วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ถ่านกัมมันต์

http://www.vcharkarn.com/vcafe/30714

ถ่านกัมมันต์
โพสต์เมื่อ
: 22:46 วันที่ 12 พ.ค. 2548         ชมแล้ว: 31,557 ตอบแล้ว: 42
วิชาการ >> คาเฟ่>> ทั่วไป



ถ่านกัมมันต์ที่ทำจากขี้เลื่อยที่ได้จากไม้ยางมีสูตรโครงสร้างรึป่าว
 รู้ได้ไงว่าวัตถุดิบนี้ควรกระตุ้นด้วยเคมีหรือกายภาพ
 ประโยชน์ของถ่านกัมมันต์ที่ได้จากขี้เลื่อยเอาไปทำอะไรได้บ้าง

glad_kid@hotmail.com(203.156.25.39,,)





จำนวน 40 ความเห็น, หน้าที่| -1-

ความเห็นเพิ่มเติมที่ 1 16 พ.ค. 2548 (00:25)
ถ่านกัมมันต์หรือactivated charcoal เป็น amorphous form ของคาร์บอนจึงไม่มีโครงสร้างผลึก (พวกเพชร จะมีโครงสร้างผลึก) สูตรโครงสร้างก็ C (carbon) แต่ผ่านการ activate ไม่แน่ใจว่าวัตถุดิบมีผลหรือเปล่าในเมื่อมันให้เป็นธาตุคาร์บอนเหมือนกันแตความบริสุทธิ์,%yield และประสิทธิภาพหลังกระตุ้นแล้วคงไม่เท่ากันในแต่ละวัตถุดิบวิธักระตุ้นน่าจะใช้วิธีที่นิยมใช้อะ ประโยชน์ก็เป็นประโยชน์ของภ่านกัมมันต์คือเป็น filter กรองน้ำ ,เป็น adsorbent ตัวดูดซับ กลิ่น chemical impurities, decolorizer ดูดสี pigments,เป็น antidote กินเพื่อดูดซับยาบางชนิด สารพิษบางชนิด แต่จะใช้ได้ดีหรือเปล่าคงต้องทดสอบประสิทธิภาพในการดูดซับก่อนอะ

หอยโข่ง (IP:203.209.111.55,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 2 17 พ.ค. 2548 (20:54)
ขอบคุณมากคะคุณหอยโข่ง
 มีคำถามรบกวนอีกคะคืออยากทราบว่ารูพรุนขนาดเล็กมีความสามารถในการการดูดซับดีกว่าขนาดใหญ่ใช่ไหมคะ
 แล้วการกระตุ้นทางเคมีได้รูพรุนขนาดใหญ่ส่วนทางกายภาพได้รูพรุนขนาดเล็กจริงรึป่าวคะอย่างนี้วิธีทางเคมีก็ไม่ดีใช่ไหมคะแล้วทำไมคนนิยมใช่วิธีทางเคมีหละคะ(งง)

glad (IP:203.156.24.115,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 3 17 พ.ค. 2548 (21:41)
ใช่อันเดียวกันกับถ่านโค้กหรือป่าวค่ะ

คอมบุ
ร่วมแบ่งปัน101 ครั้ง - ดาว 152 ดวง - โหวตเพิ่มดาว


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 4 7 มิ.ย. 2548 (12:41)
อยากทราบว่าหลังจากการกระตุ้นแล้วจากนั้นนำถ่านไปเผาการเผาจะต้องควบคุมอุณหภูมิรึเปล่าคะแล้วเราใช้เตาเผาะรรมดาได้รึเปล่าคะ

au-jang@hotmail.com (IP:202.29.6.254,unknown,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 5 26 มิ.ย. 2548 (14:26)
มีใครทราบเครื่องmicromeritics ASAP 2000 บางรึป่าวว่ามีหลักการทำงานอย่างไร
 ช่วยหน่อยนะค่ะ

เด็กอยากรู้ (IP:203.156.25.131,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 6 19 ก.ค. 2548 (17:49)
ช่วยหาวิธีกำจัดสีในนำเสียก่อนเข้าระบบASให้ที ต้องการdataตัวไหนวานบอก

a (IP:203.155.21.58,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 7 15 ส.ค. 2548 (20:27)
การกระตุ้นทางเคมีเป็นการเปลี่ยน funtional group บน surface ของ activated carbon ซึ่งไม่น่าจะเกี่ยวกับขนาดของรูพรุน

คนธรรมดา (IP:202.44.14.194,10.1.9.215,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 8 14 ก.ย. 2548 (11:53)
บางทีถ้าขนาดของรูพรุนเล็กเกินไป ก็อาจทำให้ไฮเดรทของสารดูดซับเข้าไปได้ยากกว่ารูพรุนที่มีขนาดใหญ่
รวมถึงพื้นที่ผิวถ้ามีมากก็สามารถดูดซับได้ดี

