ไทเทเนียมไดออกไซด์ ข้อดี ฆ่าเชื้อ ป้องกันรังสีให้ผิวกาย ควรใช้ขนาดที่ใหญ่กว่า 0.1 ไมโครเมตร
ข้อเสีย สร้างประจุลบ ดูดให้ฝุ่นลอยมาติด ขนาด 50 นาโนเมตร สามารถแทรกผ่านเซลไปถึงถุงลมในปอดได้ ถ้าสูบบุหรี่ หรือทำงานในที่ๆมีฝุ่นควันมากๆ ละอองสี ทำอาหาร หรือใช้เครื่องดูดฝุ่น ละอองที่เข้าไปในระบบทางเดินหายใจ จะถูกประจุลบดูดติดไว้ในปอดสะสมฝุ่น เร่งการเป็นมะเร็งปอด
แต่อาจใช้ขนาด70 นาโนเมตร พ่นเพื่อฆ่าเชื้อในปอดได้ เพียงแต่ ต้องระมัดระวังฝุ่นควันไปตลอด หรือต้องใช้หน้ากาก N95 ไปตลอดเวลา
ทั้งนี้ ไทเทเนียมไดออกไซด์ เป็นสารที่ค่อนข้างคงตัว แต่ พิษวิทยาจากห้องทดลองยังไม่เพียงพอว่าประจุไฟฟ้าลบ สามารถกระตุ้นเซลล์ให้เกิดโรค หรือมะเร็งได้หรือไม่ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรเสี่ยง
มีการใช้กันมากในยาสีฟัน ครีมทาผิว สบู่ ยาสระผม
ไทเทเนียมไดออกไซด์ http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=5&ID=3
http://www.material.chula.ac.th/Articles/Ti_.html
ผู้เขียน: ดร. สุพิณ แสงสุข
หน่วยงาน: นักวิจัยสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ และฐานการจัดการความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สนับสนุนโดย สกว.)
วันที่: 20 ก.ค. 2550
ไทเทเนียมไดออกไซด์เป็นสารเก่าแก่ชนิดหนึ่งเท่าๆกับโลกของเรา และเป็นหนึ่งใน 50 ชนิดของสารที่ผลิตมากที่สุดทั่วโลก ลักษณะโดยทั่วไปมีสีขาว ทึบแสง เกิดเองตามธรรมชาติมี 2 รูปแบบ ใหญ่ คือ รูไทล์และอานาเทส ทั้ง 2 รูปแบบมีไทเทเนียมไดออกไซด์บริสุทธิ์อยู่กับสารปนเปื้อน ต้องผ่านกระบวนการทางเคมีจึงจะนำสารปนเปื้อนออกได้ เหลือไว้แต่ไทเทเนียมไดออกไซด์บริสุทธิ์ ไทเทเนียมไดออกไซด์เป็นสารสีที่มีสีขาวมีประโยชน์สำหรับการใช้งานได้หลากหลาย เนื่องจากมันไม่มีกลิ่นและมีความสามารถในการดูดซับ แร่ชนิดนี้พบได้ในหลายผลิตภัณฑ์ตั้งแต่สีทาบ้านไปถึงอาหารและเครื่องสำอาง ในกลุ่มเครื่องสำอางใช้เพื่อหลายวัตถุประสงค์ ไทเทเนียมไดออกไซด์เป็นสารสีที่มีสีขาว เป็นตัวที่ทำให้เกิดการทึบแสง และเป็นตัวป้องกันแสงแดด
ไทเทเนียมไดออกไซด์ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของสารสีที่ปลอดภัย ไม่ใช่สารที่อยู่ในกลุ่มของสารก่อมะเร็ง สารที่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ สารที่ทำให้ตัวอ่อนในครรภ์เกิดความผิดปกติ หรือสารที่มีพิษ ด้วยเหตุนี้จึงสรุปได้ว่าไทเทเนียมไดออกไซด์ไม่ใช่สารที่มีพิษ โดยทั่วไปมีความปลอดภัยในการใช้กับอาหาร ยา สี และเครื่องสำอาง แต่นี่ไม่ใช่ข้อยุติสำหรับการโต้แย้ง ความปลอดภัยของไทเทเนียมไดออกไซด์ในอีกรูปแบบหนึ่งยังไม่ได้กล่าวถึง
หนึ่งในรูปแบบของแร่ หรือการสกัดแร่รวมถึงไทเทเนียมไดออกไซด์ที่ควรคำนึงถึงคือ อนุภาคขนาดเล็กหรืออนุภาคขนาดนาโน ด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้สามารถทำแร่ให้มีขนาดเล็กได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ขณะที่หลายส่วนชื่นชมกับเทคโนโลยีใหม่ บางส่วนเตือนถึงอันตรายที่ซ่อนอยู่ภายในที่มาถึงร่างกายของเรา มีการศึกษาพบว่าอนุภาคขนาดเล็กของไทเทเนียมไดออกไซด์รูปแบบอนาเทส ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 0.1 ไมโครเมตร ก่อให้เกิดโรคได้
นอกจากนี้การบาดเจ็บต่อเซลขึ้นอยู่กับขนาดอนุภาคของไทเทเนียมไดออกไซด์ ยิ่งขนาดอนุภาคเล็กความเป็นพิษก็ยิ่งมากขึ้น โดยขนาด 70 นาโนเมตร สามารถแทรกผ่านถุงลมในปอดได้ ขนาด 50 นาโนเมตร สามารถแทรกผ่านเซลได้ และขนาด 30 นาโนเมตร สามารถแทรกเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางได้ ผลการสรุปนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริโภค เนื่องจากอุตสาหกรมเครื่องสำอางกำลังใช้สารสีขนาดเล็กเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในสารกันแดดและเครื่องสำอางที่ให้สี อนุภาคนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ถูกใช้ในสารกันแดดเนื่องจากไม่มีสีและแม้ว่าจะมีขนาดเล็กก็ยังสามารถดูดกลืนรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้ มีบริษัทเครื่องสำอางหลายบริษัทที่เพิ่มทุนในการใช้อนุภาคนาโนของโลหะออกไซด์ อย่างไรก็ตามอนุภาคไทเทเนียมไดออกไซด์ที่ใช้ในฐานะที่เป็นสารกันแดดมีขนาดเล็กอาจจะสามารถแทรกผ่านเซล และนำไปสู่การเกิดกระบวนการโฟโตคะตะไลซิสภายในเซลได้ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ DNA เมื่อได้รับแสง และเป็นที่น่ากลัวว่าจะก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง การศึกษาโดยการใช้สารกันแดดที่มีไทเทเนียมไดออกไซด์ขนาดเล็กทุกวันเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ แสดงให้เห็นว่าผิวหนังสามารถดูดซับอนุภาคไทเทเนียมไดออกไซด์ขนาดเล็กได้ อนุภาคเหล่านี้พบได้ในชั้นของผิวหนังภายใต้แสงอุลตร้าไวโอเลต สำหรับอนุภาคไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีขนาดใหญ่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการสะท้อนหรือดูดกลืนแสงอุลตร้าไวเลตได้เพื่อปกป้องผิว ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อนุภาคของสารสีขนาดเล็กไม่ว่าจะเป็นสารกันแดดหรือเครื่องสำอางที่ให้สี
ที่มาของข้อมูล :
Stryker, L., 2007. Titanium Dioxide : Toxic or Safe? (online)
Avialable from : www.theorganicmakeupcompany.com/CA/titnaniumdioxide.asp [Accessed 29 May 2007]
เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง:
นาโนเทคโนโลยี และความปลอดภัย - นาโนเทคโนโลยีกับความปลอดภัย
นาโนเทคโนโลยี และความปลอดภัย - ซิลเวอร์นาโน
นาโนเทคโนโลยี และความปลอดภัย - จับตาสินค้านาโน
นาโนเทคโนโลยี และความปลอดภัย - นาโนเทคโนโลยีปลอดภัยหรือไม่
ข้อคิดเห็น
ข้อคิดเห็นที่ 1:
ผู้ที่มีความรู้ช่วยอธิบายไททาเนียมไดออกไซด์ อานาเทสเกรด มีคุณสมบัติอย่างไรและมีการทรีตเซอร์เฟตอย่างไร
โดย: วัช [1 ธ.ค. 2550 14:50]
ข้อคิดเห็นที่ 1 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :
ไทเทเนียมไดออกไซด์ แบบรูไทล์ มีสมบัติดังนี้ คือ
Crystal system แบบ tetragonal
specific gravity ประมาณ 4.23-5.5
ความแข็ง ตาม Mohs Scale ประมาณ 5.5-6.5
โดย: ดร.สุพิณ แสงสุข [6 ธ.ค. 2550 13:14]
ข้อคิดเห็นที่ 2:
อยากทราบว่าไทเทเนียมที่ใช้ทำสายนาฬิกาหรือหัวไม้กอลฟ์เหมือนกันหรือเปล่าครับเพราะมีคนบอกผมว่าเขามีไทเทเนียมที่เป็นตะแกรงสำหรับคนเดินขายอยู่ โทร 086-8283858 ช่วยให้ความรู้ด้วยครับ
โดย: วิสุทธิ์ [4 ม.ค. 2551 20:36]
ข้อคิดเห็นที่ 2 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :
คำถามเกี่ยวกับไทเทเนียม คงไม่เกี่ยวกับบทความเรื่องไทเทเนียมไดออกไซด์นี้นะคะ
ไทเทเนียมที่ใช้ทำสายนาฬิกา หรือหัวไม้กอล์ฟเป็นโลหะไทเทเนียม หรืออาจจะเรียกว่าเป็นโลหะผสม (alloys) ก็ได้ค่ะ สมบัติเด่น คือมีน้ำหนักเบา เมื่อเทียบกับโลหะชนิดอื่นๆ เช่นเหล็ก ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ไทเทเนียมอาจจะมีองค์ประกอบแตกต่างกันไป ตามลักษณะของการนำไปใช้งาน ซึ่งน่าจะสอบถามได้จากผู้ผลิต หรือนำมาทดสอบตามห้องปฏิบัติการค่ะ
ไทเทเนียมที่เป็นตะแกรงสำหรับคนเดิน ?? ตรงนี้ไม่เข้าใจค่ะ
โดย: NC [8 ม.ค. 2551 16:15]
ข้อคิดเห็นที่ 3:
ไททาเนียมไดออกไซด์ อานาเทส ที่มีอนุภาคเล็กระดับนาโน ปัจจุบันการนำเข้ามามีปริมาณเท่าไรค่ะ
โดย: อธิษฐาน [9 ม.ค. 2551 11:19]
ข้อคิดเห็นที่ 3 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :
ข้อมูลการนำเข้าสารเคมีคงต้องสอบถามจากกรมศุลกากรค่ะ
โดย: ดร.สุพิณ แสงสุข [10 ม.ค. 2551 12:59]
ข้อคิดเห็นที่ 4:
ช่วยอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนโครงสร้างผลึกอนาเทสเป็นรูไทล์ว่าเป็นอย่างไรคะ และทำให้คุณสมบัติเปลี่ยนไปด้วยรึป่าวคะ
....ขอบคุณค่ะ....
