแทสเซียมไอโอไดด์มากิน
      
       แต่สำหรับผู้ที่จะเป็นจะต้องกินโพแทสเซียมไอโอไดด์ อย่างเช่น คนที่จะต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง จะต้องไปรับคำแนะนำอย่างถูกต้องจากแพทย์และเภสัชกร เนื่องจากเป็นยาชนิดเข้มข้น และอาจเกิดผลข้างเคียงจากการแพ้ยาได้ เช่น เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ร้อนในปากและลำคอ ปวดท้อง ท้องเสีย เป็นต้น ซึ่งหากว่ากินยาเกินขนาด หรือกินถี่กว่าที่ได้รับคำแนะนำ ก็ไม่ได้ช่วยให้ยาออกฤทธิ์ดีขึ้น แต่จะไปกระตุ้นอาการแพ้ให้รุนแรงมากขึ้น และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
      
       ข้อควรระวังอีกหนึ่งอย่างที่ควรรู้ คือ โพแทสเซียมไอโอไดด์ ไม่ควรใช้กับบุคคลที่มีอาการดังนี้ 1.ผู้ที่มีประวัติแพ้ไอโอดีน 2.เป็นโรคผิวหนังบางชนิด 3.ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ 4.ผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน นอกจากนี้ ผู้ที่มีความจำเป็นจะต้องได้รับโพแทสเซียมไอโอไดด์ จะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา



 ข่าวล่าสุด ในหมวด

 “ขนมคริสต์มาส” ขนมหวานวันรื่นเริง
 เก็บของให้กินได้นานในช่วงน้ำท่วม
 อาหารช่วยน้ำท่วม กินอย่างไรให้ปลอดภัย
 สารพันคุณค่า “กล้วยน้ำว้า” ของดีใกล้ตัว
 “ขนมไหว้พระจันทร์” ขนมแห่งความกลมเกลียว



ไอโอไดด์ การกินไอโอดีนป้องกันรังสี ผลดีและผลเสีย  http://www.thaihealth.net/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%9B/
By
admin
Published: March 21, 2011Posted in: feature, เนื้อหาสุขภาพTags: I 131, iodine, potassium iodide, โพแทสเซียมไอโอไดด์ หรือไอโอดีน, ไอโอไดด์ การกินไอโอดีนป้องกันรังสี ผลดีและผลเสีย
ประเด็นสุขภาพน่าสนใจในช่วงนี้ เห็นจะเป็นเรื่องของ ภัยจากกัมมันตภาพรังสี ที่หลายๆคนเป็นห่วงว่าจะมีการแพร่กระจายมาจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ และหลายท่านคงหาทางป้องกัน อย่างที่มีคนพูดกันมากคือการกินไอโอดีนเพื่อป้องกันต่อมไทรอยด์ เรามาดูเหตุผล ที่มาที่ไป การกินไอโอดีน และพิษของมัน นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ผู้อำนวยการ อภ.อธิบายถึงยาโพแทสเซียมไอโอไดด์ หรือไอโอดีน ว่า เป็นยาที่ผลิตขึ้นในสูตรเดียวกับที่ประเทศรัสเซียใช้ เมื่อเกิดการระเบิดของโรงไฟฟ้าปรมาณู ที่รัสเซีย โดยนักวิจัยพบว่า มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ จากรังสีไอโอดีน 131 (รังสีแกมมาและเบต้า) ได้ดี ดังนั้น จึงปกป้องประชาชนที่ได้รับสารกัมมันตรังสีได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจัดเป็นยาเฉพาะที่ผลิตมาเพื่อสถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้น การที่จะแจกจ่ายให้ประชาชนได้ก็ต้องได้รับการยืนยันก่อนว่า จำเป็นต้องใช้จริงๆ สำหรับวิธีรับประทาน โพแทสเซียมไอโอไดด์ หรือไอโอดีน คือ สามารถรับประทานได้ก่อนเข้าสู่พื้นที่เสี่ยง ที่มีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ก่อน 1-12 ชม.โดยฤทธิ์ของยาจะอยู่ได้นาน 24 ชม.เด็กอายุ 1 เดือนถึง 3 ปี รับประทานขนาด 32 มิลลิกรัม เด็กอายุ 3-18 ปี ทาน 65 มิลลิกรัม ส่วนผู้ใหญ่อายุมากกว่า 18 ปีแต่ไม่เกิน 40 ปี ทานในขนาด 130 มิลลิกรัม คือ ปริมาณ 1 เม็ดนั่นเอง สำหรับผู้ใหญ่วัยตั้งแต่ 40 ปี ขึ้นไปนั้นนับว่าเป็น กลุ่มที่อาจเสี่ยงต่อการแพ้ยาโพแทสเซียมไอโอไดด์ หรือไอโอดีน ดังกล่าวอย่างมาก ดังนั้น แนะนำว่า ถ้าไม่ได้เข้าไปในพื้นที่เสี่ยงมากของรัศมีการแพร่สารกัมมันตรังสีก็ไม่แนะนำให้ทาน เนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงจากยาชนิดนี้ ส่วนหญิงตั้งครรภ์ควรรับประทานขนาด 130 มิลลิกรัม ปริมาณแค่ 1 เม็ดครั้งเดียว

“ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น จากการแพ้ยา คือ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ร้อนในปากและลำคอ บางรายมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย หรือขั้นต่อมน้ำลายอักเสบ หรือมีน้ำตาไหลออกมา ซึ่งเป็นอาการของการแพ้ยา ดังนั้นแนะนำว่า หากเลี่ยงได้ไม่ควรจะเดินทางเข้าใกล้บริเวณที่มีสารกัมมันตรังสีเลยจะดีกว่า เพื่อที่จะได้ไม่ต้องใช้ยาดังกล่าว” นพ.วิทิต กล่าวแนะนำ
หลายคนมีข้อสงสัยว่า ยาโพแทสเซียมไอโอไดด์ นั้น เป็นยาชนิดเดียวกับยาไอโอดีนเม็ดที่ให้หญิงตั้งครรภ์ หรือเปล่า ความจริงข้อนี้ คือ เป็นชนิดที่เข้มข้นกว่าถึง 1,000 เท่า จึงไม่แปลกที่จะต้องมีการควบคุมพิเศษสำหรับการผลิตเพื่อใช้ในด้านสาธารณสุข
นพ.วิทิต บอกอีกว่า ข้อควรระวังเป็นพิเศษสำหรับการใช้ยาโพแทสเซียมไอโอไดด์ อีกประการที่ประชาชนต้องทราบ คือ ยาชนิดนี้ห้ามใช้ในคน 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ที่ใช้แพ้ไอโอดีน 2.ผู้ป่วยต่อมไทรอยด์มีพิษโดยกลุ่มนี้หาเป็นกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนรับยา 3.การจะกินยานี้ได้ ต้องไม่มีการกินยาชนิดอื่นที่มีไอโอดีนอยู่แล้ว และกลุ่มที่ 4 คือ ผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
ผู้อำนวยการ อภ.ฝากอีกว่า เหตุที่แพทย์และเภสัชกรมีข้อแนะนำดังกล่าก่อนการใช้ยา เนื่องจากยาชนิดนี้เป็นชนิดเข้มข้น ซึ่งประชาชนควรรู้ไว้ว่าหากกินยาเกินขนาดหรือมีความถี่กว่าข้อแนะนำในฉลากยา นั้นไม่ได้ช่วยให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีกว่าเดิมในการป้องกันการเกิดมะเร็งของต่อม ไทรอยด์ จากรังสีไอโอดีน 131 เลย หากแต่จะยิ่งทวีความรุนแรงต่อการกระตุ้นอาการแพ้ และเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