ลูกช้าง (IP:202.28.27.4,202.28.24.163,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 9 12 ต.ค. 2548 (10:32)
น่าจะมีสูตรสำเร็จสำหรับการควบคุมการผลิตถ่านกัมมันต์ได้มั่งนะวอนท่านผู้รู้ช่วยชีแนะหน่อยนะครับ

คนจะเอาถ่าน (IP:203.156.138.2,203.144.141.141,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 10 6 ม.ค. 2549 (16:10)
ขอตอบที่ละคำถาม นะครับ
 ถ่านโค๊ก(Coke) กับถ่านกัมมันต์(Activated Carbon)คนละตัวกันนะครับ ถ่านโค๊กเป็นถ่านเชื้อเพลิงถ้าจำไม่ผิดก็พวกๆพี่ๆน้องๆถ่านหินนะ ส่วนถ่านกัมมันต์เป็นถ่านที่ใช้ประโยชน์ด้านการดูดซับกลิ่นสีประมาณนั้น ที่เห็นกันบ่อยก็คือถ่านที่ใส่ในที่กรองน้ำ หรือ ยาก้อนดำที่ใช้ดูดแก๊ซในทางเดินอาหาร หรือในตู้เย็น(แต่ไม่ใช้ถ่านหุงข้าวนะ)ในกล่องดูดกลิ่นของตู้เย็นบางรุ่น หรือใส่อยู่ในเครื่องฟอกอากาศ หรือ ใช้ในหน้ากากกันแก๊ซพิษที่เราเห็นเป็นจมูกหมูนแหละ ตรงที่เป็นจมูกหมูนั้นแหละเป็นกระเปาะใส่ถ่านพวกนี้อยู่ ส่วนการทำน้ำก็คือการนำถ่านธรรมดาที่ได้จากกระบวนการเผาถ่านหุงต้มเรานี้แหละ
 มาผ่านระบวนการกระตุ้น(Activate)อีกทีนึง จึงทำให้มันมีชื่อว่า Activated Carbon ซึ่งถ้าแปลตัวภาษาอังกฤษแล้วก็คือ"คาร์บอน(ถ่าน)ที่ผ่านการกระตุ้น(Activated)แล้ว"
 ส่วนวัตถุดิบที่แตกต่างก็ขึ้นอยู่ว่าเป็นอะไร อย่างถ่านที่ไ้ด้จากถ่านหินที่ผ่านการเผาถ่าน(Carbonization)แล้ว หรือถ่านที่มาจากกระลามะพร้าว วัตถุดิบที่แตกต่างกันก็ทำให้ถ่านกัมมันต์มีคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพแตกต่างกันไปด้วย
 ส่วนอีกประเด็นนึงก็คือ การกระตุ้น(Activate)ก็มี 2 แนวหลักๆ ก็คือการกระตุ้นด้วยสารเคมี และ ด้วยวิธีทางกายภาพ ซึ้งก็มีข้อดี ข้อด้อยด้วยกัน การระตุ้นด้วยสารเคมีนั้นมีข้อดีคือราคาถูกกว่า แต่ข้อด้อยก็คือการล้างสารเคมีออกในขั้นตอนสุดท้ายนั้นทำให้เกิดความยุ่งยาก ส่วนวิธีการทางกายภาพนั้นก็คือการเผาที่อุณภูมิสูง
 ส่วนประเด็นเรื่องสูตรสำเร็จนั้นมันไม่มีหรอกจ๊ะ เพราะมันขึ้นอยู่กับว่าผู้ผลิตมีวัตถุดิบคืออะไร เช่น ถ่านหิน, กระลา, ไม้, แกลบ และวัตถุประสงค์เพื่ออะไร ทำยา หรืออุตสาหกรรมอาหาร หรือ กำจัดสารพิษในอุตสาหกรรม แต่ถ้าอยากได้รายละเอียดเชิงลึกหน่อยแนะนำให้ไปที่ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ เพราะเขาได้รวบรวมpaperด้านนี้ไว้มาก

monay (IP:202.57.175.24,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 11 1 ก.พ. 2549 (09:36)
อยากรู้ว่าถ่านกัมมันต์ทำมาจากอะไร ใช่พืชหรือเปล่า ขอคำตอบอย่างด่วน

คำถ่าน (IP:202.129.44.58,172.20.200.120,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 12 22 ก.พ. 2549 (16:17)
อยากได้ข้อมูลวิจัยเกี่ยวกับถ่านกัมมันต์ต้องทำอย่างไงบ้างหาข้อมูลจากใหนบ้าง

bananamuay@hotmail.com (IP:125.24.85.213,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 13 23 ก.พ. 2549 (17:50)
อยากทราบว่ากลไกปฏิกิริยาของ activated carbon เป็นยังไง สามารถจับกับสารฟีนอลิกได้ยังไง

fon085@hotmail.com (IP:202.183.233.213,10.129.46.82,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 14 3 เม.ย. 2549 (17:37)
อยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างทางเคมีของเถ้าแกลบ
 แล้วทำไมถึงดูดซับสารต่างๆได้