โดย: O_P [13 ม.ค. 2551 04:15]
ข้อคิดเห็นที่ 5:
ไทเทเนียมออกไซด์แบบรูไทน์ที่นำมาใช้เป็นสารพอกหุ้มลวดเชื่อม สามารถวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี เช่น TiO2 , Fe2O3 , ZrO3 , P , S ได้อย่างไร
โดย: สุรชษฐ์ [19 ก.พ. 2551 14:54]
ข้อคิดเห็นที่ 4 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :
anatase จะเปลี่ยนเป็น rutile ได้เมื่อได้รับความร้อนถึง 915 องศาเซลเซียส
Rutile Anatase Brookite
TiO2 TiO2 TiO2
--------------------------------------------------------------------------------
Form.Wt. 79.890 79.890 79.890
CrystalSystem Tet Tet Orth
Density 4.2743 3.895 4.123
ref. : http://ruby.colorado.edu/~smyth/min/tio2.html
การตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีสามารถใช้เทคนิค X-ray diffraction ตรวจสอบได้
โดย: ดร.สุพิณ แสงสุข [20 ก.พ. 2551 14:21]
ข้อคิดเห็นที่ 6:
TIO2 ที่ใช้สำหรับทำความสะอาด จะมีอันตรายใหมครับ และ ถ้านำมาใช้สำหรับการถนอมผักผลไม้จะได้ใหมครับและมีอันตรายมั๊ยครับ
โดย: ณพล [23 ก.พ. 2551 08:09]
ข้อคิดเห็นที่ 5 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :
ไม่ทราบว่าทีใช้ TiO2 สำหรับทำความสะอาด ใช้อย่างไร กรุณาให้รายละเอียดมากกว่านี้ด้วยค่ะ
โดย: ดร.สุพิณ แสงสุข [26 ก.พ. 2551 07:39]
ข้อคิดเห็นที่ 7:
ไทเทเนียม และ อิลเมไนท์ เป็นแร่ตัวเดียวกันหรือเปล่าครับ
ผู้ทราบตอบกลับเมลด้วย ขอบคุณครับ th-hit@hotmail.com
โดย: อยากทราบ [29 ก.พ. 2551 07:24]
ข้อคิดเห็นที่ 6 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :
ilmenite คือ FeTiO3 ส่วน Titanium คือ Ti เป็นแร่คนละตัว
โดย: ดร.สุพิณ แสงสุข [18 เม.ย. 2551 14:30]
ข้อคิดเห็นที่ 8:
อยากทราบว่าไทเทเนียมไดออกไซด์ สามารถหาซื้อได้ที่ไหนครับ
คือผมสนใจที่จะนำไปทำตัวเพิ่มประสิทธิภาพในการนำความร้อนของสารทำความเย็นในท่อความร้อน
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ของผมครับ
โดย: โกวิท [30 มิ.ย. 2551 21:57]
ข้อคิดเห็นที่ 9:
อยากทราบว่า ไทเทเนียม ไดออกไซด์ แบบ dispersion จะหาซื้อ
ได้ที่ไหนคะ เพราะตามตลาดทั่ว ๆ ไปจะมีแต่แบบผงไม่มีแบบน้ำค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ
โดย: พชรธร [1 ก.ค. 2551 12:20]
ข้อคิดเห็นที่ 7 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :
ลองสอบถามจากบริษัทขายสารเคมีทั่วไป
โดย: ดร.สุพิณ แสงสุข [2 ก.ค. 2551 07:39]
ข้อคิดเห็นที่ 10:
ขอความกรุณาอาจารย์เขียนบทความเกี่ยวกับ Nano-Zinc Oxide ด้วยครับเพราะส่วนใหญ่เห็น ZnO คู่กับ TiO หลายบทความ แต่ไม่มีอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับ ZnO นาโน
ปล.ที่บริษัทผลิต ZnO Regulargrade ครับเผื่อเป็นวิทยาธานให้กับพนักงานโรงงาน
โดย: ธนาฒย์ [11 ก.ค. 2551 09:59]
ข้อคิดเห็นที่ 11:
ไทเทเนียมออกไซด์มีผลอย่างไรกับอาหารบ้างครับ
โดย: nut [14 ส.ค. 2551 13:44]
ข้อคิดเห็นที่ 12:
อยากทราบวิธีใช้ไทเทเนียมออกไซด์เคลือบสิ่งต่าง ๆ เอาวิธีที่เด็ก ๆ ทำได้ ใครรู้ช่วยบอกที
โดย: เด็ก [31 ส.ค. 2551 16:20]
ข้อคิดเห็นที่ 8 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :
คุณธนาฒน์ ต้องขอโทษด้วยค่ะที่ไม่เวลาค้นข้อมูลเรื่อง nano ZnO เลย ก็เลยยังไม่ได้เขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้
คุณ Nut : เท่าที่ทราบการใช้ไทเทเนียมไดออกไซด์ในอาหารมักใช้เพื่อไม่ให้อาหารนั้นติดกัน เช่นที่เราเห็นเป็นเหมือนแป้งสีขาวเคลือบผิวลูกอมแบบกระป๋อง
คุณเด็ก : สีทาบ้านก็มีส่วนผสมของไทเทเนียมไดออกไซด์เป็นองค์ประกอบอยู่ เพราะฉะนั้นวิธีการง่ายๆที่เด็กก็ทำได้ คือซื้อสีกระป๋องมาทาผิวที่ต้องการ
โดย: ดร.สุพิณ แสงสุข [4 ก.ย. 2551 15:28]
ข้อคิดเห็นที่ 13:
อยากทราบว่า TiO2 ที่เป็น non-nano (เป็นผงเหมือนกันแต่มีขนาดอนุภาคใหญ่กว่า) จะมีผลเสียต่อร่างกายหรือไม่ครับ
โดย: วัชรพงศ์ [31 ต.ค. 2551 09:15]
ข้อคิดเห็นที่ 14:
ไทเทเนียมกับไทเทเนียมไดออกไซด์ต่างกันหรือเปล่าคะ
โดย: ธนะวรรณ [16 พ.ย. 2551 17:31]
ข้อคิดเห็นที่ 9 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :
ตอบคำถามจากความคิดเห็นที่ 13
ไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีขนาดใหญ่ระดับไมโครเมตรมีผลเสียต่อร่างกายน้อยกว่าไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตร เนื่องจากไทเทเนียมไดออกไซด์ขนาดนาโนสามารถเคลื่อนตัวไปตามกระแสเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ตับ ไต ม้าม เป็นต้น ได้ง่ายกว่า
ตอบคำถามจากความคิดเห็นที่ 14
- ไทเทเนียมเป็นโลหะชนิดหนึ่ง
- ไทเทเนียมไดออกไซด์เป็นออกไซด์ของโลหะ
โดย: ดร.สุพิณ แสงสุข [14 ม.ค. 2552 08:38]
ข้อคิดเห็นที่ 15:
การชุบไทเทเนียม ที่ใช้ในอุตสาหกรรม มีข้อจำกัดอย่างไรครับ
เหมาะสมมั้ย ที่จะนำมาชุบชิ้นส่วนของปืนภายนอก เพื่อป้องกันสนิม เพิ่มความแข็ง และป้องกันการขีดข่วน
โดย: ปลาใหญ่ [22 ม.ค. 2552 15:33]
ข้อคิดเห็นที่ 16:
ขอเรียนถามอาจารย์
ผมไม่แน่ใจว่า การชุบไทเทเนียม ใช้สารตัวเดียวกับไทเทเนียมไดออกไซด์หรือไม่
แต่เห็นมีชุบพวกมีดกลึง เครื่องมือจับยึด ใคร่ขอความรู้ในหลักการพื้นฐานด้วยครับ
โดย: ปลาใหญ่ [24 ม.ค. 2552 10:37]
ข้อคิดเห็นที่ 10 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :
ตอบความคิดเห็นที่ 15 และ 16
ไทเทเนียมเป็นโลหะชนิดหนึ่ง ส่วนไทเทเนียมไดออกไซด์เป็นสารประกอบประเภทโลหะออกไซด์ เป็นสารคนละชนิดกัน การชุบมีดกลึงเป็นการชุบด้วยโลหะไทเทเนียมไม่ใช่ไทเทเนียมไดออกไซด์
โดย: ดร.สุพิณ แสงสุข [26 ม.ค. 2552 13:24]
ข้อคิดเห็นที่ 17:
ขอบคุณเป็นอย่างยิ่งครับ
โดย: ปลาใหญ่ [27 ม.ค. 2552 12:46]
ข้อคิดเห็นที่ 18:
สารไทเทเนียมไดออกไซด์ ที่ช่วยเคลือบกระดาษ เพื่อกันไฟ เป็นไทเทเนียมชนิดไหนคะ และชื่อว่าอะไร มีข้อควรระวังในการใช้อย่างไรคะ
โดย: พรทิพย์ ยิ้มเกตุ [7 เม.ย. 2552 09:14]
ข้อคิดเห็นที่ 19:
อยากทราบภาษีนำเข้าของ TiO2 ว่าเสียเท่าไร ใครรุ้บ้างตอบด้วย ขอ HS Code ด้วยนะ
โดย: มุก [6 พ.ค. 2552 13:22]
ข้อคิดเห็นที่ 20:
มีตัวอย่างรายงานการวิจัยเรื่องไทเทเนียมไดออกไซด์ขนาดเล็กที่จะมีผลก่อให้เกิดโรคบ้างไหมคะ
โดย: แอน [4 มิ.ย. 2552 11:12]
ข้อคิดเห็นที่ 21:
anatase และ rutile ต่างกันอย่างไร และมีผลอย่างไรในการใช้ผลิตสิ่งต่างๆ ค่ะ
โดย: tagoa [21 ส.ค. 2552 21:59]
ข้อคิดเห็นที่ 22:
อยากทราบว่าวิธีการแยก TiO2 ออกจากสารปนเปื้อนมีวิธีการอย่างไรค่ะ
โดย: Aom [23 ส.ค. 2552 22:19]
ข้อคิดเห็นที่ 23:
ตัวไหนครับ ระหว่างโลหะไทเทเนียม กับ ไทเทเนียมไดออกไซด์ ที่เมื่อมีลำแสงออโรร่าหรือรังษียูวีมากระทบแล้ว ทำให้เกิดแก๊สโอโซน ขอบคุณครับ
โดย: Win [24 ส.ค. 2552 23:55]
ข้อคิดเห็นที่ 11 ของผู้ทรงคุณวุฒิ :
ตอบความคิดเห็นที่ 20
ถามกรมศุลการกรได้ค่ะ
ตอบความคิดเห็นที่ 21
ไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีขนาดเล็กระดับนาโนก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลและอวัยวะที่มีอนุภาคนาโนสะสมอยู่