ยาสีฟัน

ยาสีฟัน
คลอรีน และฟลูออไรด์ มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายสารประกอบไอโอไดท์  ถ้ากินเข้าไปจะไปรบกวนระบบภูมิต้านทานในร่างกายให้เข้าใจว่ามี
ภูมิต้านทานเยอะและหยุดสร้างภูมิต้านทานได้
นอกจากนี้คลอรีนยังระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจได้
ถ้าใช้น้ำประปาแปรงฟันแนะนำให้หาโอ่งมารองน้ำทิ้งไว้ค้างคืนก่อนใช้ ถ้าจะให้ดีควรผ่านเครื่องกรองก่อน  หรือหาน้ำดื่มมาใช้แปรงฟัน
น้ำในภาคอีสานจะมีระดับฟลูออไรด์สูงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์  แต่ปรกติยาสีฟันทั่วไปจะมีการใช้ สารให้ความหวาน  
เซลลูโลส ที่มีสูตรเคมีที่น่าจะย่อยยาก (Cellulose เป็น molecarใหญ่ หนึ่งของGlucose    ซึ่งข้อเสียของGlucose คือ มันจะferment  ทำให้Bacteria 
Growth  ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด ฟันผุ ได้)  และฟลูออไรด์ คนที่เป็นเบาหวาน หรือกลัวจะเป็น ไม่ควรใช้ แต่ยาสีฟันเกือบทุกยี่ห้อมีการใช้
สารให้ความหวานเช่นSorbitol กันทั้งนั้น แต่บางยี่ห้อที่ราคาระดับเกือบร้อยขึ้นไปจะใช้  Xylitol เป็นสารให้ความหวานหลักที่จะลดการเกิด
แบดทีเรียไปได้มาก แต่ส่วนใหญ่ก็ยังเติม Sorbitol อยู่เพื่อใช้เป็นสารรักษาสภาพความเปียกชื้นรอง(ลดต้นทุน) แต่เขาว่ากันว่ายาสีฟันราคาถูก
ส่วนใหญ่จะใส่แป้งเพื่อลดต้นทุนด้วย ซึ่งจะทำให้เข้าไปจับกับไอโอดีนด้วย  อย่างไรก็ตาม อาจมีความเป็นไปได้ ที่ เซลลูโลส (ก็เป็นกลูโคส
สายยาวอีกแบบหนึ่ง)  ก็ทำตัวเหมือนน้ำแป้งได้  
 ถ้ากลัวของหวานเข้าปาก ทางที่ดีที่สุด คือ กิ่งข่อยกับเกลือ ที่เคยมีการใช้มาตั้งแต่โบราณกาล
ต้นข่อย ที่เป็นส่วนผสมในยาสีฟันสมุนไพร ดอกบัวคู่ (แต่ก็ยังมีการเติมสาร Sorbitol อยู่) ปรกติมีขึ้นมากในธรรมชาติของ ภาคอีสาน ที่มี
ฟลูออไรด์ในธรรมชาติอยู่เยอะ ถ้าเหยาะเกลือจากภาคอีสานสักหน่อยก็ไม่ต้องกลัวการขาดฟลูออไรด์  แต่เกลือในภาคอีสานที่น่าจะปลอดภัยที่
สุดคือเกลือแถบมหาสารคาม ที่ไม่มีหินภูเขาไฟ หรือการตั้งฐานทัพของสหรัฐที่เสี่ยงต่อ สปอร์ของแอนแทรกซ์ ที่คาดว่ากระจายไปทั่วประเทศ
แล้วจากระบบการค้าและปนเปื้อนไปกับ เกลือ หนังวัว และข้าว
ด้วยระบบส่งบำรุงกำลังของสหรัฐ คาดว่าจะมีการนำเข้าเนื้อวัวเข้ามาด้วย ฐานทัพของทหารสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย 8 แห่ง คือ สนามบิน
ดอนเมือง (กรุงเทพฯ)  อู่ตะเภา (ชลบุรี)  ตาคลี (นครสวรรค์) นครราชสีมา, อุบลราชธานี, โนนสูง (อุดรธานี) น้ำพอง (ขอนแก่น)  และ
นครพนม     .ถึง พ . ศ . 2516จึงมีฐานทัพอเมริกาในไทยถึง 12 แห่ง คือ ที่อู่ตะเภา ตาคลี อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม น้ำพอง สัตหีบ ลพบุรี
เขื่อนน้ำพุง โคราช และ กาญจนบุรี โดยมีศูนย์บัญชาการใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ มีเครื่องบินสหรัฐประจำในไทยถึง 550 ลำ เพื่อใช้ในการทิ้ง
ระเบิดในลาว เขมร และเวียดนาม 
 ดังนั้นพื้นที่ที่เหมาะแก่การเลี้ยงวัว และปลูกข้าว กล้อง อินทรีย์ชีวภาพ น่าจะเป็น ลุ่มน้ำเสียว  ที่น่าจะยังเป็นแหล่งที่ระบบการค้า
ของทั้งสามสิ่งยังไปไม่ถึง เคยมีข่าวเรื่องเชื้อแอนแทร็กซ์อยู่ครั้งสองครั้ง แล้วก็เงียบไป  ในบางประเทศถึงกับมีการเดินขบวนต่อต้านการ
อนุญาตให้นำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐเลยทีเดียว คนในสหรัฐส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ตระหนักถึงภัยจากโรคนี้ ถูกเบี่ยงเบนปิดหูปิดตา เนื่องจากเป็นเชื้อ
โรคฝังตัวเป็นเวลานับสิบปีที่จะไม่มีอาการ ฆ่าเชื้อด้วยความร้อนก็ไม่ได้  อาการเป็นโรคก็ไม่ชัดเจนในการตรวจหาก็ยาก
เวลารับประทานยาสมุนไพร ควรเลือกสมุนไพรที่ผ่านรังสีแกมม่าแล้ว  (แหลมทองการแพทย์)
น้ำยาบ้วนปากส่วนใหญ่จะทำปฏิกิริยากับคลอรีน เกิดก๊าซที่ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ  ควรนำน้ำที่ปลอดคลอรีนมาเจือจางก่อนใช้
น้ำดื่ม RO ควรรับประทานหลังอาหารทันที แต่ถ้าท่านกลัวภาวะการดูดซึมแร่ธาตุออกจากร่างกายให้ใส่เกลือสักห้าหกเกล็ด หรือหนึ่งหยิบมือ
ต่อถัง
น้ำดื่ม  ในขวดแก้วมียี่ห้อ ช้าง   กับ  คริสตัล (  RO   NSF )            และ สิงห์ ที่หลังต้มให้แห้งจะมีคราบเหนียวเล็กน้อย        ต้องสั่งจากรถส่ง
แบบยกลัง จึงจะมีการส่งให้