... (IP:202.44.14.194,10.1.9.14,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 15 10 เม.ย. 2549 (14:48)
อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของ Activate carbon ที่แยกน้ำมันออกจากนำแอมโมเนีย เพื่อต้องการนำน้ำแอมโมเนียกับเข้าสู่ระบบ

Sutham@thainitrate.com (IP:210.1.18.98,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 16 20 มิ.ย. 2549 (13:48)
ถ่านกัมมันต์ผลิตจากสบู่ดำได้ไหม

At_@hotmail.com (IP:202.28.35.245,10.100.52.53,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 17 29 มิ.ย. 2549 (15:37)
อยากทราบว่า Activated carbon กับ Carbon Black เป็นสารชนิดเดียวกันหรือไม่ ถ้าไม่แตกต่างกันอย่างไร และนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร

tamaca28@hotmail.com (IP:124.120.234.241,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 18 13 ก.ค. 2549 (21:23)
ถ้าจะผลิตถ่านกัมมนต์โดยการนำพืชชนิดต่าง ๆไปเผาจะได้หรือไม่ ?
 ( นอกจากกะลา หรือ ไม้ )

Kira~KunG (IP:58.9.82.144,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 19 16 ก.ค. 2549 (12:03)
Activated carbon เป็นตัวดูดซับ ส่วนcarbon black เป็นสารเสริมแรง และให้สีดำ

kiddy (IP:58.64.101.23,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 20 18 ก.ค. 2549 (21:38)
ผมมีความสนใจอยากทำธุรกิจเกี่ยวกับถ่านกัมมันต์ควรเริ่มต้นอย่างไรหาข้อมูลด้านค้าขายได้จากทางไหนครับ...ขอบคุณครับ

forgetdream_sa@hotmail.com (IP:202.12.97.118,10.161.60.25,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 21 10 พ.ย. 2549 (14:43)
ไม่ทราบว่าจะซื้อถ่านกัมมันต์ มาเป็น standard ในการเปรียบเทียบกับที่ผลิตได้เอง..จะหาซื้อได้ที่ไหน ราคาเท่าไหร่/กิโลกรัม ผมอยู่กรุงเทพครับ..ขอบคุณ

jojoe_koong@hotmail.com (IP:202.151.41.2,,)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 22 14 ธ.ค. 2549 (17:31)
1.อยากว่าเมื่อทำการกระตุ้นด้วยสารละลายซิงค์คลอไรด์แล้วจะมีวิธีอย่างไรที่จะทำการเผาไม่ให้กัดกร่อนเตาเผาครับ
 2.การค่าไอโอดีนนัมเบอร์หาได้อย่างและคำนวณอย่างไร

pengpretty@hotmail.com (IP:203.158.118.15)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 23 16 ธ.ค. 2549 (13:04)
อยากทราบวิธีการในการเตรียมถ่านกัมมันต์อย่างละเอียดค่ะ ขอขอบคุณล่วงหน้า

ningnong35@hotmail.com (IP:58.8.159.180)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 25 19 ธ.ค. 2549 (19:24)
วิธีการหาค่าไอโอดีนนัมเบอร์
(Standard test method for determination of iodine number
of Activated carbon, ASTM D 4607)

1. เครื่องมือ
 - เครื่องชั่งละเอียด 4 ตำแหน่ง
 - เตาอบอุณหภูมิ 110-150 องศาเซลเซียส
 - ขวดรูปชมพู่ (Erlenmeyer Flask) ขนาด 250 มิลลิลิตร
 - กระดาษกรองเบอร์ 42 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มิลลิลิตร
 - เครื่องแก้ว: บิวเรตต์, ปิเปต, กรวยกรอง, บีกเกอร์, ขวดปรับปริมาตรขนาด 1 ลิตร
 - โถดูดความชื้น (Decicator)

2. สารเคมี และวิธีเตรียม
 2.1 สารละลายกรดไฮโดรคลอริก ร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก
 - ผสมกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นจำนวน 70 มิลลิลิตร ลงในน้ำกลั่น 550 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากัน
 2.2 สารละลายมาตรฐานโปแตสเซียมไอโอเดต 0.1000 นอร์มัล (normal, N)
 - ชั่งโปแตสเซียมไอโอเดต (Primary Standard Grade Potassium Iodate, KIO3) ที่ผ่านการอบที่อุณหภูมิ 110  5 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วทิ้งให้เย็นในโถ ดูดความชื้น จำนวน 3.5667  0.1 มิลลิกรัม ละลายน้ำกลั่นปริมาณ 100 มิลลิลิตร ถ่ายสารละลายลงในขวดปรับปริมาตร (Volumetric Flask) ขนาด 1 ลิตรทำให้เจือจางด้วยน้ำกลั่นจนได้ปริมาตร 1,000 มิลลิลิตร
 2.3 สารละลายมาตรฐานโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.1  0.001 นอร์มัล (normal, N)
- ละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต (Sodium Thiosulfate, Na2S2O3.5H2O) 24.820 กรัม ในน้ำกลั่นที่ผ่านการต้มให้เดือด 75  25 มิลลิลิตร เติมโซเดียมคาร์บอเนต 0.10  0.01 กรัม ถ่ายสารละลายลงในขวดปรับปริมาตร (Volumetric Flask) ขนาด 1 ลิตร ทำให้เจือจางด้วยน้ำกลั่นจนได้ปริมาตร 1,000 มิลลิลิตร เก็บสารละลายนี้ไว้ในขวดสีชา ทิ้งไว้อย่างน้อย 4 วัน ก่อนทำการตรวจสอบความเข้มข้น