ตอบความคิดเห็นที่ 22
anatase มักใช้สำหรับเป็น photocatalyst ไม่ควรใช้ในครีมกันแดด
ตอบความคิดเห็นที่ 23
ต้องทราบก่อนว่ามีอะไรปนเปื้อนอยู่บ้าง และปนเปื้อนอยู่ในลักษณะใด
ตอบความคิดเห็นที่ 24
ไทเทเนียมไดออกไซด์ เพราะมีสมบัติเป็น photocatalyst
โดย: ดร.สุพิณ แสงสุข [27 ส.ค. 2552 07:36]
ข้อคิดเห็นที่ 24:
ขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงครับ
โดย: Win [28 ส.ค. 2552 20:09]
ข้อคิดเห็นที่ 25:
ช่วยอธิบายกระบวนการโฟโตคะตะไลซิสด้วยนะครับ
โดย: มาลีฮวนน่า [10 พ.ย. 2552 00:10]
ข้อคิดเห็นที่ 26:
ช่วยอธิบายกระบวนการโฟโตคะตะไลซิสสำหรับอนุภาคไทเทเนียมไดออกไซด์ด้วยนะครับ
โดย: มาลีฮวนน่า [10 พ.ย. 2552 00:36]
ข้อคิดเห็นที่ 27:
อยากทราบว่าถ้าต้องการใช้ผงไทเทเนียมออกไซด์เพิ่มความแข็งแรงให้กับเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำโดยการแพคคาร์บูไรท์จะต้องใช้อุณหภูมิเท่าไร
โดย: นศ.โลหการ [14 พ.ย. 2552 13:42]
ข้อคิดเห็นที่ 28:
อยากทราบว่าในประเทศไทยมีการจำหน่าย ผงไทเทเนียเฟสอนาเทสไหมคะ
ถ้ามีบริษัทไหนที่จำหน่าย รบกวนขอเบอร์โทรด้วยน่ะคะ
ขอบคุณล่วงหน้าคะ
โดย: นศ ทำโปรเจคสังเคราะห์ไทเทเนีย [23 พ.ย. 2552 15:36]
ข้อคิดเห็นที่ 29:
ผมทำงานอยู่โรงงานกระเบื้อง อยากใช้TiO2 มาผสมในสูตรเคลือบเพื่อทำให้กระเบื้องมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค จึงอยากทราบว่าจะนำ TiO2 มาใช้งานอย่างไร ( ไม่อยากเคลือบที่ผิวเคลือบ เพราะหากทำความสะอาดแล้วกลัวว่าจะหลุดออกหมด )อยากผสมในสูตรเคลือบ แล้วเผาอุณหภูมิประมาณ 1150 c และต้องใช้ในสูตรเคลือบปริมาณมากน้อยเพียงใด
โดย: คุณกรีฑา [24 พ.ย. 2552 14:35]
ข้อคิดเห็นที่ 30:
พี่ๆ อ. คะ ทำไม anatase จึงมีผลึกที่เล็ก หรือว่ามีพื้นที่ผิวที่สูงคะ
โดย: ่นศ ทำโปรเจค [27 พ.ย. 2552 19:44]
ข้อคิดเห็นที่ 31:
อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของไทเทเนีย ว่าทั้ง3 เฟสนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ความเสถียร และปฏิกิริยาโฟโต้ (แตกต่างกันอย่างไร) ซึ่งปอไม่มีข้อมูลนี้เลย สัมมนาเคมีเฉพาะทาง2 ตอบคำถามอาจารย์ไม่ได้เลยค่ะ อยากทราบข้อมูลมากค่ะจะได้ไปตอบคำถามตอนพรีเซนต์โปรเจคอีกน่ะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าน่ะค่ะ
โดย: อาภาภรณ์ [9 ธ.ค. 2552 17:56]
ข้อคิดเห็นที่ 32:
อยากทราบวิธีตรวจสอบใช่ ไทเทเนียมไดออกไซด์ หรือไม่ ทำไมบางทีละลายน้ำได้ บางทีละลายไม่ได้ลอยเหนือน้ำ เพราะอะไร ขอรบกวนถามผู้รู้
โดย: wan_tae [10 ธ.ค. 2552 14:46]
ข้อคิดเห็นที่ 33:
ตอบความคิดเห็นที่35 ไททาเนียมไม่ละลายในน้ำครับ
โดย: choke [2 ก.พ. 2553 11:39]
ข้อคิดเห็นที่ 34:
ดร. สุพิณ ครับวัสดุนาโนไททาเนียมไดออกไซด์ ผมเคยเผาที่อุณหภูมิ 650 c เป็นเวลา 12 ชั่วโมง แล้ววิเคราะห์ด้วย XRD พบว่าเฟสเปลี่ยนจากอนาเทส เป็นรูไทล์
และผมรบกวนอยากทราบว่า ดร. ทำวิจัยทางด้านวัสดุนาโนไททาเนียมไดออกไซด์ อยู่หรือป่าวครับ เพื่อผมมีข้อสงสัยอะไรจะได้ขอคำปรึกษาด้วยครับ
โดย: choke [2 ก.พ. 2553 11:47]
ข้อคิดเห็นที่ 35:
CaTiO 3 ทีมีโครงสร้างเเบบ perovskite ใช่ไททาเนียมออกไซด์ใหมค่ะ
โดย: pool [27 ก.พ. 2553 14:30]
ข้อคิดเห็นที่ 36:
อยากรบกวนถาม ดร. ว่า Titanium dioxide ที่ใช้เป็นสีผสมอาหารในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นชนิดไหนครับ Rutile หรือ Anatase ถ้าใช้ได้ทั้งสองชนิด แล้วมีให้คุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไรสำหรับสีผสมอาหาร ขอบคุณครับ
โดย: NiN [5 มี.ค. 2553 02:20]
ข้อคิดเห็นที่ 37:
อยากรบกวนถามเกี่ยวกับTitanium dioxide ที่นมาใช้เป็นส่วนผสมในครีมกันแดดนะค่ะเป็นชิดไหน Rutile หรือ Anatase ค่ะ
โดย: enjoy [29 มี.ค. 2553 14:55]
ข้อคิดเห็นที่ 38:
อีกคำถามค่ะ Titanium dioxide ที่นำมาใช้เป็นส่วนผสมในครีมกันแดดส่วนใหญ่มีขนาดเท่าไหร่ค่ะกี่นาโนเมตร
โดย: enjoy [29 มี.ค. 2553 15:07]
ข้อคิดเห็นที่ 39:
อยากทราบว่าTiO2สามารถนำมาเคลือบผิวผลไม้โดยตรงได้หรือไม่ และละลายในอะไร จุดเดือดเท่าไหร่ รบกวนด้วยนะค่ะ
โดย: seungseo [7 เม.ย. 2553 23:34]
ข้อคิดเห็นที่ 40:
อยากทราบว่า TiO2 สังเคราะห์มากจากแร่ ilmenite ใช่หรือเปล่าครับ
โดย: dekpak [26 ก.ค. 2553 14:55]
ข้อคิดเห็นที่ 41:
อยากทราบการทำงานของไทเทเนียมไดออกไซด์ขณะที่เกิดปฏิกิริยาโฟโตคะตะไลซิส ครับ รบกวนช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ
โดย: dekpak [26 ก.ค. 2553 14:59]
ข้อคิดเห็นที่ 42:
ขอความกรุณาครับ
อยากทราบการเติม tio2 ในอาหารสัตว์ครับ
เป็นการเพิ่มสีสันในอาหารสัตว์ครับ
อยากทราบข้อมูลลึกครับ
ฃขอความกรุณาด้วยครับ
โดย: ag44 kku animal Sc. [5 ส.ค. 2553 12:02]
ข้อคิดเห็นที่ 43:
ช่วยอธิบาย สีของ anatase และ rutile หน่อยคับ เพราะจากที่ทราบมา anatase มีสี blue shade ในขณะที่ rutile ซึ่งมีอยู่2สีคือ ใน particle size ที่มีขนาดเล็กจะมีสี blue shade แต่ในparticle size ที่มีขนาดใหญ่จะมีสี yellow shade ขอถึงโครงสร้างหน่อยนะคับ ขอบคุณมากๆๆ
โดย: tor [4 ก.ย. 2553 00:03]
ข้อคิดเห็นที่ 44:
ขอบคุณมากค่ะ
โดย: tagoa [5 ก.ย. 2553 00:03]
ข้อคิดเห็นที่ 45:
ช่วยตอบด้วยนะค่ะ
การประยุกต์ใช้คุณสมบัติพิเศษของโครงสร้างนาโนนำมาใช้ในการผลิตถุงเท้า ซึ่งเป็นถุงเท้าพอลิเอสเตอร์ (polyester) ที่ในปัจจุบันมีวางจำหน่ายกันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ โดยถุงเท้านี้ถูกผลิตขึ้นมาจากการใช้ อนุภาคนาโนของธาตุเงิน (nano silver) ที่มีขนาดโครงสร้างเพียง 19 นาโนเมตรเข้าไปยึดติดกับเส้นใยพอลิเอสเตอร์ของถุงเท้า ซึ่งอนุภาคนาโนของธาตุเงินมีคุณสมบัติสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ทำให้ถุงเท้านาโนนี้สามารถป้องกันการเกิดกลิ่นอับ และการเกิดเชื้อราได้เป็นอย่างดี มีอันตรายอะไรไหมค่ะ
แล้วถ้าใช้อย่างอื่นที่ไม่ใช่เงินหรือเป็นที่ได้จากธรรมชาติแทนมีไหมคร่า
ขอบคุณค่ะ
โดย: เมย์ [26 ก.ย. 2553 02:04]
ข้อคิดเห็นที่ 46:
อยากทราบว่าที่เค้าขายเครื่องดักยุงในตลาดยี่ห้อหนึ่งเค้าอ้างสรรพคุณว่า เคลือบด้วยสารไทเทเนี่ยมไดออกไซด์ที่ตัววัสดุและทำให้เกิดปฎิกิริรยากับหลอด uv สามารถดึงดูดยูงตัวเมียได้
ไม่ทราบว่าสารไทเทเนี่ยมนี้ทำให้เกิดปฎิกริรยาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้จริงหรือเปล่าครับเมือเจอแสง uv และจะมั่นใจได้อย่างไรว่าเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย
ขอบคุณครับ
โดย: เก่ง [4 ต.ค. 2553 17:17]
ข้อคิดเห็นที่ 47:
อยากทราบว่าไทเทเนียมที่เติมเข้าไปในโลหะผสมอลูิเนียม ช่วยทำหน้าที่อะไร ส่งผลอย่างไรคะ
โดย: ปาย [23 เม.ย. 2554 13:43]
ข้อคิดเห็นที่ 48:
อยากทราบว่า มีวิธีแยก tio2 รูไทล์ออกจากอานาเทส หรือป่าวครับ พอดีมี tio2 ที่มีอานาเทส 99% รูไทล์1%
โดย: บำรุงพล [29 เม.ย. 2554 06:14]
ข้อคิดเห็นที่ 49:
มีเพื่อนไปไต้หวันมา แล้วซื้อสร้อยที่ทำจากไทเทเนียม บอกว่ามีสรรพคุณด้านปรับสภาพสมดุลในร่างกาย แก้อาการปวดเมื่อยบริเวณที่สัมผัสกับไทเทเนียมได้ อยากทราบว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ เพราะอะไร
โดย: freebird [14 พ.ค. 2554 09:35]
ข้อคิดเห็นที่ 50:
สุดยอด
โดย: ken2/3 [3 มิ.ย. 2554 14:42]
ข้อคิดเห็นที่ 51:
ดีมากๆ
โดย: bell [9 มิ.ย. 2554 19:38]
ข้อคิดเห็นที่ 52:
อยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมของไทเทเนียมไดออกไซด์
โดย: เด็กชัง้คิด [22 มิ.ย. 2554 12:35]
ข้อคิดเห็นที่ 53:
ถ้าผมใส่โลหะที่มีคุณสมบัติแบบไทเทเนียมลงไปใน(สาเหตุบอกไม่ได้นะครับเพียงแต่อยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น) ถังชุบแบบทองแดงเหนี่ยวนำด้วยไฟฟ้าซึ่งภายในมีน้ำยาชุบอยู่โลหะนี้จะขัดขวางการทำงานการชุบโลหะของผมมั้ยหรือเกิดอะไรขึ้นครับ
และถ้าเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็จะเกิดอะไรขึ้นกับกระบวนการชุบมั้ย...รบกวนหน่อยครับ
โดย: ตั้ม [24 มิ.ย. 2554 13:46]
ข้อคิดเห็นที่ 54:
ในการทำวัสดุให้มีคุณสมบัติ superhydrophobic บางที่ก้อใช้ SiO2 หรือ TiO2 อยากทราบว่ามันมีคุณสมบัติต่างกันอย่างไร และควรใช้แบบไหนดีค่ะ
โดย: โปรเจค [9 ก.ค. 2554 10:29]
ข้อคิดเห็นที่ 55:
anatase กับ rutile มีความแตกด่างกันอย่างไรบ้าง ทั้งในเชิงของสูตรโครงสร้างเคมีและโครงสร้างผลึก
แสงแดดกับผิวหนัง http://pharmanet.co.th/articles.php?action=1&article_no=59
แสงจากดวงอาทิตย์ ประกอบด้วยรังสีต่างๆ มากมาย เท่าที่มนุษย์ตรวจพบ แบ่งประเภทออกมาได้ เป็นรังสีคอสมิก แกมม่า เอ็กซ์ อัลตราไวโอเลต อินฟาเรด รังสีที่มองเห็นได้และคลื่นวิทยุโทรทัศน์ รังสีเหล่านี้เราแบ่งประเภทได้โดยใช้ ขนาดคลื่นของมันเป็นตัวกำหนด ซึ่งจะวัดได้โดยใช้เครื่องวัดขนาดคลื่น ประมาณ 1 ใน 3 ของแสงแดดจะถูกดูดซับโดย น้ำ อากาศ โอโซน และบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก คลื่นรังสีที่มีความสำคัญเกี่ยวพันกับผิวหนังของเรา คือ รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) รังสีที่มองเห็นได้ (Visible light) และรังสีอินฟาเรด (Infrared)
รังสีอัลตราไวโอเลต แบ่งตามช่วงคลื่น เป็น
ยูวีเอ (UV-A) เป็นรังสีคลื่นยาว 320-400 nm ทะลุผ่านกระจกได้ จะผ่านผิวหนังชั้นบนเข้าในผิวหนังชั้นลึกลงไปได้ ทำให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลได้อย่างรวดเร็ว(Immediate tanning) ถ้ามากอาจกระตุ้นให้ผิวสร้าง Melanin ขึ้นใหม่ได้ แม้UV-Aจะไม่ใช่ตัวการหลักที่ทำให้ผิวแก่เหี่ยวย่น และเป็นมะเร็ง แต่การโดนซ้ำๆบ่อยๆ ก็ทำให้มีโอกาสเป็นได้เช่นกัน
ยูวีบี (UV-B) เป็นรังสีคลื่นสั้น ขนาด 290-320 nm ไม่ทะลุผ่านกระจก จะถูกดูดซับบนผิวชั้นบน ทำให้ผิวสีน้ำตาลช้าๆ(Delay tanning)แต่จะทำให้ผิวอักเสบ แดง ระคายเคือง UV-Aเป็นตัวการหลักทำให้เกิดมะเร็ง และผิวหนังแก่เหี่ยวย่น ถ้าโดนบ่อย
ยูวีซี (UV-C) จัดเป็นรังสีคลื่นสั้นเช่นกัน ขนาด 200-290 nm ปกติไม่พบในโลก เนื่องจากถูกโอโซนในบรรยากาศดูดซับไว้หมด
ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดในช่วงเวลา 9.00 - 15.00 น. เพราะมีรังสีอัลตร้าไวโอเลตสูงมากกว่า ช่วงเวลาอื่นๆ *(nm = nanometer)
การป้องกันแดด
1. การป้องกันตามธรรมชาติ ผิวจะมีการป้องกันตามธรรมขาติอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะผิวของแต่
ละคนแต่ละพันธุกรรมและแต่ละเผ่าพันธ์เชื้อชาติ
1. การป้องกัน โดยการใช้สารกันแดด มี 2 ชนิด คือ
1.1 Chemical or absortion sunscreen คือการป้องกันโดยใช้สารกันแดดซึ่งอาจอยู่ในรูปของ ครีม โลชั่น
สเปรย์ แล้ว
ทาบนผิวหนัง สารกันแดดเหล่านี้เป็นสารเคมีถูกดูดซับไปในผิวหนังชั้นบน แล้วทำหน้าที่ดูดซับ รังสีไม่ให้ผ่านลงไปในผิวหนังชั้นใน สารเหล่านี้มี
ข้อดี คือ ราคาถูก และ เมื่ออยู่ในรูปครีม โลชั่น รูปแบบของผลิตภัณฑ์ดูเนื้อดี เมื่อทาก็จะดูดซึมเข้าในผิว ไม่เห็นร่องรอย
ข้อเสีย ของสารเหล่านี้ คือ อาจทำให้แพ้ได้ง่าย
1.1 Reflecting Sunblock or Physical Sunblock คือการป้องกันแดด โดยใช้สารทึบแสงจากธรรมชาติ ในรูป
ครีม หรือ โลชั่น ไม่ดูดซึมเข้าผิว ป้องกันรังสีโดยการสะท้อนรังสีออกไป สารเหล่านี้ได้แก่ Titanium dioxide และ Zinc Oxide
ข้อดี ของสารเหล่านี้ คือ ไม่ดูดซึมเข้าในผิว จึงไม่เกิดอาการแพ้ ใช้ได้แม้บริเวณผิวอ่อนหรือผิวเด็กเล็ก
เป็นสารจากธรรมชาติและยังป้องกันแดดในช่วงคลื่นต่างๆ ได้กว้างกว่าแบบเคมี
ข้อเสีย คือ ราคาแพงกว่า, เมื่อทาบนผิว อาจขาวหรือดูเงา ๆ เนื้อครีมอาจเหนอะหนะกว่า
การหาค่าประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กันแดด
เพื่อเป็นการเปรียบเทียบค่าของการกันแดดของผลิตภัณฑ์กันแดด แต่ละตำรับ นักวิทยาศาสตร์จึงได้หา
วิธีคำนวณค่าประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์กันแดด ซึ่งเรียกว่า ค่า SPF = Sun Protecting Factor
SPF หมายถึง อัตราส่วน ของ MED ของผิวหนังที่ทาผลิตภัณฑ์กันแดดและ MED ของผิวหนัง
ที่ไม่ได้ทา
ค่า MED (Minimal Erythrema Dose) คือ ขนาด(เวลา) ที่ทำให้เกิดผิวแดงอักเสบ หรือความปกติที่ผิวหนัง
ดังนั้น ค่า SPF คือ อัตราส่วนของ เวลาที่ทำให้เกิดผิวแดงเมื่อทาผลิตภัณฑ์กันแดดนั้น กับ เวลา ที่ทำ
ให้ผิวหนังที่ไม่ได้ทา (ผิวตามธรรมชาติ) เกิดผิวแดง ณ การปล่อยให้ผิวตากแดด ณ ที่เดียวกัน
สรุป ให้ง่าย ค่า SPF คือ จำนวนเท่าของเวลาในการป้องกันแดด เมื่อทาผลิตภัณฑ์กันแดดนั้นๆว่าเป็น
กี่เท่าของเวลาการป้องกันแดดโดยธรรมชาติของผิว
ผลิตภัณฑ์กันแดด ประกอบด้วยอะไร
ก. สารกันแดด
1.Chemical
คือ สารเคมีที่ใช้ป้องกันแดดโดยการดูดซับรังสี UV-A สารเคมีแต่ละตัวจะให้ผลในการดูดซับรังสีได้
ในช่วงคลื่น แตกต่างกัน ในผลิตภัณฑ์กันแดด แต่ละชนิดจึงต้องมีสารกันแดดหลายตัวผสมกันเพื่อให้มีความสามารถในการดูดซับแสง ช่วงคลื่นที่กว้างขวาง (Broad spectrum) สารเคมีที่ใช้มี 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1.1 PABA Group
กลุ่มพาบา ดูดซับรังสีคลื่นสั้นได้ดี ที่นิยมใช้มี Octyl dimethyl PABA (Padimate O) สารกันแดด
กลุ่มนี้นิยมใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากดูดซับแสงได้ดี มีอาการแพ้น้อยเมื่อเปรียบกับสารตัวอื่นๆ แต่มีสารในกลุ่มนี้ตัวหนึ่ง ซึ่งเคยนิยมใช้เมื่อ 30 ปีก่อน แล้วปรากฏภายหลังพบว่าอาจก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง สารตัวนี้ชื่อ Padimate A ซึ่งได้ถูกห้ามใช้ตั้งแต่ปี 2530 ส่วน Padimate O พบว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ Padimate A เลย จึงยังเป็นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางจนปัจจุบัน
1.2 Non-PABA คือ กลุ่มที่ไม่ใช่พาบามีหลายกลุ่มคือ
Bensophenone ดูดซับ UV คลื่นสั้นและยาว
Cinnamates ดูดซับ UV คลื่นสั้น
Antranilate ดูดซับ UV คลื่นสั้น
Homosalate ดูดซับ UV คลื่นสั้นและยาว
กลุ่ม Non-PABA นี้จะก่อให้เกิดอาการแพ้มากกว่ากลุ่ม PABA ระดับความเสี่ยงต่อการแพ้ เรียงตามกลุ่มข้างต้นจากน้อยมาหามาก