ยาสีฟันกับทิงเจอไอโอดีน  http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=3432
ผมได้ชมการสาธิตสินค้าของบริษัทขายตรงยี่ห้อ Amway โดยการแสดงคุณสมบัติเชิงเปรียบเทียบกับยาสีฟันยี่ห้ออื่น
พนักงานขาย ได้นำเอา ยาสีฟัน Colgate มาใส่แก้วแล้วผสมน้ำ หลังจากนั้น ก็อธิบายคุณสมบัติของทิงเจอไอโอดีน ในสมัยที่คุณครูเคยสอน
สมัยมัธยม ว่ามันมีไว้ทดสอบแป้ง ถ้าเจอกับแป้งจะเปลี่ยนสี หลังจากนั้น พนักงานขายก็หยดทิงเจอไอโอดีนลงไปในยาสีฟัน colgate ที่ผสมเจือ
จางกับน้ำ  และแล้วมันก็เปลี่ยนสี
พนักงานอ้างว่า ยาสีฟัน Colgate ที่เราใช้กันทุกวันนั้น มีส่วนผสมของแป้ง ในการลดต้นทุนของผู้ผลิต
ผมไม่คิดว่าทางบริษัท Colgate จะนำแป้งมาผสม และถ้าทำแบบนั้น คงจะไม่ผ่าน อย. เป็นอย่างแน่นอน ขอเชิญผู้ที่มีความรุ้ทางเคมี มาช่วย
อธิบายการเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีตามที่ผมเล่าให้ฟังหน่อยครับ  เพราะยังมีอีกหลายคนนัก ที่ถูกพนักงาน Amway หลอกโดยการสาธิต
สินค้าแบบโกหก
และยังมีการสาธิตสินค้าอีกมากมายหลายตัว ที่ผมต้องการคำอธิบาย ท่านผู้มีความรู้ ที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคมจากการเอาเปรียบจากผู้ขายสินค้า
ช่วยทิ้งเมลไว้ให้ผมหน่อยครับ ผมจะถามเรื่องการสาธิตสินค้าตัวอื่นๆ
โดย:  กัน   [5 ต.ค. 2553 20:42] 
สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก:  เมนูนานาสาระ และหมวด การวิเคราะห์ ทดสอบ  /  อื่น ๆ 


 
ข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจะแสดงในกรอบสีเขียว ส่วนข้อคิดเห็นหรือความเห็นจากผู้อื่นจะแสดงในกรอบปกติ



 
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :
เป็นการตั้งข้อสงสัยที่ดีค่ะ เรามักจะพบเทคนิคการโฆษณาแปลกๆที่ดูน่าเชื่อถือ ส่วนผสมของยาสีฟันพื้นๆไม่น่าจะต่างกันมาก ไม่ว่ายี่ห้อไหน
ประสิทธิภาพก็คงไม่ต่างกันสักเท่าใดนัก กรณีนี้เอาทิงเจอไอโอดีนมาทดสอบให้ดู เราเคยเรียนว่าใช้สารละลายไอโอดีนทดสอบแป้ง ไม่ทราบ
ว่าแล้วมันไปลดประสิทธิภาพการแปรงฟันหรืออย่างไร มีคนถามเข้ามาเรื่องน้ำยาซักล้างเหมือนกัน ว่าเขามีเทคนิคการสาธิตให้ดู แต่พอเอาไป
ทดลองเทียบเอง ก็ดูไม่แตกต่าง ถ้าคุณมีประสบการณ์อื่น ช่วยเล่ามาด้วยค่ะ
โดย:  สุชาตา ชินะจิตร  [6 ต.ค. 2553 11:53] 

 
ข้อคิดเห็นที่ 1:
ยาสีฟัน  ( Toothpaste )       
ยาสีฟัน  คือ  ผลิตภัณฑ์ สำหรับ ทำความสะอาดฟัน โดยใช้ร่วมกับแปรงสีฟัน  ส่วนใหญ่เป็นครีมเหลวหรือเจลที่บรรจุในหลอด และใช้วิธีการ
บีบออกมาจากหลอดใส่แปรงสีฟัน เพื่อนำไปแปรงฟัน 
ส่วนประกอบของยาสีฟัน 
ผงขัด  ( Abrasive )  [ เช่น  Calcium carbonate ,  Calcium monohydrogenphosphate ,  Calcium monohydrogenphosphate dihydrate , 
Tetrasodium pyrophosphate ,  Hydrated Silica  ,  Mica ] 
สารประกอบที่ให้ฟลูออไรด์ เพื่อช่วยป้องกันฟันผุ  [ เช่น  Sodium monofluorophosphate ,  Sodium fluoride ,  Stannous fluoride ]
สารรักษาสภาพความเปียกชื้น  ( Humectants )    [ เช่น  Glycerol ,  Propylene glycol ,  Polyethylene glycol ,  Sorbitol ] 
สารลดแรงตึงผิว ที่มีประจุลบ ( Anionic Surfactant )   [ เช่น  Sodium Lauryl Sulfate  ( SLS ) ]  หรือ  สารลดแรงตึงผิว ที่ไม่มีประจุ ( Nonionic
Surfactant )  
สารแต่งกลิ่นรส  ( Flavors )  [ เช่น  กลิ่นรส  Mint ,  Peppermint ,  Spearmint ,  Anise ,  Apricot ,  Banana ,  Bubblegum ,  Cherry ,  Cinnamon , 
Fennel ,  Ginger ,  Lavender ,  Lemon ,  Orange ,  Pine ,  Pineapple ,  Strawberry ,  Raspberry ,  Vanilla ] 
ส่วนประกอบ / สารปรับปรุงคุณสมบัติ อื่นๆ  ( Other Ingredients / Additives )   
สารให้รสหวาน  ( Sweeteners )  [ เช่น  Sorbitol ,  Xylitol ,  Sodium Saccharin ] 
สารช่วยเพิ่มความหนืดและสภาพครีม-เจล   [ เช่น  Sodium Carboxymethylcellulose ,  Gum ] 
สารลดการเสียวฟัน  [ เช่น  Potassium nitrate ,  Strontium chloride ]
สารช่วยซ่อมแซมเคลือบฟันและเนื้อฟัน  [ เช่น  Synthetic Hydroxyapatite Nanocrystal ,  Calcium diphosphate ] 
สารต่อต้านแบคทีเรีย  ( Antibacterial )  [ เช่น  Triclosan ,  Zinc chloride ] 