2.4 สารละลายมาตรฐานไอโอดีน 0.1  0.001 นอร์มัล (normal, N)
 - ชั่งไอโอดีน 12.7 กรัม และโปแตสเซียมไอโอไดน์ (Kl) 19.1 กรัม ผสม ให้เข้ากัน เติมน้ำกลั่น 2-5 มิลลิลิตร คนให้ของแข็งละลาย ค่อยๆ เติมน้ำทีละน้อย (ครั้งละประมาณ 5 มิลลิลิตร) จนกระทั่งให้สารสารละลายประมาณ 40 มิลลิลิตร ทิ้งสารละลายไว้อย่างน้อย 4 ชั่วโมง คนเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าของแข็งละลายหมด ถ่ายสารละลายลงในขวดปรับปริมาตร (Volumetric Flask) ขนาด 1 ลิตร ทำให้เจือจางด้วยน้ำกลั่นจนได้ปริมาตร 1,000 มิลลิลิตร เก็บสารละลายนี้ไว้ในขวดสีชา ตรวจสอบความเข้มข้น กับสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.1 N
 2.5 สารละลายแป้ง
- สารละลายแป้ง (Soluble Starch) 1.0  0.5 กรัม ในน้ำเย็น 5-10 มิลลิลิตร คนสารละลายพร้อมกับเติมน้ำกลั่นเพิ่มอีก 25  5 มิลลิลิตร เทสารละลายลงในน้ำเดือด 1 ลิตร แล้วต้มต่อให้เดือดอีก 4-5 นาที

















ภาพที่ 1 ภาคผนวก ก การเตรียมสารเคมีในการวัดค่าไอโอดีนนัมเบอร์
 3. การตรวจสอบความเข้มข้นของสารละลาย
 3.1 การตรวจสอบความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต
 ใช้ปิเปตดูดสารละลายโปแตสเซียมไอโอเดต (KIO3) 25 มิลลิลิตร ใส่ในขวด รูปชมพู่ เติมโปแตสเซียมไอโอไดน์ (KI) 2.0  0.01กรัม เขย่าจนละลาย ปิเปตกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 5 มิลลิลิตร ลงในขวดรูปชมพู่แล้วไตเตรดทันทีด้วยสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.1 N เมื่อสีของสารละลายไอโอดีนจางลงจนกระทั่ง เป็นสีเหลืองอ่อน (ใกล้ถึงจุด End Point) หยดน้ำแป้ง 2-3 หยด สารละลายจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ไตเตรดต่อจนสารละลายไม่มีสี บันทึกปริมาตรของสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตที่ใช้ ทำการไตเตรดซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง คำนวณ หาความเข้มข้นสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตโดยใช้สูตร

N1 = (P.R)/S

เมื่อ N1 = ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต, นอร์มัล
P = ปริมาตรสารละลายโปแตสเซียมไอโอเดต, มิลลิลิตร
R = ความเข้มข้นสารละลายโปแตสเซียมไอโอเดต,
นอร์มัล
S = ปริมาตรสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตที่ใช้,
มิลลิลิตร

3.2 การตรวจสอบความเข้มข้นของสารละลายไอโอดีน
 ใช้ปิเปตดูดสารละลายไอโอดีน 25 มิลลิลิตร ใส่ในขวดรูปชมพู่ แล้วไตเตรด ทันทีด้วยสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต 0.1 N เมื่อสีของสารละลายไอโอดีนจางลงจนกระทั่งเป็นสีเหลืองอ่อน (ใกล้ถึงจุด End Point) หยดน้ำแป้ง 2-3 หยด สารละลายจะเป็นสีน้ำเงิน ไตเตรดต่อจนสารละลายไม่มีสี บันทึกปริมาตรของสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตที่ใช้ ทำการ ไตเตรดซ้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง คำนวณหาความเข้มข้นสารละลายไอโอดีนโดยใช้สูตร





N2 = (S.N1)/l

เมื่อ N2 = ความเข้มข้นของสารละลายไอโอดีน, นอร์มัล
S = ปริมาตรสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตที่ใช้, มิลลิลิตร
N1 = ความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟต, นอร์มัล
l = ปริมาตรสารละลายไอโอดีน, มิลลิลิตร

อรัญ (IP:203.155.54.242)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 26 19 ธ.ค. 2549 (19:29)
4.1 การเตรียมถ่านกัมมันต์