การจัดตำรับผลิตภัณฑ์กันแดด ต้องใช้สารกันแดดหลายตัวผสมกัน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งป้องกันรังสีครอบคลุมทุกชนิด และเพื่อเป็นลดอัตราการแพ้
2.Physical or Natural Sunblock
คือ สารกายภาพ หรือ สารธรรมชาติ มีดังนี้
2.1 Titanium dioxide เป็นสารทึบแสง ได้จากธรรมชาติ ถือเป็นดินหรือแร่ชนิดหนึ่ง สามารถป้องกัน
รังสีคลื่นสั้นได้ดีและยังสามารถป้องกันรังสีคลื่นยาวได้อีกระดับหนึ่ง
2.2 Zinc oxide เป็นสารทึบแสงได้จากธรรมชาติเช่นกัน มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ป้องกันรังสีคลื่นยาวได้ดี
ผลิตภัณฑ์กันแดด ซึ่งใช้สารทั้งสองเป็นสารกันแดด จะไม่ดูดซับแสงแต่จะสะท้อนรังสีทั้งหมดออกไป จึงทำให้ไม่เกิดอาการแพ้ โดยทั่วไปผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายนิยมใช้ Titanium oxide ตัวเดียว เนื่องจากการใช้ Zinc oxide ร่วมในตำรับทำให้จัดตำรับผลิตภัณฑ์ยากลำบากขึ้น และครีมซึ่งมี Zinc oxide เมื่อทาแล้วผิวอาจขึ้นขาววาวๆได้
ข. รองพื้น (Base)
เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์กันแดดมีผลอย่างมากต่อค่าSPF และต้องอยู่ในรูปแบบที่ผู้บริโภคสะดวกใช้ ที่นิยมคือเป็น ครีม โลชั่น สปรย์ หรือ โลชั่นใส แต่ในหลักการต้องให้มีคุณสมบัติ ดังนี้
? เนื้อผลิตภัณฑ์ต้องดูดี น่าใช้
? เกลี่ย ทา ง่าย
? ติดผิวแน่น ทนต่อการถูกน้ำ เหงื่อ ล้างออก คุณสมบัติข้อนี้มีความสำคัญมากต่อค่า SPF ของผลิตภัณฑ์
ข้อเปรียบเทียบของสารกันแดด 2 กลุ่ม
สารกันแดดเคมี สารกันแดดกายภาพ
1. กลไกดูดซับรังสีไว้ที่โมเลกุลของสารซึ่งทาอยู่บนผิวหนัง 1. กลไกสะท้อนและกระจายรังสีทุกชนิดออกจากผิวหนังทันทีที่ตกกระทบอนุภาคของไทเทเนียมไดออกไซค์และซิงค์ออกไซค์
2. กันแดดช่วงคลื่นสั้นกว่า 280 - 365 นาโนเมตร 2. กันแดดช่วงคลื่นยาวกว่า 260 - 700 นาโนเมตร
3. มีผลสะสมที่ผิวหนัง โอกาสเกิดการแพ้ระคายเคืองได้ง่ายกว่า 3. ปลอดภัยสูงไม่ก่อให้เกิดการแพ้ระคายเคืองใช้ในเด็กเล็กได้ ล้างออกได้ง่าย
4. สลายตัวได้ง่ายเมื่อได้รับความร้อนหรือรังสีจากดวงอาทิตย์ ทำให้ประสิทธิภาพลดลง 4. ผงแป้งละเอียดมาก พื้นที่ผิวรอบอนุภาคมีมากทำให้สะท้อนและกระจายรังสีได้ดี ช่วยปกปิดรูขุมขนได้ดีมีความคงตัวสูง ไม่ถูกทำลายโดยรังสีความร้อนหรือรังสีจากดวงอาทิตย์
วิธีทาครีมกันแดด
1. ควรทาครีมกันแดด ทาทิ้งไว้ที่ผิวหนัง ประมาณ 15 - 20 นาที ก่อนออกไปตากแดด
2. ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF มากกว่า 15 ขึ้นไป
3. เลือดครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพกันแดดได้ผลดี ปลอดภัยสูง ไม่ก่อให้เกิดการแพ้
ระคายเคือง
ครีมกันแดดแบบไหนดี http://www.greenworld.or.th/relax/forum/1292
ป้าแตงคะ แดดร้อนเหลือทนเลยค่ะ จะปั่นจักรยานกลางแดดก็เป็นห่วงความงาม มีครีมกันแดดดีๆ แนะนำไหมคะ
Yellow Submarine (ทางอีเมล)
Yellow Submarine จ๋า
แดดร้อนแรงจริงอะไรจริง ร้อนผ่าวเหลือทนจนคนเดินถนนและสาวนักปั่นหลายคนแอบหวั่นไหว เพราะหน้าตา ต้นคอ หัวไหล่ ใบหู และแขนสองข้างถูกแดดแผดเผาเอาจนไหม้เกรียม
สาวๆ ไม่น้อยที่กลัวแก่ กลัวมีรอยเหี่ยวย่น และกลัวเป็นมะเร็งเพราะแสงแดดของศตวรรษที่ 21 ครีมกันแดดจึงถูกโหมประโคมให้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของสาวไทย ในฐานะอุปกรณ์สู้แดดอย่างเป็นทางการมาสัก 3-4 ทศวรรษได้ และยิ่งเข้มข้นขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ที่โลกร้อนขึ้นอย่างรู้สึกได้ ด้วยความเชื่อที่ว่าครีมกันแดดช่วยป้องกันไม่ให้แสงแดดทำอันตรายต่อผิวหนัง และที่สำคัญคือไม่ทำให้ดำ!
เราอาจแบ่งครีมกันแดดออกเป็น 2 แบบ คือ ครีมกันแดดแบบเคมี (chemical sunscreen) ซึ่งเป็นสินค้าส่วนใหญ่ที่ขายอยู่ในท้องตลาดเมืองไทย กับครีมกันแดดแบบกายภาพ (physical sunscreen)
ครีมกันแดดแบบเคมี หรือที่เรียกกันว่า “ครีมกันแดดแบบดั้งเดิม” ทำงานด้วยการดูดซับแสง UVA และ UVB ไว้ ไม่ให้ทะลุถึงชั้นผิวหนัง แต่ครีมประเภทนี้มีสารเคมีและวัตถุกันเสียหลายอย่างที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ตั้งแต่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง ผื่นแพ้ รบกวนฮอร์โมนในร่างกาย เป็นพิษต่อตับ มีผลต่อระบบประสาท บางชนิดแตกตัวเมื่อถูกแสงอาทิตย์และอาจก่อให้เกิดมะเร็ง ไปจนถึงทำให้เกิดความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ด้วย
ผู้บริโภคจึงมักหันมาใช้ครีมกันแดดแบบกายภาพ ซึ่งมีส่วนประกอบเช่น Zinc oxide กับ Titanium dioxide ที่ทำงานเหมือนตัวสะท้อนแสงออกไปจากผิว เมื่อทาครีมกันแดดชนิดนี้ ผิวเราจึงดูขาวเวอร์ๆ ทำให้หลายคนถอดใจไม่ค่อยอยากใช้
http://scribol.com
เว็บไซต์เพื่อสิ่งแวดล้อม grist.org เคยรายงานว่า 85 เปอร์เซ็นต์ของครีมกันแดด 922 ชนิดในท้องตลาด ไม่ได้ช่วยป้องกันผิวจากแสงแดดอย่างที่โฆษณา ซ้ำยังเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคด้วย พร้อมกับแนะนำว่า ครีมกันแดดที่ดีควร “ดีต่อเรา ดีต่อสิ่งแวดล้อม และใช้ได้ผลจริง” นั่นคือ
1. เลือกใช้ครีมที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป ตัวเลข SPF บอกถึงความนานในการอยู่กลางแจ้ง เช่น ถ้าผิวเริ่มแดงเมื่อผ่านไป 20 นาที ครีมที่มี SPF 30 ก็ควรป้องกันผิวได้นานขึ้น 30 เท่า (เช่น 10 ชั่วโมง)
2. เลือกครีมที่ป้องกันทั้ง UVA และ UVB
3. หลีกเลี่ยงครีมที่มี oxybenzone และ fragrance เป็นส่วนประกอบ อย่างแรกอาจทำให้เป็นมะเร็งผิวหนังได้ ส่วนอย่างหลัง ส่งผลเสียหายต่อสุขภาพหลายอย่าง ตั้งแต่ทำให้เกิดภูมิแพ้ ทำลายตับ ทำให้ฮอร์โมนแปรปรวน ฯลฯ (ที่จริงยังมีอีกหลายตัวที่เป็นพิษต่อร่างกายนะ เช่น PABA, Octocrylene, Butyl methoxydibenzoylmethane, Isotridecyl salicylate, Octyl salicylate, Potassium Hydroxide และอื่นๆ อีกหลายชนิด)
4. มองหาครีมที่ใช้ Titanium dioxide และ/หรือ Zinc oxide ที่ช่วยสะท้อนแสงแดดออกไป แทนที่จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย แต่จะปรากฏเป็นชั้นสีขาวบนผิวของเรา
5. ถ้าหากจะลงเล่นน้ำทะเล ลองเลือกครีมที่มีส่วนผสมที่ทำจากพืช ไม่เป็นอันตรายต่อปะการัง
รู้ไหมล่ะว่า ทุกปีท้องทะเลต้องรองรับครีมกันแดดมากถึง 4,000-6,000 ตัน ซึ่งมีส่วนที่ทำให้ปะการังฟอกขาว
6. ลองดูรายชื่อครีมกันแดดจากองค์กรที่ทำวิจัยเรื่องครีมกันแดด เช่น www.ewg.org/2010sunscreen/finding-the-best-sunscreens (แต่ว่าส่วนใหญ่ก็ไม่มีขายในเมืองไทย)
7. ได้โปรดอย่าลืมว่า ครีมกันแดดเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการปกป้องผิวเท่านั้น ลองหาผ้าคลุมเก๋ๆ แว่นตาที่กัน UV ได้ดี หมวกปีกกว้าง และร่มใช้ดู จะช่วยได้มาก
8. หลีกเลี่ยงการออกแดดตั้งแต่หลัง 10 โมง ถึง 4 โมงเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่แดดแรงที่สุด – ซึ่งถ้าเป็นเมืองไทย ก็ควรจะก่อนและหลังจากนั้นนะ เช่น หลัง 9 โมง ถึง 5 โมงเย็น
นอกจากนี้ ป้าอยากเพิ่มเติมอีกนิดหน่อยว่า