ยาสีฟันสูตรสมุนไพร  ใช้สารสกัดจากพืชกลุ่มสมุนไพร  ( Herbal Extract )  [ เช่น  สารสกัด จาก Myrrh , Chamomile ,  Clove ,  Echinasea , 
Ginger ,  Sage ,  Rhatany ,  Thyme  และ  Peppermint  Oil ,  Tea Tree Oil ,  Eucalyptus Oil ,  Coriander Oil ]  แทนการใช้สารแต่งกลิ่นรส
สังเคราะห์  และมักจะไม่มีการใช้ Sodium Lauryl Sulfate  และ สารประกอบฟลูออไรด์ หรือ สารเคมีอื่นๆที่ไม่ใช่สารจากธรรมชาติ 
  
ยาสีฟันสูตรสำหรับเด็ก ( ซึ่งอาจจะกลืนกินยาสีฟันเข้าไป ) มักจะหลีกเลี่ยงการใช้ Sodium Lauryl Sulfate  และ สารเคมีอื่นๆที่เป็นอันตรายต่อ
เด็กเมื่อกลืนกิน  ( โดยหาสารอื่นมาทดแทน )  รวมทั้งจะปรับลดปริมาณสารประกอบฟลูออไรด์ในสูตร ให้เหมาะสมกับเด็กเล็ก ( หรือไม่ใช้เลย )
ยาสีฟันสูตรที่เลือกใช้ สาร Abrasive และ Humectants บางสูตร จะมีลักษณะพิเศษ    เช่น  ยาสีฟัน ที่ใช้ Hydrated Silica ร่วมกับ Sorbitol   จะมี
ลักษณะเป็นเจลโปร่งแสง   ;   ยาสีฟัน ที่ใช้ Mica  ( เป็น Abrasive )  ร่วมกับ Sorbitol   จะมีลักษณะเป็นเจลที่มีมุกสะท้อนแสง       
ยาสีฟัน ที่บีบออกจากหลอดมาเป็น ครีม-เจลที่มีริ้วสองสี  เป็นยาสีฟันที่มีเนื้อยาสีฟันสองส่วน ซึ่งมีสีต่างกัน และบรรจุในหลอดยาสีฟันเดียว
กันโดยไม่ผสมกัน ( เนื่องจากมีความหนืดสูง )  ที่ปากหลอดยาสีฟันจะมีรูปแบบเฉพาะ ซึ่งทำให้เนื้อยาสีฟันทั้งสองสีถูกบีบออกมาพร้อมกันได้
และเกิดลักษณะริ้วสองสี         

http://www.chemtrack.org/EnvForKids/content.asp?ID=74        ยาสีฟัน    ( Toothpaste )       
http://www.chemtrack.org/EnvForKids/column.asp?ColumnID=3        ขบวนการโลกแสนสวย    -    ฉลาดใช้ผลิตภัณฑ์       
http://www.chemtrack.org/EnvForKids/home.asp        ขบวนการโลกแสนสวย       

สารที่เป็นส่วนประกอบ หรือ สารเพิ่มคุณสมบัติ   ที่แสดงไว้ข้างต้น  ไม่มีสารใดที่เป็น  แป้ง  ตามนิยามทางวิทยาศาสตร์    แต่  มีสารหลายชนิด
ในกลุ่มนี้ ที่สามารถ เปลี่ยนสีสารละลายไอโอดีน       
สำหรับ ยาสีฟันคอลเกต  ส่วนประกอบที่น่าจะเปลี่ยนสีสารละลายไอโอดีนได้  คือ  Cellulose Gum  ซึ่ง ไม่ใช่แป้ง  และ ไม่ได้เติมหรือผสมลง
ไปเพื่อลดต้นทุน    นอกจากนี้ ยังมีส่วนประกอบอื่น ที่สามารถเปลี่ยนสีหรือฟอกสีสารละลายไอโอดีนได้    ดังนั้น  การ สาธิต-ทดสอบ ด้วยสาร
ละลายไอโอดีน ไม่ใช่ วิธีการที่บ่งบอกถึงคุณภาพของยาสีฟัน    ( หรือ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ )
โดย:  นักเคมี  [7 ต.ค. 2553 16:37] 

 
ข้อคิดเห็นที่ 2:
อยากให้คุณนักเคมี ช่วยวิเคราห์ ยาสีฟันสไมล์ออนของซูเลียนให้หน่อยค่ะ                เพราะวิธีสาธิตก็เหมือนกับแอมเวย์เลย
โดย:  อยากรู้  [11 ต.ค. 2553 17:10] 

 
ข้อคิดเห็นที่ 3:
ยาสีฟัน Colgate ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากประเทศไทย และไม่ใช่สินค้าระดับ world class ดังนั้นเมื่อไม่ใช่สินค้าระดับ world class คุณภาพสินค้า
ในแต่ละประเทศจึงแตกต่างกัน ดังนั้น Colgate ในไทยจึงใส่แป้งเพื่อลดต้นทุนจึงไม่ใช่เรื่องแปลก
โดย:  ohmmy  [12 ธ.ค. 2553 22:11] 

 
ข้อคิดเห็นที่ 4:
ตลกค่า... ใส่แป้ง... แล้วไม่คิดบ้างหรือค๊ะว่า  ก่วยเตี๋ยวราดหน้าใส่แป้ง  หรือ หอยทอดใส่แป้ง   เมื่อแป้งเจอกันน้ำ จะเป็นอย่างไร ?... ผลิตภัณฑ์
พวกนี้ คงตัวไหมค๊ะ เมื่อตั้งทิ้งไว้ จะไม่เหลว หรือเน่าค๊ะ ?  (ประชดค่า)          
หากแม้จะใส่ แป้ง ก็ไม่ได้ช่วยทำหน้าที่อะไร ในส่วนผสมนะค๊ะ        แถม จะถ้าจะใส่ ก็คงใส่ได้น้อยนิดค่า  เพราะว่าส่วนผสมอื่นๆ ก็เยอะแยะ
จนหนืดไปหมด แล้วค่า        
พวกขายตรงบางราย ชอบหลอกลวง ^^
ลองดูสูตรลิขสิทธิ์ ของบริษัทฯ ชั้นนำบางราย สิค๊ะ 
Water  30  
Sorbitol  6  
Saccharin  0.1   
Calcium pyrophosphate  40  
Glycerine  20  
Sodium alkyl (coconut) sulfate  0.5  
Sodium coconut monoglyceride sulfonate 0.8  
Sodium carboxymethyl cellulose  1.2  
Magnesium aluminum silicates  0.5  
Flavoring  0.9  
Ethylene diamine tetra(methylene phosphonic acid)  1.50  
แค่นี้ ก็ ของผสม หนืด ไปหมดแล้วค่า...  ^^
โดย:  น้ำใจ  [13 ธ.ค. 2553 13:44] 

 
ข้อคิดเห็นที่ 5:
โทดนะครับ  cellulose เป็น molecarใหญ่ หนึ่งของglucose ครับ   ซึ่งข้อเสียของglucose คือ มันจะferment  ทำให้bacteria  growth  ซึ่งเป็น
สาเหตุที่ทำให้เกิด ฟันผุ   ได้ 
โดย:  นายเเพทย์  [14 ธ.ค. 2553 23:28] 