ศึกษาการเตรียมถ่านกัมมันต์และปัจจัยที่มีต่อประสิทธิภาพของถ่านกัมมันต์ คือผลของอุณหภูมิที่ใช้ในการเผา เวลาที่ใช้ในการเผากระตุ้น และอัตราส่วนโดยน้ำหนักของวัตถุดิบต่อสารกระตุ้นที่ใช้
4.1.1 การแปรสภาพอินทรีย์วัตถุให้เป็นถ่าน สถานที่ในการเตรียมถ่านในครั้งนี้ ทำในอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
1) การเตรียมหลุม ขุดหลุมลึกประมาณ 0.5-1 เมตร กว้าง 1 เมตร
2) นำเชื้อเพลิงวางก้นหลุม โดยวางหนาประมาณ 20-30 เซนติเมตร เชื้อเพลิงที่ใช้ ได้แก่ เศษใบไม้ กิ่งไม้เล็กๆ ฟางข้าว
3) จุดไฟเผาเชื้อเพลิงที่ก้นหลุม เมื่อไฟเริ่มติดบริเวณผิวด้านบนของ เชื้อเพลิงให้ใส่กะลาลูกตาลโตนดทีละน้อยจบเต็มหลุม รอจนสังเกตเห็นว่าไฟเริ่มลุกติด กะลาลูกตาลโตนด
4) นำแกลบปิดทับด้านบนให้หนาพอที่ควันไฟไม่สามารถขึ้นมาได้ ในช่วงนี้ต้องคอยเติมแกลบในช่วง 4-6 ชั่วโมงหลังจากเผา ทิ้งไว้อีกประมาณ 8-10 ชั่วโมง
5) เปิดปากหลุม นำถ่านที่ได้ใส่ในโอ่งเคลือบปิดฝาโอ่งให้แน่นไม่ให้อากาศเข้าไปได้เพื่อลดการเกิดขี้เถ่า ทิ้งไว้ประมาณ 1 คืน จนถ่านเย็นสนิท
6) การคัดขนาด นำถ่านที่ได้จากขั้นตอนข้างต้น มาคัดขนาดให้ได้ประมาณ 3-4 มิลิเมตร เพื่อเตรียมใช้ในกระบวนการกระตุ้นในขั้นตอนต่อไป

4.1.2 ผลของอุณหภูมิในการเผา ต่อประสิทธิภาพของถ่านกัมมันต์
1) ทำการบรรจุวัตถุดิบในภาชนะดินเผา ปิดฝา นำเข้าสู่กระบวนการเผาและกระตุ้นด้วยโซเดียมคลอไรด์ที่อุณหภูมิ 500 ,600 ,700,800 และ900 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง
2) ล้างสารกระตุ้น หลังจากการเผานำถ่านกัมมันต์มาล้างสารกระตุ้นที่เหลือจากการเผาโดยการแช่น้ำค้างคืนไว้ 1 คืน หลังจากนั้นล้างถ่านด้วยน้ำเดือดเพื่อล้างสารกระตุ้นออก แล้วนำไปอบแห้ง แล้วบดละเอียด จนสามารถร่อนผ่านตะแกรงคัดขนาด ( ตามมาตรฐานที่ใช้วิเคราะห์ค่าไอโอดีนนัมเบอร์ เช่น ASTM D 4607 ร่อนผ่านตะแกรงคัดขนาดเบอร์ 100 เมซได้ 95% และผ่านตะแกรงคัดขนาดเบอร์ 325 เมซได้ 60% )
 3) วิเคราะห์ค่าไอโอดีนนัมเบอร์ นำถ่านที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิต่าง ๆ ไปวิเคราะห์ค่าไอโอดีนนัมเบอร์ ตามวิธีการของ American Society for Testing and Material เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดติดผิวของถ่านกัมมันต์ที่ทำการเผาที่อุณหภูมิต่าง ๆ และเลือกอุณหภูมิการเผาที่ให้ถ่านกัมมันต์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มาใช้ในการทดลองในขั้นต่อไป ขั้นตอนการทดลองแสดงในภาพที่ 3.1





























ภาพที่ 3.1 ขั้นตอนการเตรียมถ่านพิจารณาอุณหภูมิที่เผา

4.1.3 ผลของอัตราส่วนโดยน้ำหนักของวัตถุดิบต่อโซเดียมคลอไรด์ต่อประสิทธิภาพของถ่านกัมมันต์
1) คัดขนาด นำถ่านที่ได้มาคัดขนาดให้ได้ประมาณ 3-4 มิลลิเมตร
2) ผสมกับเกลือแกง นำวัตถุดิบที่ได้มาผสมกับโซเดียมคลอไรด์ ที่อัตราส่วน1:0 ,1:1 ,1:2 ,1:3 และ1:4 โดยน้ำหนักของวัตถุดิบต่อโซเดียมคลอไรด์แล้วบรรจุลง ในภาชนะดินเผาปิดฝา แล้วนำเข้าสู่กระบวนการเผาและกระตุ้นในเตาเผาที่อุณหภูมิที่เหมาะสม ที่ได้จากการทดลองหาผลของอุณหภูมิในการเผา ต่อประสิทธิภาพของถ่านกัมมันต์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง อัตราส่วนของวัตถุดิบต่อโซเดียมคลอไรด์ที่อัตราส่วนต่างๆ ดังแสดงในตารางที่ 3.1