- ครีมกันแดด (และเครื่องสำอางอื่น) ที่เป็น “นาโน” ซึ่งจะมีโมเลกุลเล็กมากมายจนแทรกซึมเข้าสู่ผิวหนัง และแพร่ไปตามกระแสโลหิตได้ง่ายๆ นั้น อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพที่เรายังไม่รู้ ไม่ใช่แค่ครีมกันแดดแบบเคมีเท่านั้นนะ แม้แต่ครีมกันแดดแบบกายภาพที่เป็นนาโน ก็อาจส่งผลต่อฮอร์โมนและระบบสืบพันธุ์ได้ ถึงมันจะปกป้องเราจากแสงแดดได้ดีกว่าก็เถอะ
- เมื่อครีมกันแดดมากมายเป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์แล้ว ก็อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และระบบนิเวศด้วยเหมือนกัน ถึงยังไม่มีการศึกษามากนัก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ตรวจพบสารป้องกัน UV ในแม่น้ำ ทะเลสาบ และมหาสมุทรทั่วโลกแล้ว และพบเข้มข้นมากในบริเวณใกล้แหล่งน้ำทิ้ง โดยสารหลายตัวเป็นพิษต่อสัตว์
- แม้ Titanium dioxide และ Zinc oxide จะปลอดภัย (กว่า) สำหรับมนุษย์ แต่ก็เป็นพิษต่อสัตว์น้ำและสาหร่ายบางชนิด ทั้งนี้ยังไม่นับการทำเหมืองเพื่อนำแร่ธาตุเหล่านี้มาใช้อีก
- เครื่องสำอางแบบนาโน ใช้พลังงานในการผลิตมากกว่า ใช้ตัวทำละลายมากกว่า ซึ่งอุตสาหกรรมผลิตเครื่องสำอางไม่ค่อยอยากบอกใคร
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางพัฒนาสินค้าออกมามากมายหลายชนิด และไปไกลเกินกว่าที่เราจะรู้ว่ามันส่งผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อมขนาดไหน เป็นความจริงที่ผู้บริโภคไม่ค่อยอยากฟัง และอุตสาหกรรมเองก็อยากจะหุบปากไว้
และสำหรับสาธุชนผู้รักสัตว์ โปรดพึงสดับว่า อุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้ทำให้สัตว์ทดลองชนิดต่างๆ อย่างกระต่ายและหนูตะเภา ที่ต้องทุกข์ทรมานจากการทดสอบเครื่องสำอาง บาดเจ็บ และตายลงเป็นล้านตัว เพื่อความงามของมนุษย์ ทั้งที่จริงแล้ว มีมากมายหลายกรณีที่ปฏิกิริยาจากร่างกายคนและสัตว์แตกต่างกันมาก และการทดลองในสัตว์ใช้ไม่ได้จริง
กระต่ายที่ถูกขังกรงแออัดโผล่ออกมาแค่หัว จะถูกป้ายเครื่องสำอางที่ขอบตาจนระคายเคือง เป็นแผล และถึงขั้นตาบอด มีรายงานว่ามันร้องอย่างเจ็บปวดทุกครั้งที่ถูกป้ายตา และพยายามหนีออกจากช่องเล็กๆ ที่มันอยู่จนคอหัก ส่วนหนูตะเภาถูกใช้ทดสอบอาการแพ้และผื่นคัน เครื่องสำอางแต่ละชนิดทำให้สัตว์ทรมานจากอาการอักเสบ บวม เป็นพิษต่อตับ เลือดออกทางทวารต่างๆ เป็นมะเร็ง ฯลฯ และตายไปในที่สุด
ผู้สนใจอาจเข้าไปดูรายชื่อเครื่องสำอางยี่ห้อที่เป็นมิตรกับสัตว์ได้ที่ www.leapingbunny.org/shopping.php
น่าเสียดายที่ครีมกันแดดและเครื่องสำอางเกือบทั้งหมดที่ขายในเมืองไทย โดยเฉพาะจากบริษัทขนาดใหญ่ ยังใช้การทดลองกับสัตว์แทบทั้งนั้น
ถ้าใครอยากรู้ว่า เครื่องสำอางยี่ห้อไหนเป็นมิตรกับสัตว์บ้าง ลองมองหาเครื่องหมายที่ระบุว่า “against animal testing” “not test on animals” หรือ “non animal testing” ดูได้จ้า
รักทั้งสัตว์ ทั้งผิว
ป้าแตงไทย
Titanium oxide http://msds.pcd.go.th/searchName.asp?vID=1421
http://www.chemtrack.org/HazMap-Intro.asp
skin designation "Danger of cutaneous absorption." (ACGIH) อันตรายจากการดูดซึมทางผิวหนัง (ACGIH)
Tio2 film หมายถึง ฟิล์มไทเทเนียมไดออกไซด์ หรือเป็นลักษณะของไทเทเนียมไดออกไซด์ที่เคลือบบนผิววัสดุที่มีขนาดบางมากๆ จนอนุมาลได้ว่ามีลักษณะเป็นเหมือนแผ่นฟิล์ม
tio2 หรือ ไทเทเนียมไดออกไซด์ เป็นสารกึ่งตัวนำชนิด N Type semiconductor เมื่อไททาเนียมไดออกไซด์ถูกกระตุ้นด้วยแสงที่มีความยาวคลื่นที่เหมาะสมและสั้นกว่าความยาวคลื่นมาตรฐานของสารกึ่งตัวนำ จะเกิดกระแสไฟฟ้าแบบอะโนดิค (Anodic photocurrent)
ไทเทเนียมไดออกไซด์ มีความสามารถหลากหลายด้านขึ้นอยู่กับการนำเอาไปใช้งาน เช่น การป้องกันสนิม การกำจัดเชื้ออิโคไลด์ การทำสมาร์ทวินโดว์ เป็นต้น
ไททาเนียมไดออกไซด์มี 3 โครงสร้างคือ รูไทล์ (Rutile), อะนาเทส (Anatase) และ บรูไคท์ (Brookhite) จนถึงปัจจุบันงานวิจัยทางด้านไฟฟ้าเคมีส่วนใหญ่จะใช้ไททาเนียมไดออกไซด์ที่มีโครงสร้างเป็นแบบรูไทล์หรืออะนาเทส หรือทั้งสองชนิดรวมกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีการเตรียมและการปรับสภาพให้เหมาะสมก่อนนำไปใช้
ทั้งรูไทล์และอะนาเทสมีหน่วยเซลล์ (Unit cell) เป็นแบบเตตระโกนอล (Tetragonal) ซึ่งภายในประกอบไปด้วย TiO6 ออกตะฮีดอล (Octahedral) ที่มีลักษณะบิดตัว ความยาวพันธะของรูไทล์และอะนาเทสจะคล้ายคลึงกัน แต่อะนาเทสที่เป็นแบบออกตะฮีดอลจะมีการบิดตัวของมุมมากกว่า ดังนั้นอะนาเทสจึงมีโครงสร้างเป็นแบบเปิดมากกว่า (โมลาร์โวลุม สูงกว่า, ความหนาแน่นต่ำกว่า) รูไทล์ (Rutile) มีประมาณ Melting point=1858 ºC
ส่วนใหญ่ Tio2 film นั้นจะไม่ได้ประกอบด้วย ไททาเนียมไดออกไซด์ เพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสาร 2 ชนิดขึ้นไป เพราะไทเทเนี่ยมไดออกไซด์จะมีข้อจำกัดอยู่ที่ว่าจะทำงานได้เฉพาะในที่ที่มีแสงสว่างเท่านั้น
ข้อมูลของไทเทเนียมไดออกไซด์มีทั่วๆในเน็ตลองหาเอานะ.......ขี้เกียจพิมพ์ให้อะมันเยอะ
chem eng buu. (IP:58.147.76.98)
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 5 21 พ.ค. 2550 (00:54)
Tio2 film หมายถึง ฟิล์มไทเทเนียมไดออกไซด์ หรือเป็นลักษณะของไทเทเนียมไดออกไซด์ที่เคลือบบนผิววัสดุที่มีขนาดบางมากๆ จนอนุมาลได้ว่ามีลักษณะเป็นเหมือนแผ่นฟิล์ม
tio2 หรือ ไทเทเนียมไดออกไซด์ เป็นสารกึ่งตัวนำชนิด N Type semiconductor เมื่อไททาเนียมไดออกไซด์ถูกกระตุ้นด้วยแสงที่มีความยาวคลื่นที่เหมาะสมและสั้นกว่าความยาวคลื่นมาตรฐานของสารกึ่งตัวนำ จะเกิดกระแสไฟฟ้าแบบอะโนดิค (Anodic photocurrent)
ไทเทเนียมไดออกไซด์ มีความสามารถหลากหลายด้านขึ้นอยู่กับการนำเอาไปใช้งาน เช่น การป้องกันสนิม การกำจัดเชื้ออิโคไลด์ การทำสมาร์ทวินโดว์ เป็นต้น
ไททาเนียมไดออกไซด์มี 3 โครงสร้างคือ รูไทล์ (Rutile), อะนาเทส (Anatase) และ บรูไคท์ (Brookhite) จนถึงปัจจุบันงานวิจัยทางด้านไฟฟ้าเคมีส่วนใหญ่จะใช้ไททาเนียมไดออกไซด์ที่มีโครงสร้างเป็นแบบรูไทล์หรืออะนาเทส หรือทั้งสองชนิดรวมกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับวิธีการเตรียมและการปรับสภาพให้เหมาะสมก่อนนำไปใช้
ทั้งรูไทล์และอะนาเทสมีหน่วยเซลล์ (Unit cell) เป็นแบบเตตระโกนอล (Tetragonal) ซึ่งภายในประกอบไปด้วย TiO6 ออกตะฮีดอล (Octahedral) ที่มีลักษณะบิดตัว ความยาวพันธะของรูไทล์และอะนาเทสจะคล้ายคลึงกัน แต่อะนาเทสที่เป็นแบบออกตะฮีดอลจะมีการบิดตัวของมุมมากกว่า ดังนั้นอะนาเทสจึงมีโครงสร้างเป็นแบบเปิดมากกว่า (โมลาร์โวลุม สูงกว่า, ความหนาแน่นต่ำกว่า) รูไทล์ (Rutile) มี Melting point ประมาณ=1858 C
ส่วนใหญ่ Tio2 film นั้นจะไม่ได้ประกอบด้วย ไททาเนียมไดออกไซด์ เพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสาร 2 ชนิดขึ้นไป เพราะไทเทเนี่ยมไดออกไซด์จะมีข้อจำกัดอยู่ที่ว่าจะทำงานได้เฉพาะในที่ที่มีแสงสว่างเท่านั้น
ข้อมูลของไทเทเนียมไดออกไซด์มีทั่วๆในเน็ตลองหาเอานะ.......ขี้เกียจพิมพ์ให้อะมันเยอะ
chem eng buu. (IP:58.147.76.98)
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 6 21 มิ.ย. 2550 (09:27)