 
ข้อคิดเห็นที่ 6:
จัดให้  ตาม  คำขอ  ของ  " กัน "  และ  " อยากรู้ "       
ส่วนผสม  ( Ingredients )  ของ    ยาสีฟัน  คอลเกต  ( รสยอดนิยม  -  ลิควิดแคลเซียม )  ของ  คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ        ( ตามที่แสดงไว้ที่กล่องยา
สีฟัน )       
Dicalcium Phosphate Dihydrate  ,    Water  ,    Sorbitol  ,    Sodium Lauryl Sulfate  ,    Flavor  ,    Sodium monofluorophosphate  ,    Cellulose
Gum  ,    Tetrasodium pyrophosphate  ,    Sodium Saccharin  
ส่วนผสม  ( Ingredients )  ของ    ยาสีฟัน  สไมล์ออน  ของ  ซูเลียน        ( ตามที่แสดงไว้ที่กล่องยาสีฟัน )       
Dicalcium Phosphate Dihydrate  ,    Sorbitol  ,    Purified Water  ,    Glycerine  ,    Sodium Lauryl Sulfate  ,    Xanthan Gum  ,    Flavour  ,   
Sodium Monofluorophosphate  ,    Sodium Benzoate  ,    Sodium Saccharin  ,    Tetrasodium pyrophosphate  ,    Aloe Vera Gel      

ความแตกต่าง  ( เพียง เล็กๆ น้อยๆ )    ระหว่าง    ยาสีฟัน  คอลเกต  ( รสยอดนิยม )    และ    ยาสีฟัน  สไมล์ออน  ของ  ซูเลียน       
ยาสีฟัน  คอลเกต  ใช้  Sorbitol  เป็น สารช่วยรักษาสภาพความเปียกชื้น                ยาสีฟัน  สไมล์ออน  ใช้ ทั้ง  Sorbitol  และ  Glycerine 
ยาสีฟัน  คอลเกต  ใช้  Water                ยาสีฟัน  สไมล์ออน  ใช้ Putified Water       
ยาสีฟัน  คอลเกต  ใช้  Cellulose Gum        ยาสีฟัน  สไมล์ออน  ใช้  Xanthan Gum       
Ingredient  อื่นๆ  ที่  ไม่มี ใน  ยาสีฟัน  คอลเกต    แต่  มี  ใน  ยาสีฟัน  สไมล์ออน     คือ    Sodium Benzoate  และ  Aloe Vera Gel       

ลอง เปรียบเทียบ  ราคา และ ปริมาณ  ของ    ยาสีฟัน  ทั้ง สอง  ดูกันเอง        และ        ควร    ลอง  ไปหา  ยาสีฟัน แอมเวย์  มา ลอง เปรียบเทียบ 
Ingredients , ราคา และ ปริมาณ  กับ  ยาสีฟัน  ทั้งสอง ด้วย       
ผม  จะ  ไม่ชี้นำ  ว่า  เป็นอย่างไร    ขอให้ คิด และ สรุป  ด้วยตนเอง        ( การที่ใครจะเลือกใช้ ยาสีฟัน หรือ ผลิตภัณฑ์อื่นใด  ด้วย  เหตุผล /
ความพึงพอใจ / ความเชื่อ / ความศรัทธา / ความเข้าใจถูก - ความเข้าใจผิด        เป็น สิทธิส่วนบุคคล   ตราบใดที่ไม่ ละเมิดสิทธิผู้อื่น ไม่ขัดต่อ
กฎหมาย-ศีลธรรม ฯลฯ    สิทธินั้นก็จะคงอยู่ต่อไป )
โดย:  นักเคมี  [30 ธ.ค. 2553 01:37] 

 
ข้อคิดเห็นที่ 7:
Amway  Toothpaste   
" Glister "  Multi - Action  Fluoride  Toothpaste   
http://www.goodguide.com/products/283075-glister-multi-action-fluoride-toothpaste       
Ingredients 
Sodium Fluoride                [ Active Ingredient    -    Source of Fluoride ]       
Sorbitol                [ Humectant    &    Sweetener ]       
Water       
Silica ,  Hydrate                [ ( Hydrated Silica )    -    Abrasive ]
Glycerin                [ ( Glycerol )    -    Humectant ]       
Propylene Glycol                [ Humectant ]       
Sodium Lauryl Sulfate                [ Anionic Surfactant ]       
Xylitol                [ Sweetener ]       
Carboxymethyl Cellulose                [ Gel Former  /  Viscosity Modifier ]       
PEG 8                [ ( Polyethyleneglycol )    -    Humectant ]       
Flavor               
Titanium Dioxide                [  ? ?  ]   
Xanthan Gum                [ Gel Former  /  Viscosity Modifer ]       
Saccharin Sodium        [ ( Sodium Saccharin )    -        Sweetener ]         
Methyl Paraben                [ Preservative ]       
Propyl Paraben                [ Preservative ]       
FD&C Blue 1                [ Colorant ]       

โดย:  นักเคมี  [30 ธ.ค. 2553 09:25] 

 
ข้อคิดเห็นที่ 8:
เป็นกระทู้ที่ดีนะครับแต่สว่นใหญ่คุณภาพแต่ละยี่ห้อเงื่อนไขราคาสินค้าผมว่าอยู่ที่ความพึงพอใจของผู้ใช้มากกว่าครับ
โดย:  สุพจน์  [4 ก.พ. 2554 16:45] 

 
ข้อคิดเห็นที่ 9:
แป้ง ทำให้ฟันผุ แล้วก็มีกลิ่นปากด้วยค่ะ
คต. 4  "คะ"  ไม่ใช่  "ค๊ะ"  นะคะ ^ ^
โดย:  ME  [11 ก.พ. 2554 22:42] 

 
ข้อคิดเห็นที่ 10:
คุณนักเคมี ช่วยอธิบายโดยละเอียดและชัดเจนด้วยว่า จริงหรือไม่กับการเปลี่ยนสีของเซลล์ลูโลส เอาชัดๆ  และช่วยกรุณาตรวจสอบหาแป้งใน
ยาสีฟัน  เพราะมันมีโครงสร้างทางเคมีอยู่แล้วในสารประกอบแต่ละตัว  จะได้กระจ่างกันถ้าจะยืนยันในความเป็นจริง   ถ้าใครมีข้อสงสัยให้นำ
ไปถามผู้จริงๆ ระดับ ดร.  หรือนำไปตวรจสอบทางเคมีด้วยตนเองนะ  อย่าพูดลอยๆ  ทุกสิ่งที่ทำการสาธิตต้องพิสูจน์เองว่าจริงหรือไม่
โดย:  คนเคยใช้  [21 ก.พ. 2554 14:26] 