ตารางที่ 3.1 แสดงอัตราส่วนโดยน้ำหนักของวัตถุดิบต่อโซเดียมคลอไรด์

 วัตถุดิบ อัตราส่วนของวัตถุดิบ/โซเดียมคลอไรด์ จำนวนวัตถุดิบที่ทำการเผากระตุ้น (ส่วน) โซเดียมคลอไรด์ที่เติมลงในวัตถุดิบในขั้นตอนการเผาและกระตุ้น (ส่วน)

กะลาจาก
 ลูกตาลโตนด 1:0 1 -
1:1 1 1
 1:2 1 2
 1:3 1 3
 1:4 1 4

3) ล้างสารกระตุ้น หลังจากการเผานำถ่านกัมมันต์มาล้างสารกระตุ้นที่เหลือจากการเผาโดยการแช่น้ำค้างคืนไว้ 1 คืน หลังจากนั้นล้างถ่านด้วยน้ำเดือดเพื่อล้างโซเดียมคลอไรด์ออก นำไปอบแห้งแล้วบดละเอียด จนสามารถร่อนผ่านตะแกรงคัดขนาด ( ตามมาตรฐานที่ใช้วิเคราะห์ค่าไอโอดีนนัมเบอร์ เช่น ASTM D 4607 ร่อนผ่านตะแกรงคัดขนาดเบอร์ 100 เมซได้ 95% และผ่านตะแกรงคัดขนาดเบอร์ 325 เมซได้ 60% )
 4) วิเคราะห์หาค่าไอโอดีนนัมเบอร์ นำถ่านที่ผ่านการเผาที่อัตราส่วนต่าง ๆ ที่ร่อนผ่านตะแกรงแล้ว มาวิเคราะห์หาค่าไอโอดีนนัมเบอร์ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการ ดูดติดผิวของถ่านกัมมันต์ที่ทำการเผาที่อัตราส่วนโดยน้ำหนักของวัตถุดิบต่อสารกระตุ้นที่ต่างกัน และเลือกอัตราส่วนที่ทำให้ถ่านกัมมันต์มีประสิทธิภาพสูงสุด มาใช้ในการทดลองหาประสิทธิภาพการดูดติดผิวตะกั่ว ขั้นตอนการทดลองแสดงในภาพที่ 3.2





























ภาพที่ 3.2 ขั้นตอนการเตรียมถ่านพิจารณาอัตราส่วนน้ำหนักต่อสารกระตุ้น
6) ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพที่สำคัญของถ่านกัมมันต์ที่ได้ ดังต่อไปนี้
- ค่าการดูดติดผิวไอโอดีนตาม ASTM D 4607-94
- ค่าพีเอชตาม ASTM D 3838-80
- ค่าพื้นที่ผิวตาม ASTM C 819-77
 7) ศึกษาลักษณะโครงสร้าง พื้นผิว และความเป็นรูพรุนของถ่านกัมมันต์ ที่ได้ ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอล ( Scanning Electron Microscope : SEM )

4.2 การศึกษาความสามารถในการดูดติดผิวตะกั่ว

ศึกษาความสามารถในการดูดติดผิวตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ ของถ่านกัมมันต์ที่ได้จากการทดลองข้างต้น โดยใช้การทดลองแบบทีละเท (Batch Experiment) และศึกษาปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อการดูดติดผิว ได้แก่ อิทธิพลของค่าพีเอช เวลาสัมผัส และปริมาณถ่านกัมมันต์ นำผลที่ได้มาเขียนไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดลิซ

4.2.1 อิทธิพลของพีเอชต่อการดูดติดผิว
1) ปรับค่าพีเอช นำน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้น10 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาตร 100 ลบ.ซม. ที่ปรับค่าพีเอชให้เท่ากับ 2 ,3 ,4 ,5 ,6 ,7 ,8 และ 9 ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วกรองตะกอนออกโดยใช้กระดาษกรอง แล้วนำน้ำเสียไปวัดปริมาณตะกั่วที่เหลืออยู่
2) เขย่าบนเครื่องเขย่า นำน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาตร 100 ลบ.ซม. ที่ปรับค่าพีเอชให้เท่ากับ 2 ,3 ,4 ,5 ,6 ,7 ,8 และ 9 ใส่ลงในขวดรูปชมพู่ขนาด 250 ลบ.ซม.เติมผงถ่านกัมมันต์ปริมาณ 0.2 กรัม ลงในขวดแต่ละใบ นำขวดไปเขย่าบนเครื่องเขย่า เป็นเวลา 120 นาที
3) แยกผงถ่านกัมมันต์ออกโดยนำไปกรองผ่านกระดาษกรอง วัดค่าพีเอชของน้ำเสียหลังเขย่า แล้วนำน้ำเสียไปวัดปริมาณตะกั่วที่เหลืออยู่ ทำการทดลองซ้ำ 3 ซ้ำ ขั้นตอนการทดลองดังแสดงในภาพที่ 3.3

