ผมขอความคิดเห็นนิดนึงครับ ถ้าเกิดว่าเรานำสารไทเทเนี่ยม มาเคลือบไว้กับลูกสูบของเครื่องยนต์จะเป็นอย่างไรอ่ะครับ ช่วยคิดทีครับ จาก เอ รังสิต
เอ Randsid_ok@hotmail.com (IP:124.121.150.45)
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 7 17 เม.ย. 2551 (22:00)
<P>ตอบคุณเอ คุณต้องการเคลือบลูกสูบเพื่ออะไรคับ ต้องบอกจุดประสงค์หน่อยเพราะว่าจะได้รู้ว่าทำประโยชน์ได้หรือไม่คับ และที่คุณถามนี่คือไททาเนียมTi หรือไททาเนียมไดออกไซด์ เพราะมันเป็นคนละประเภทกันเลยคับ TiO2</P>
keke (IP:203.185.131.3)
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 8 20 เม.ย. 2551 (21:06)
ฟิล์ม TiO2 คงต้องเคลือบในอะไรซักอย่าง เช่น แผ่นกระจกครับ
ถ้าต้องการวิธีทำฟิล์มบางของ TiO2 บนแผ่นกระจก อาจจะถามจากคนที่ทำ "เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดสีย้อมไวแสง" หรือ ถามหาคุณชัยยุทธ แซ่กัง ที่สวทช. (http://www.nstda.or.th) ก็ได้ครับ
มีบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย "เซลล์แสงอาทิตย์กับสีย้อมไวแสงจากพืชในประเทศไทย" http://www.vcharkarn.com/varticle/34274/1
พีรกิตติ์ คมสัน ประชาอุทิศ
ร่วมแบ่งปัน225 ครั้ง - ดาว 168 ดวง - โหวตเพิ่มดาว
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 9 14 ส.ค. 2551 (21:13)
อายทราอัตราส่วนของ สารประกอบของ tio2 ครับ
anuwat151
ร่วมแบ่งปัน2 ครั้ง - ดาว 50 ดวง - โหวตเพิ่มดาว
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 10 15 ม.ค. 2552 (15:03)
อยากทราบค่าสัมประสิทธิ์การดูดกลืนแสง(?)UVของไทเทเนียม ไดออกไซด์ค่ะ
หามานานมากๆ ยังไม่เจอสักที ถ้าใครทราบรบกวนโพสท์ลงให้ด้วยนะคะ
ขอบคุณค่ะ
่jaegift@hotmail.com (IP:161.200.255.163)
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 11 20 มี.ค. 2552 (03:15)
ไททาเนียมออกไซค์มีความหนาประมาณเท่าไรคับ
alex28279@hotmail.com (IP:202.28.48.211)
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 12 25 มี.ค. 2552 (16:16)
เคยอยู่โรงงานเคลือบกระจกโดยใช้ ฟิลม์ TiO2 ครับ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของฟิล์มและเพิ่มค่า Reflectant ของการสะท้อนแสง โดยหลักการเคลือบจะใช้วิธี Sputtering Process ใน Vacumm Chamber โดยจะต้องมี Target ที่เลือกใช้ก่อนจากนั้นจึงยิง Electron ไปชน Target เพื่อเคลือบกระจกผิวครับ
ตอนที่ทำอยู่ Film จะหนาประมาณ 80-100 Nanometre ครับ
san_allmylove@hotmail.com (IP:118.175.144.140)
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 13 4 ส.ค. 2552 (23:30)
ช่วยหน่อยครับ ผมอยากทราบว่า ทำไม ไทเทเนียมไดออกไซด์ถึง เป็นสารกึ่งตัวนำชนิด เอ็น ครับ
roj_bird@hotmail.com (IP:202.28.78.177)
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 14 3 ก.ย. 2552 (10:14)
อยากทราบว่าทำไมการ sputtering ต้องทำใน vacumm ด้วยครับ แล้วก็ตอนที่อบเพื่อเปลี่ยนเฟส ทำไมต้องอบใน H2 กับใน Vacumm ด้วยครับ
husnarak007@hotmail.com (IP:58.9.51.238)
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 16 21 ต.ค. 2552 (18:21)
ถ้าเราใช้ผ้าเช็ดแผ่นกระจก ที่มีTio2เคลือบทำไมคุณสมบัติ Anti_fogจึงหายไปครับ
mcclub2009@thaimail.com (IP:58.10.207.47)
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 17 25 พ.ย. 2552 (18:35)
ผมอยากรู้เกี่ยวกับการเตรียมฟิล์มไททาเนียมไดออกไซด์โดยวิธีการโซลเจลอะครับ ช่วยบอกที
m_phy TU (IP:203.131.212.40)
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 18 9 ก.พ. 2554 (16:42)
กระจกที่เคลือบ TiO2 เมื่ออยู่กลางแดด (โดนแสงอาทิตย์) จะมีคุณสมบัติแบบ superhydrophilicity คือ มุมสัมผัสของหยดน้ำ (contact angle) จะเกือบเป็นศูนย์ (จะตรงกันข้ามกับพื้นผิว superhydrophobic ซึ่งจะเหมือนกับลักษณะของหยดน้ำบนใบบัว) พูดง่ายๆ คือ เมื่อเราฉีดน้ำบนกระจกแบบนี้ น้ำจะถูกดูดติดกับผิวกระจกสร้างเป็นแผ่นฟิล์มน้ำบางๆ ซึ่งจะสามารถไล่คราบน้ำมันหรือสิ่งสกปรกออกไปจากพื้นผิวกระจกได้เพียงแค่ใช้น้ำฉีดใส่กระจกเท่านั้น (เนื่องจากน้ำจะไปแทรกตัวอยู่ใต้สิ่งสกปรกเหล่านั้นเพราะแรงยึดเกาะกับผิวกระจกที่ดีกว่านั่นเอง) หรือกันการเกิดฝ้าหมอกบนกระจก (ฝ้าหมอกบนกระจกเกิดจากไอน้ำในอากาศมาควบแน่นเป็นหยดน้ำเล็กๆ เล็กมากๆจนเราเห็นเป็นฝ้าขาวๆ ในเมื่อพื้นผิวของกระจกชนิดนี้ไม่สามารถเกิดหยดน้ำได้มันจึงป้องกันการเกิดฝ้าหมอกไปในตัว) ทางการค้ากระจกแบบนี้จะแสดงสรรพคุณว่าเป็น self-cleaning และ anti-fog ซึ่งในกรณีที่ว่ามันทำความสะอาดตัวเองได้เนี่ยก็ ประมาณว่าไม่จำเป็นต้องไปถูไปขัดนั่นแหละ ดังนั้นถ้าเกิดเราเอาผ้าไปขัดไปถูบ่อยๆเข้า ไอ้ตัว TiO2 ที่เคลือบอยู่มันคงค่อยๆลอกติดผ้าเช็ดรถเราออกมาด้วย กระจกจึงเสียคุณสมบัติ superhydrophilicity ไป
แต่ที่สำคัญคุณสมบัติ superhydrophilicity นี้จำเป็นจะต้องมีพลังงานจากแสงมาตกกระทบกระจกด้วย
ซึ่งถ้าเป็นกระจกรถยนต์ ก็ต้องล้างกระจกกลางแดด แล้วก็อาจจะไม่กันฝ้าถ้าขับในเวลากลางคืน (อันนี้ก็คงต้องใช้ที่ปัดน้ำฝนช่วยกันปกติ) แต่ถ้าเป็นกรณีกระจกบ้าน ก็คงไม่มีปัญหาอะไร กลางคืนก็ปล่อยให้น้ำเกาะไปก่อน พอกลางวันฝ้ามันก็จะเปลี่ยนเป็นฟิล์มน้ำล้างกระจกไปในตัวเอง
แต่มันก็คงมีอายุการใช้งานแหละครับ ซึ่งผมก็ไม่มีข้อมูลว่ามันจะอยู่ได้กี่ปี แต่ถ้าราคาไม่แพงมากนักก็น่าใช้เหมือนกัน
Op (IP:203.185.130.17)
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 19 28 มิ.ย. 2554 (20:13)
ถ้าจะใช้ไททาเนียมไดออกไซด์ มาใช้ในการเร้งการเจริญเติบโตของพืชจะได้หรือไม่ มีวิธีการทำอย่างไร ขอบคุณค่ะ
auchraporn@gmail.com (IP:125.26.245.150)
http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=62609
Titanium Dioxide
Titanium Dioxide (TiO2)
เป็นแม่สีชนิดหนึ่งมีโครงสร้างเป็นผลึก แข็ง และโดยส่วนใหญ่จะทำการ Treat ผิวด้วยสารเคมีต่างๆ เพื่อให้การใช้งานใน งานแต่ละประเภททำได้ง่านขึ้น และกระจายตัวได้ดี ซึ่งนิยมใช้ในกระบวนการสีพลาสติก สีพลาสติก กว่า 90 % จะมีส่วนผสมของ TiO2 ทั้งที่เป็นสีขาวล้วน หรือสีอื่นๆ ที่ต้องการความทึบ หรือใช้เพื่อตกแต่งสี TiO2 จึงเป็นแม่สีที่มีความสำคัญมากในกระบวนการ Matching
ชนิดของ Titanium Dioxide
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ rutile และ anatase ซึงมีโครงสร้างของผลึกแตกต่างกัน และให้สีทีี่ต่างกันคือ Rutile สีจะออกโทนเหลืองกว่า ส่วน Anatase สีจะออกโทน Blue กว่าเล็กน้อย และการทนต่อสภาพแสง Rutile จะมีความทนทานดีกว่า ส่วน anatase สีจะเปลี่ยนเป็นเหลืองได้เร็วกว่า นอกจากนั้น กระบวนการผลิตยังมี 2 กระบวนการที่ต่างกันซึ่งจะทำให้ได้ชนิดของ TiO2 ต่างกัน คือ sulphate process จะได้ rutile และ anatase ในขณะที่ Chloride process จะได้ rutile อย่างเดียว
Yellowing effect