 
ข้อคิดเห็นที่ 11:
ข้าพเจ้า  ( ซึ่งใช้ ชื่อ  " นักเคมี " ในการตอบคำถาม และ แสดง ความคิดเห็น ใน เว็บไซต์นี้ )  ขอชี้แจง เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด ดังนี้         
ข้าพเจ้า  ไม่เคยนำ  ยาสีฟัน  คอลเกต  /  ยาสีฟัน สไมล์ออน  /  ยาสีฟัน Glister    มา วิเคราะห์ เพื่อหา องค์ประกอบ - ส่วนผสม - สูตรการผลิต    (
และ ไม่เคยนำ ยาสีฟัน อื่นๆ มาวิเคราะห์ ด้วย )    ข้อมูล เรื่อง Ingredients ของ  ยาสีฟัน ทั้งสาม  ที่นำมาตอบนั้น  เป็นการนำมาจาก ฉลาก -
เอกสารกำกับ  ของ  ยาสีฟัน ทั้งสาม นั้นเอง  ( หมายความว่า  เป็น ข้อมูล ที่ ผู้ผลิต เผยแพร่ ต่อ ผู้บริโภค )       
ข้าพเจ้า  เคยใช้   ยาสีฟัน  คอลเกต  /  ยาสีฟัน สไมล์ออน  /  ยาสีฟัน Glister    แล้ว    และ  ไม่ได้ มี ข้อสงสัย ในด้าน คุณภาพ  ของ ยาสีฟัน เหล่านี้
      
ข้าพเจ้า  ไม่เคยทดสอบ  และ  ไม่เคยสงสัย  ว่า  ยาสีฟันเหล่านี้  มี แป้ง  หรือ  ไม่มี แป้ง    ( ไม่ว่า  แป้ง  จะ หมายถึง อะไร ก็ตาม )       
สิ่งที่ ข้าพเจ้า รังเกียจ  คือ  การกล่าวหา  หรือ  การให้ร้าย  สินค้า ของ คู่แข่ง  ( ทั้ง  ด้วย  วาจา  หรือ  การสาธิต ที่ ผู้ชม ไม่มี ความรู้ พอที่จะ เข้าใจ
ข้อเท็จจริง )       
ข้าพเจ้า  ใช้ ชื่อ  นักเคมี  เพราะ เรียน หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต  ( เคมี )  และ  เคย ทำงาน  ใน ตำแหน่ง  นักเคมี    /    นักวิทยาศาสตร์ - เคมี   
จริงๆ       
ข้าพเจ้า  ไม่ใช่  ระดับ  ดร.    ( ไม่เคยผ่านการศึกษา ถึง ระดับนั้น  และ ไม่เคยมี มหาวิทยาลัย ให้ ปริญญา ระดับนั้น )       
บางครั้ง  ข้าพเจ้า  จะ  โต้ตอบ  -  ตอบโต้    คำพูดปากเปล่า  ด้วย  คำพูดปากเปล่า  ( โดยไม่นำหลักฐานมาพิสูจน์ )       
ข้าพเจ้า  ไม่นิยม  ความคิด ประเภท  ((  ข้าพเจ้า รู้ดี รู้จริง  กว่าใครๆ     ถ้าใครคิดต่างจากข้าพเจ้า - แปลว่า ไม่ถูกต้อง  ))       
ข้าพเจ้า ไม่คิด  ชักจูง  โน้มน้าว  บังคับ  ข่มขู่    ให้  เชื่อ ตาม คำตอบ - ความคิดเห็น  ของ ข้าพเจ้า
โดย:  นักเคมี  [21 ก.พ. 2554 20:09] 

 
ข้อคิดเห็นที่ 12:
ผมว่านะครับ ไม่มีสินค้าตัวไหนจะอยู่ข้างผู้บริโภค 100% หลอกครับ
เพราะ มันอยู่ในเรื่องของผลกำไรทั้งนั้น
แล้วสินค้าไม่ใช่คนผิด คนผิดคือคนที่เสนอโดยทางที่ผิดๆบิดเบือนความจริง
สินค้าบางตัวมันดีจริงๆสมกับราคา
เราพอใจในสินค้าก็พอแล้วครับ
ไม่มีใครรู้ดีเท่ากับตัวเราว่าอะไรดีกว่ากัน ถามคนอื่นก็คงตอบกันต่างๆนาๆ
เพราะแต่ละคนก็อาจจะยังไม่เคยลองใช้ยาสีฟันครบทุกยี่ห้อ
ถูกไหมครับที่ผม บ่นไป
ดังนั้นถ้าเราอยากรู้ว่าอันไหนดักว่ากันจริงหรือไม่จริงก็ต้องลองด้วยตัวเองครับ
(ขอฝากนิดหนึ่งนะ ไม่มีบริษัทไหนที่เขาผสมแป้งละออกมาเขียนในสูตรยาสีฟันบอกหรอกครับ)
ผมใช้ตัวเองพิสูจน์สินค้า (ด้วยความพอใจ)
ขอให้คิดถึงเรื่อง การค้า เศรษฐศาสตร์ ผลกำไร เอาไว้เลย ไม่มีใครขายของไม่อยากได้กำไรหรอกครับ
โดย:  แวะมาเห็น  [8 มี.ค. 2554 14:23] 

 
ข้อคิดเห็นที่ 13:
แป้งที่ว่า form complex กับสารละลายไอโอดีนได้ต้องเป็น แป้งที่เป็น amylose นะครับเพราะโครงสร้างทางเคมีของ amylose จะเป็นเกลียว
และที่ที่ว่างพอจะให้ไอโอดีนเข้าไปแทรกอยู่และเกิดการดูดกลืนแสงช่วง visible ไม่ใช่ carbohydrate ในรูป cellulose ครับ cellulose ไม่ใช่แป้ง
นะครับอย่าเข้าใจผิด และที่สำคัญ ถ้าผู้ผลิตยาสีฟันใส่แป้งลงไปลดต้นทุนการผลิตแล้วมันผิดตรงไหน ราคายาสีฟัน colgate เท่าไหร่และของ
amway เท่าไหร่ เทียบกันได้หรอครับ
ปล.รบกวนของถามคุณ นายแพทย์ว่า ร่างกายมนุษย์ย่อย cellulose ได้ด้วยกระบวนการ fermentation ของแบคทีเรียที่บริเวณปากหรือลำไส้ใหญ่
ครับ ถ้าคำตอบคือที่ปากรบกวนบอกผมหน่อยว่าแบคทีเรียตัวไหนสายพันธุ์อะไร
โดย:  นักเคมีคนหนึ่ง  [24 มี.ค. 2554 16:00] 