ภาพที่ 3.3 ขั้นตอนการศึกษาอิทธิพลของ pH ที่เหมาะสมในการทดลองแบบทีละเท
(Batch Experiment)
 4.2.2 อิทธิพลของเวลาสัมผัสต่อการดูดติดผิว
1) เตรียมน้ำเสียสังเคราะห์ นำน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัม ต่อลิตร ปริมาตร 100 ลบ.ซม. ที่ปรับค่าพีเอชให้เท่ากับการทดลองในขั้นตอนข้างต้น ใส่ลงในขวดรูปชมพู่ขนาด 250 ลบ.ซม.เติมผงถ่านกัมมันต์ปริมาณ 0.1 กรัม ลงในขวดแต่ละใบ
2) นำขวดไปเขย่าบนเครื่องเขย่า เป็นเวลา 5 , 10 ,15 ,30 ,60 และ 120 นาที
3) แยกผงถ่านกัมมันต์ออกโดยนำไปกรองผ่านกระดาษกรอง วัดค่าพีเอช ของน้ำเสียหลังเขย่า แล้วนำน้ำเสียไปวัดปริมาณตะกั่วที่เหลืออยู่ ทำการทดลองซ้ำ 3 ซ้ำ ขั้นตอนการทดลองดังแสดงในภาพที่ 3.4

4.2.3 อิทธพลของปริมาณถ่านกัมมันต์ต่อการดูดติดผิว
1) เตรียมน้ำเสียสังเคราะห์ นำน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัม ต่อลิตร ปริมาตร 100 ลบ.ซม. ที่ปรับค่าพีเอชให้เท่ากับการทดลองในขั้นตอนข้างต้น ใส่ลงในขวดรูปชมพู่ขนาด 250 ลบ.ซม.
2) นำขวดไปเขย่าบนเครื่องเขย่า เติมผงถ่านกัมมันต์ปริมาณ 0.01 ,0.02 ,0.03 ,0.04 ,0.1 และ 0.2 กรัม ลงในขวดแต่ละใบ นำขวดไปเขย่าบนเครื่องเขย่า เป็นเวลา 120 นาที
3) แยกผงถ่านกัมมันต์ออกโดยนำไปกรองผ่านกระดาษกรอง วัดค่าพีเอชของน้ำเสียหลังเขย่า แล้วนำน้ำเสียไปวัดปริมาณตะกั่วที่เหลืออยู่ ทำการทดลองซ้ำ 3 ซ้ำ
4) เขียนกราฟสมการไอโซเทอม นำค่าที่ได้ไปเขียนกราฟสมการไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดลิซ ขั้นตอนการทดลองดังแสดงในภาพที่ 3.5









































ภาพที่ 3.4 ศึกษาอิทธิพลของเวลาสัมผัสที่เหมาะสมในการทดลองแบบทีละเท
(Batch Experiment)

อรัญ (IP:203.155.54.250)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 27 27 ธ.ค. 2549 (13:41)
แต่ activated charcoal นั้น ในสภาพจริง จะมีประสิทธิภาพตำกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อทำงานอยู่ในร่างกาย เพราะของเหลวในร่างกายจะลดประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้นจึงกินครั้งละ ๒ เม็ด สำหรับผู้ใหญ่

sk
ร่วมแบ่งปัน46 ครั้ง - ดาว 152 ดวง - โหวตเพิ่มดาว


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 28 9 ม.ค. 2550 (19:57)
อยากทราบว่ากลิ่นที่เกิดจากสารไฮโดรคาร์บอนหรือสารกลุ่มอะโรเมติกส์จะสามารถใช้ถ่านcarbon ในการดูดซับกลิ่นได้หรือไม่ครับ ขอบคุณมากครับ

ps_nod@yahoo.com (IP:124.120.17.142)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 29 26 ม.ค. 2550 (14:42)
อยากทราบวิธีการเตรียมน้ำเสียสังเคราะห์ใ นการบำบัดน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรม

takji@hotmail.com (IP:61.19.95.120)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 30 6 ก.พ. 2550 (09:16)
อยากทราบวิธีที่จะดึงเอาสีออกจากสารสกัดโดยใช้ activated charcoal ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

umpika_ph@hotmail.com (IP:203.185.68.195)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 31 7 ก.พ. 2550 (16:00)
ขอเพิ่มเติมความเห็นที่ 25(คุณอรัญ)
 การคำนวณ Iodine number
 X/M = ( 10 - (2.2 x 0.1 x V.of Na2S2O3) x 126.93 )/M
 X/M = Iodine number (mg/g)
 V.of Na2S2O3 = ปริมาตรของไธโอซัลเฟต (ml)
 M = นำหนักถ่านที่ชั่ง (กรัม)
2.2 = Dilution Factor (100+10)/50
 Don CGC