การใช้ TiO2 เราจะพบปัญหาเรื่อง Yellowing ในพลาสติกบางประเภท และบางเกรดเช่น HDPE, LDPE บางเกรด ซึงปัญหา Yellowing เกิดจาก การ treat ผิว TiO2 ไม่ดีพอ และ การเติมสาร Phenolic Antioxidant มากเกินไปในพลาสติกเกรดนั้นๆ ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยากับก๊าซ Nitrogen ในอากาศ ทำให้สีเปลี่ยนเหลืองได้เมื่อเก็บใน ware house ซึ่งปฏิกิริยา Yellowing จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีสองปัจจัยนี้ในเวลาเดียวกันเท่านั้น นั่นคือ ถ้า TiO2 มีการ treat ผิวที่เหมาะสม ก็จะไม่มีปัญหา Yellowing แม้พลาสติกจะมี Phenolic Antioxidant อยู่มากก็ตาม ในทางตรงข้าม แม้ TiO2 จะ Treat ผิวมาไม่ดีก็จะไม่เกิดปัญหา Yellowing ถ้าพลาสติกไม่มี Phenolic Antioxidant มากเกินไป
การเลือกใช้ TiO2
การเลือกใช้ TiO2 ตั้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างเช่น ชนิดของ TiO2 เป็น rutile หรือ anatase ซึง rutile จะเหมาะกับงาน out door มากกว่า ดูการ treat ผิวว่าดีหรือไม่ อาจทำการทดสอบ Yellowing test ทั้ง indoor - Outdoor ในพลาสติกเกรดที่ใช้อยู่ นอกจากนั้นคือเรื่องของ Opacity เรื่องของราคา และการกระจายตัวที่ดีในพลาสติก TiO2 บางเกรดที่มีการ Treat ผิวที่ดี อาจไม่ต้องผสม lubricant ในกระบวนการผลิต และสามารถใช้ loading สูงถึง 80 %
TiO2 มีคุณสมบัติเป็น Anti Oxidant ในตัว คือสามารถสะท้อนแสง UV ไม่ให้ทำลายผิวพลาสติกได้อีกด้วย ฉะนั้น เราสามารถลดการใช้ UV Stabilizer ลงได้เมื่อมี TiO2 เป็นส่วนผสมหลัก
นอกจากนั้น ชิ้นงานที่มีความบางเป็นพิเศษและมีกระบวนการผลิตที่เร็ว ต้องเลือกเกรดที่กระจายตัวได้ดี ไม่เกิดปัญหา reagglomerate หรือ lacing ซึ่งทำให้ชิ้นงานขาด
http://all4polymers.gagto.com/?cid=270207
Titanium Oxide http://www.mne.eng.psu.ac.th/knowledge/student/s441010664/1.htm
TiO2เป็นSemiconductorPhotocatalyticซึ่งมีค่าพลังงานระหว่างชั้นเป็น3.2 eV ซึ่งผลิตมาจากกระบวนการ sulphate process และ chloride process ซึ่งผลผลิตที่ได้จะมีสมบัติพิเศษ ดังนี้
ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
มีความแข็งแรง
ยับยั้งและฆ่าเชื้อโรคถึง 99.99%
กำจัดความเป็นพิษในสภาพแวดล้อม
Titanium dioxide (TiO2) เป็น semiconductor photocatalyst
.
คำตอบที่ดีที่สุด - เลือกโดยเพื่อนๆ ที่ช่วยกันโหวต
ไทเทเนียมไดออกไซด์เป็นสารเก่าแก่ชนิดหนึ่งเท่าๆกับโลกของเรา และเป็นหนึ่งใน 50 ชนิดของสารที่ผลิตมากที่สุดทั่วโลก
ลักษณะโดยทั่วไป
============
มีสีขาว ทึบแสง เกิดเองตามธรรมชาติมี 2 รูปแบบ ใหญ่ คือ รูไทล์และอานาเทส ทั้ง 2 รูปแบบมีไทเทเนียมไดออกไซด์บริสุทธิ์อยู่กับสารปนเปื้อน ต้องผ่านกระบวนการทางเคมีจึงจะนำสารปนเปื้อนออกได้ เหลือไว้แต่ไทเทเนียมไดออกไซด์บริสุทธิ์
การใช้งาน
=======
ไทเทเนียมไดออกไซด์เป็นสารสีที่มีสีขาวมีประโยชน์สำหรับการใช้งานได้หลากหลาย เนื่องจากมันไม่มีกลิ่นและมีความสามารถในการดูดซับ แร่ชนิดนี้พบได้ในหลายผลิตภัณฑ์ตั้งแต่สีทาบ้านไปถึงอาหารและเครื่องสำอาง ในกลุ่มเครื่องสำอางใช้เพื่อหลายวัตถุประสงค์ ไทเทเนียมไดออกไซด์เป็นสารสีที่มีสีขาว เป็นตัวที่ทำให้เกิดการทึบแสง และเป็นตัวป้องกันแสงแดด
ความมีพิษและอันตราย
================
ไทเทเนียมไดออกไซด์ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของสารสีที่ปลอดภัย ไม่ใช่สารที่อยู่ในกลุ่มของสารก่อมะเร็ง สารที่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ สารที่ทำให้ตัวอ่อนในครรภ์เกิดความผิดปกติ หรือสารที่มีพิษ ด้วยเหตุนี้จึงสรุปได้ว่าไทเทเนียมไดออกไซด์ไม่ใช่สารที่มีพิษ โดยทั่วไปมีความปลอดภัยในการใช้กับอาหาร ยา สี และเครื่องสำอาง แต่นี่ไม่ใช่ข้อยุติสำหรับการโต้แย้ง ความปลอดภัยของไทเทเนียมไดออกไซด์ในอีกรูปแบบหนึ่งยังไม่ได้กล่าวถึง หนึ่งในรูปแบบของแร่ หรือการสกัดแร่รวมถึงไทเทเนียมไดออกไซด์ที่ควรคำนึงถึงคือ อนุภาคขนาดเล็กหรืออนุภาคขนาดนาโน ด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีทำให้สามารถทำแร่ให้มีขนาดเล็กได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ขณะที่หลายส่วนชื่นชมกับเทคโนโลยีใหม่ บางส่วนเตือนถึงอันตรายที่ซ่อนอยู่ภายในที่มาถึงร่างกายของเรา มีการศึกษาพบว่าอนุภาคขนาดเล็กของไทเทเนียมไดออกไซด์รูปแบบอนาเทส ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 0.1 ไมโครเมตร ก่อให้เกิดโรคได้
นอกจากนี้การบาดเจ็บต่อเซลขึ้นอยู่กับขนาดอนุภาคของไทเทเนียมไดออกไซด์ ยิ่งขนาดอนุภาคเล็กความเป็นพิษก็ยิ่งมากขึ้น โดยขนาด 70 นาโนเมตร สามารถแทรกผ่านถุงลมในปอดได้ ขนาด 50 นาโนเมตร สามารถแทรกผ่านเซลได้ และขนาด 30 นาโนเมตร สามารถแทรกเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางได้ ผลการสรุปนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้บริโภค เนื่องจากอุตสาหกรมเครื่องสำอางกำลังใช้สารสีขนาดเล็กเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในสารกันแดดและเครื่องสำอางที่ให้สี อนุภาคนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ถูกใช้ในสารกันแดดเนื่องจากไม่มีสีและแม้ว่าจะมีขนาดเล็กก็ยังสามารถดูดกลืนรังสีอุลตร้าไวโอเลตได้ มีบริษัทเครื่องสำอางหลายบริษัทที่เพิ่มทุนในการใช้อนุภาคนาโนของโลหะออกไซด์ อย่างไรก็ตามอนุภาคไทเทเนียมไดออกไซด์ที่ใช้ในฐานะที่เป็นสารกันแดดมีขนาดเล็กอาจจะสามารถแทรกผ่านเซล และนำไปสู่การเกิดกระบวนการโฟโตคะตะไลซิสภายในเซลได้ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ DNA เมื่อได้รับแสง และเป็นที่น่ากลัวว่าจะก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง การศึกษาโดยการใช้สารกันแดดที่มีไทเทเนียมไดออกไซด์ขนาดเล็กทุกวันเป็นเวลา 2-4 สัปดาห์ แสดงให้เห็นว่าผิวหนังสามารถดูดซับอนุภาคไทเทเนียมไดออกไซด์ขนาดเล็กได้ อนุภาคเหล่านี้พบได้ในชั้นของผิวหนังภายใต้แสงอุลตร้าไวโอเลต สำหรับอนุภาคไทเทเนียมไดออกไซด์ที่มีขนาดใหญ่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการสะท้อนหรือดูดกลืนแสงอุลตร้าไวเลตได้เพื่อปกป้องผิว ดังนั้นผู้บริโภคจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อนุภาคของสารสีขนาดเล็กไม่ว่าจะเป็นสารกันแดดหรือเครื่องสำอางที่ให้สี
ที่มา:
http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=5&ID=3
เว็บไชต์อื่นๆที่เกี่ยวกับ TiO2
http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=62609
http://www.most.go.th/news/newspaper/default.asp?GID=2898
http://learners.in.th/blog/awe2/6538
http://teenet.chiangmai.ac.th/emac/journal/2003/20/09.php
http://www.scisoc.or.th/stt/28/web/content/B_02/B01.htm
http://www.nstda.or.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=51&Itemid=73
3 ปี ผ่านไป แจ้งลบ http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080814010155AAkTHIj
อยากทราบวิธีคำนวณระหว่าง UV และ TiO2 ว่าจะได้ CO2 และ H2O ออกมาเป็นจำนวนเท่าไรครับ รบกวนด้วยครับ
ตอบลบอยากทราบว่าทำไมถึงพัฒนา TiO2ให้มีความชอบน้ำมากขึ้น
ตอบลบ