 
ข้อคิดเห็นที่ 14:
โอ้แม่เจ้า จากสกุลพระเจ้าเหาค๊ะ  ^^   (ขออภัยหากภาษาจะเพี๊ยนไปนิดน้าค้า...เพื่อความน่ารักค่า).... กำลังหาข้อมูล สารเคมีในกูเกิ้ล  แต่บังเอิญ
ขึ้นลิงค์นี้ ก็เรยเข้ามาดู... ตกใจมากเจ้าค่า...  ไม่นึกว่า จะมีคนมาอ่านมาตอบ.... กรี๊ดๆๆ ค่า
เค้าจบการศึกษาชีวเคมี... ทำงานบริษัทชีวภัณฑ์   ต่อมาอยากมีธุรกิจของตนเอง... เลยไป หาอ่านหนังสือ คอสเมติกส์ นะเจ้าค้า ... ปัจจุบันนี้ ชอบ
ลองผสมคอสเมติกส์เอง...  และเพิ่งเรียนจบด้านบริหารธุรกิจ  โดยเฉพาะสาขาการตลาด... เคยทำงานติดต่อ งานราชการ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขาย
ได้ในไทย และทำโฆษณามาด้วยเจ้าค่า ...
เค้ารู้ทันผู้ผลิตค่า... เพราะว่า เค้าเป็นนักการตลาด และแบรนด์เชิงกลยุทธ์ รวมทั้งชอบในงาน R&D  ที่คาดหวังจะผลิตสินค้าที่ดี และปลอดภัย...
เค้า ไม่ชอบ  บริษัทฯ ไม่ว่าจะรายใดก็ตาม ที่รวยแล้ว แต่ยังคงผลิตสินค้าแย่ๆ ออกมา  แล้วยิ่งมาทำภาพลักษณ์ โฆษณาเบี่ยงประเด็น หรือหลอก
ประชาชนเกินไป...(ขึ้นอยู่กับระดับ การยอมรับของส่วนตัว ของใครของมันน้าค้า) 
เค้าถือว่า ดำเนินธุรกิจ ควรมีความสุจริตใจ และมีศีลธรรมที่ดีในการผลิตสินค้า หรือ การพูดโฆษณาในความจริงให้มากพอควร 
เค้าชอบ หา patent มาอ่าน ผลงานการผลิตสินค้าสู่ผู้บริโภค เสมอๆ ... 
etc...
-----------------------------
เท่าที่เค้าจำได้... สูตรที่เค้าเอามาลง ก็เป็นสูตรของ ยาสีฟันของบริษัทรายหนึ่ง... ลองเอาไป copy-paste ในกูเกิ้ลเอาเอานะค้า
เท่าที่จำได้....(ผ่านมา 10 กว่าปีแล้ว)  แน่นอนว่า Cellulose ย่อยสลายยากมาก....  ยิ่งมีปัจจัยในเรื่องของพันธะของหมู่แคมี ที่ดัดแปลง (เช่น ดีด
แปลงด้วยการเติมหมู่เมธิล หรือ คาร์บ๊อกซิล  ก็ยิ่งอาจทำให้แบคทีเรียย่อยได้ยากยิ่ง... ยังไม่นับปัจจัยว่า สถานที่ที่แบคทีเรียอยู่ในร่างกายมนุษย์
อีกน๊ะ... เค้าคิดว่ายากพอควรเรย..ที่แบคทีเรียย่อย cellulose จะอยู่ในปากหรือลำไส้ของคน ....ตัวอย่าง cellulose คือ ใยผัก หรือ ทิชชู ก็กลายเป็น
กากอุนจิ... (เซลลูโลสในโลกนี้ น่าจะเยอะมาก มีหลายแบบ) ...ส่วนเซลลูโลสดัดแปลงแบบอื่นๆ  ก็ เช่น น่าจะ Cellephane กระดาษแก้ว  ...
CMC หรือ คาร์บอกซีเมธิลเซลลูโลส  มีหลายเบอร์... บางเบอร์ ใส่ในไอศกรีม เพื่อเพิ่มความหนืด และเนื้อของไอศครีม....  บางเบอร์ ใส่ในน้ำ
ดื่มบางชนิด หรือแม้แต่ ใส่ใน สินค้าคอสเมติกส์.... ช่วยหล่อลื่น ได้ด้วยในสินค้าบางตัว เมื่ออดีต....ฮิ  ฮิ 
ใช่...ที่ว่า เซลลูโลส ประกอบขึ้นมาจากหน่วยเล็กๆ ที่เรียกว่า น้ำตาลกลูโคส ..แต่ว่า เซลลูโลส เกิดจาน้ำตาลกลูโคสที่ มาเชื่อมต่อพันธะที่แน่
หนามาก จนเป็น กลูโคสสายยาวๆๆๆ หรืออาจพูดได้ว่า ดัดแปลงไปแล้ว...(แบคทีเรีย จึงย่อยยาก...ถ้าไม่ใช่ แบคทีเรีย ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง ก็ไม่มี
ทางเท่าไรนัก).... อย่างไรก็ แล้วไม่มีใครรู้หรอกว่า  น้ำตาลกลูโคสบางหน่วย จะต่อ ออกไปจาก สายยาวของกลูโคสได้. (เหมือนกิ่งไม้  กิ่งก้าน
สาขา) .. เช่น ฝ้าย...มีน้ำตาลกลูโคสหน่วยเล็กๆ ที่ไม่ใช่สายยาว... ผ้าฝ้าย หรือค๊อตตตอน แท้ๆ จึงมักเก็บแล้ว เป็น รูเล็กๆ  เพราะว่า น้ำตาล ถูก
กินไป... (ใครกินไปล่าน้า ? )
จริงที่ว่าปรากฎการณ์ เปลี่ยนสี ของ โมเลกุลไอโอดีน จะทำตัวเหมือนดัมเบล แล้วแทรกเข้าไปใน สายยาวของกลูโคส ที่เป็นพวกแป้ง หรือน้ำ
แป้ง...(เพราะว่า กลูโคสที่ดัดแปลงเป็นสายยาวๆ มีหลายชนิด...หนึง่ในนั้น ก็คือ แป้ง)    โมลเลกุลแป้ง จะใหญ่ ดูด้วยกล้องขยายหลายพันล้าน
เท่า จะคล้าย สายโทรศัพท์....ไอโอดีน จะไปแทรก ในร่องสายโทรศัพท์ นั่น... ทำให้เรา มองเห็น เป็น สีเข้ม ม่วง ...สายยิ่งยาว ยิ่งสีเข้ม.... ส่วน
สายสั้นๆ จะสีจางลงๆๆๆมา เป็น (ถ้าจำไม่ผิด ชมพู) ก็ได้...  แต่สั้นทีสุด คือ น้ำตาลกลูโคส 2-4 โมเลกุล ก็จะไม่มีสีแล้ว...เพราะว่า  สายโทรศัพม์
สั้นมากๆๆ รัด โอบโมเลกุล ไอโอดีนเอาไว้ไม่ได้....  สีไอโอดีน ที่เป็นอิสระ จึงต้องล่องลอยในน้ำแป้ง โดยไม่แทรก....ก็จะเจอน้ำแป้งสีขาว ก็ สี
จางๆ ไป (ลองเอา สีน้ำ สีขาว มาทำเฟด สีเหลืองดูล่ะกันเองน้า) ...   ฉะนั้น โมเลกุลใหญ่ใดๆ ที่โครงสร้าง คล้าย สายโทรศัพท์ ก็จะทดสอบแล้ว
เห็นผลแบบข้างต้น