laos22donbundal@yahoo.co.th (IP:58.136.134.51)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 32 7 ก.พ. 2550 (16:28)
ใครมี Test method ของ Iodine number (British Standard : EN 12902) กรุณาช่วยส่งให้ด้วยครับ ผมจะทดลองทำดูครับ ตอนนี้ผมใช้วิธีของASTMอยู่
 ขอบคุณล่วงหน้าครับ
 ----------------------------------------------------------------
 Don CGC

laos22donbundal@yahoo.co.th (IP:58.136.134.51)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 33 7 มี.ค. 2550 (09:54)
ฝากถามถึงคุณอรัญค่ะ ว่าสัญลักษณ์ที่มันขึ้นว่า &#61617 ในข้อความข้างบนที่อธิบายถึงการเตรียมสารเคมีในการวิเคระห์ไอโอดีนฯ นั้น คืออะไร แล้วตัวเลขข้างหน้าหรือข้างหลัง สัญลักษณ์นี้ ตัวเลขไหนใช้ในการเตรียมแน่ งงมากค่ะ

nidsree1@hotmail.com (IP:58.137.48.4)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 34 7 มี.ค. 2550 (17:06)
ตอบ ค.ห.33
 &#61617 เท่าที่ได้อ่านดู และจากที่ผมได้เตรียมและทดลองอยู่ น่าจะเป็นค่า +/- เช่น
 " ชั่งโปแตสเซียมไอโอเดต (Primary Standard Grade Potassium Iodate, KIO3) ที่ผ่านการอบที่อุณหภูมิ 110 +/- 5 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วทิ้งให้เย็นในโถ ดูดความชื้น จำนวน 3.5667 +/- 0.1 มิลลิกรัม"

laos22donbundal@yahoo.co.th (IP:58.136.135.173)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 35 18 มี.ค. 2550 (15:12)
อยากทราบว่าผงถ่านกัมมันต์ที่หมดอายุการใช้งานในการดูดซับแล้ว สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรอย่างอื่นได้อีกบ้างครับ

naranaja2@hotmail.com (IP:124.157.172.190)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 37 22 มี.ค. 2550 (13:55)
อยากทราบว่า ถ้าเราหาค่า ไอโอดีนนัมเบอร์ ออกมาได้แล้ว
 จะสามารถ เอามาใช้ในการหา adsorption isotherm ของการดูดซับไอโอดีน ได้รึปล่าวครับ

redsentai@gmail.com (IP:158.108.25.167)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 38 18 มิ.ย. 2550 (17:10)
อยากทราบว่าจะสั่งซื้อถ่านกัมมันต์ได้ที่ไหนค่ะ ราคาประมาณเท่าไหร่/กก.

b4661658@hotmail.com (IP:124.120.245.138)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 39 20 เม.ย. 2551 (12:26)
อยากได้วิธีทำถ่านกัมมันต์ที่ง่ายๆครับ


meows21
ร่วมแบ่งปัน1 ครั้ง - ดาว 50 ดวง - โหวตเพิ่มดาว


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 40 16 ส.ค. 2552 (21:38)
อยากทราบว่าถ้าผสมนมกันผงถ่านกำมันต์แล้วจะได้ของผสมสีใดคะ
ใครทราบช่วยตอบด้วยนะคะ
ขอบคุณค่ะ


oil_29
ร่วมแบ่งปัน1 ครั้ง - ดาว 50 ดวง - โหวตเพิ่มดาว


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 41 26 มิ.ย. 2554 (22:24)
อยากทราบวิธีการและขั้นตอนอย่างละเอียดของการcalibrate เครื่องโอโซนที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย
 และอยากทราบว่าคุณสมบัติในการดูดซับของถ่านกัมมันต์แบบผงและผักตบชวาแบบที่ขึ้นรูปต่างกันอย่างไร

kunnay-somtavin@hotmail.com (IP:49.229.237.71)


ความเห็นเพิ่มเติมที่ 42 12 ต.ค. 2554 (12:47)
อยากทราบวิธีการหาค่า Iodine number ค่ะ
 ขอบคุณมากน่ะค่ะ

แอมป์ (IP:101.109.222.239)


จำไว้ตลอด




กรอกตัวอักษรตามภาพ

ตัวช่วย 1: CafeCode วิธีการใช้
ตัวช่วย 2: VSmilies วิธีการใช้
ตัวช่วย 3: พจนานุกรมไทย ออนไลน์ ฉบับราชบัณฑิต
ตัวช่วย 4 : dictionary ไทย<=>อังกฤษ ออนไลน์ จาก NECTEC
ตัวช่วย 5 : ดาวน์โหลด โปรแกรมช่วยพิมพ์ Latex เพื่อแสดงสมการบนวิชาการ.คอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น