"อย่างไรก็ตาม" อาจมีความเป็นไปได้ ที่ เซลลูโลส (ก็เป็นกลูโคสสายยาวอีกแบบหนึ่ง)  ก็ทำตัวเหมือนน้ำแป้งได้  แต่ไม่เคยมีใครทดลอง นะค้า ...
 ซึ่งหมายความว่า สีม่วงเข้ม หรือน้ำเงินเข้ม อาจเป็นเพราะ เซลลูโลสก็ได้  ไม่ใช่เพราะว่า แป้ง
ยาสีฟีนผสมแป้ง ก็ไม่แปลกนักหรอกค่า... ก็ลดต้นทุนไงค๊ะ หรืออาจจะเพราะเหตุผลอื่นๆมากมาย .... แต่ผสมในสูตรได้ไม่มากหรอกค่า... (แป้ง
มีหลายแบบ ... เคยลองไหมค้า  แป้งข้าวเจ้า  แป้งข้าวเหนียว  แป้งยายท้าว...แป้งขนมปัง...โอ้ย...มากมาย.... แต่จะมีแป้งชนิดหนึ่ง ที่นิยม ผสมใน
สินค้า คอสเมติกส์มากที่สุด)...
ส่วนยาสีฟัน ต้องผสม คาร์บอกซีเมธิลเซลลูโลสแน่นอนค้า... สูตรไหนส่วนใหญ่ๆ ก็ทำแบบนี้ มาตลอดน๊า .... 
ดังนั้น ส่วนตัวคิดว่า มีแป้งหรือไม่ ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับฟันนักหรอก... เพราะว่า ใส่น้อยมาก... บ้วนน้ำ ก็หายไปแล้ว... หรือไม่ก็ ตัวสินค้าเอง มีใส่
preservative  สารกันบูดอยู่แล้ว ...สารกันบูด ก็ฆ่าแบคทีเรีย ในสินค้าไปแล้วเจ้าค่า...  แถมสารกันบูดก็มาเข้าปากเราอีก... จางหมดแล้วล่ะค้า... 
น้ำตาล sorbitol  และ glycerine ต่างเป็น Humectant ทั้งคู่... เพราะว่า ช่วยให้ ยาสีฟันไม่เหลว จนเป็นน้ำ ... และยังช่วยเพิ่ม เนื้อยาสีฟันด้วย ... 
sorbitol ราคาแพงกว่า glycerin น๊ะจ๊ะ... sorbitol ยังช่วยบดบังลด รสเปรี้ยวของ Sodium Lauryl Sulfate  (สารลดแรงดึงผิว หรือ อาจเรียกว่า
surfactant เป็นสารชำระล้าง และทำให้เกิดฟอง...ก็ หวังว่า ถูฟันให้สะอาดนิ๊ค้า ) ...และ humectant ยังทำให้ ยาสีฟัน ไม่แห้งแข็งมื่อสัมผัส
อากาศ.....  โอ๊ะ ลืมไป"""" อย่าเอา น้ำตาล Sorbitol ไปพูดน๊ะว่า  แบคทีเรียในปากก็ย่อยได้... และ นอกจากนี้ บางสูตรก็ ใช้ Xylitol ซึ่งแพงมากๆ
แทน sorbitol และ glycerin  ... แบคทีเรีย ในปาก และในโลกนี้ มีมากมายหลายชนิด... รวมทั้ง เชื้อรา...ซึ่ง รา กินน้ำตาล และกินสารหลายๆ
อย่างได้เยอะกว่าแบคทีเรีย  อยู่ทนกว่าแบคทีเรียด้วย....อย่าลืมเรื่อง normal flora ในร่างกายมนุษย์น้าค้า... เพราะว่า ร่างกายมนุษย์ มีเชื้อเจริญ
เป็นปกติมากมายในร่างกายค่า )  ....แต่ว่า ยังไงแล้ว... ก็ไม่จำเป็นนักหรอกจ้า... เพราะทั้งหมด คือ สร้างความหนืดให้ น้ำ
Water หรือ Purified Water....  น้ำในการผลิตสินค้าพวกนี้ เป็นน้ำผ่านการฆ่าเชื้อทั้งสิ้น จ้า... จะเขียน ย่อ หรือ ไม่ย่อ ก็คือๆ กันนะจ้า... แล้วมา
ผสมในสินค้า พอเจอ preservative ก็ ยิ่ง น้ำสะอาดเข้าไปอีก...
สารกันบูด มีหลายอย่าง... Tetrasodium Pyrohosphate ก็ กันบูดได้จ้า... แต่ประสิทธิภาพ กันบูด เมื่อเทียบกับ Sodium Benzoate (สารเร่งเนื้อแดง 
ถ้าใช้ผิดๆ ในอาหารสัตว์ หรือ อาจจะใช้ได้ ในสินค้าคอสเมติกส์ก็มีมากมาย)  นั้น ไม่ขอพูดถึงน้า ...... ทั้งนี้ กฎหมาย มีการกำหนด ขั้นต่ำในการ
เลือกใช้สารกันบูด ให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค อยู่เหมือนกันทั้งคู่จ้า...เพราะว่า สุดท้ายแล้ว ไม่ว่า ใช้สารกันบูดอะไร... จะต้อง แสดงการทดสอบ
การหมดอายุสินค้า และการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ ในสินค้า ให้ได้เท่ากัน ด้วยจ้า ...
โอ้.... ขอไม่อธิบาย ต่อละกันน้าค้า... มีความรู้ มาเขียนให้ ลองพิจารณาได้ ยาวมากๆๆๆ ค้า...
สุดท้าย ขอให้ สังเกต น๊ะค้าว่า... ยังไง ก็ คุณสมบัติภาพรวม คล้ายๆ กัน ทั้งสิ้น  คือ ช่วย ขัดถู  และทำความสะอาดฟัน ... ต้องใช้ ควบคู่ กับ
แปรงสีฟัน หรือ อาจจะ อุปกรณ์อื่นๆ ... แล้วก็ ต้อง บ้วนน้ำให้สะอาด เสมอ ด้วยน้ำเปล่า...  น้ำเปล่า บ้านของเราเองล่ะ... สะอาดหรือเปล่าวจ้า...
แล้ว อะไรกันแน่ ที่ทำให้ ฟันสะอาด...แปรง หรือ ยาสีฟัน ?  ฮิ  ฮิ ..... สารอะไร จำเป็น หรือ ไม่จำเป็น กันแน่...  แล้วจะเป็น สำหรับใคร กัน ? 
ตัวเราเอง หรือ ผู้ผลิต ? .... ใครมีหู ไว้วางสติปัญญา...ทำให้เรารู้สึก สงสัย และ น่าลองค้นหาดูดีไหมค้า... ความจริงของข้อมูล การศึกษา อยู๋ที่
ไหนน้า  ฮิ  ฮิ ...คิดเรือยเปื่อยดีกว่า... คนแต่ละคน มีความพึงพอใจแตกต่างกัน....แล้วก็  ไม่มีใคร คุ้มครอง ผู้บริโภค หรือ สาวกจริงเปล่าน้า ?  
เงินเราไปอยู่ที่ใครกันน้า ?  หรือใช้ใบข่อยดีน๊ะ ?  ข้อมูลฝรั่งเชื่อได้จริงไหมน้า ? ... สารพัด จะคิดค้า...
โดย:  น้ำใจ (คิดเรื่อยเปื่อย)  [28 มี.ค. 2554 19:41]