วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำประปา

น้ำประปา
อิออนของอลูมิเนียมในสารส้มที่นำมาผลิตน้ำประปา มีผลทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ ในรายการวิเคราะห์คุณภาพน้ำประปาไม่มีรายการตรวจ
วัด อลูมิเนียมอยู่เลย  ท่านเคยสังเกตุไหมว่าเวลาขัดหม้ออลูมิเนียมน้ำจะเป็นสีดำ
ท่านเคยเรียนเรื่องการตกผลึกของสารส้มในสมัย ม.ต้น หรือเปล่า
อย่างนี้คนที่เป็นโรคความจำเสื่อม หรือ เอ็นทรานส์ไม่ติด จะมีสิทธิ์ฟ้องร้องการประปาไหม  เห็นโฆษณาว่าดื่มได้
นอกจากนี้ จากระบบการผันน้ำของการประปาที่นำมาใช้ในฝั่งธน น่าจะมีสารตะกั่ว จากห้วยคลิตี้ปะปนมาด้วย
เวลาตรวจสอบเจอสารอะไรเกินท่านเคยเห็นการประปาประกาศแจ้งเตือนชาวบ้านหรือเปล่า ถ้าน้ำไม่เหลืองหรือมีกลิ่นมามากจริงๆ
โดยเฉพาะการประปาส่วนภูมิภาค ไม่ต้องพูดถึงเรื่องคุณภาพน้ำเลย ส่วนใหญ่จะใช้น้ำจากแหล่งที่มีน้ำเสียลงไปได้ ที่ใช้น้ำจากแม่น้ำขนาด
ใหญ่จะมีจำนวนน้อย
ในระบบน้ำเสียของชุมชนจะอุดมไปด้วยธาตุโลหะหนักจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทองแดง ตะกั่ว ลิเที่ยม แบตเตอรี อัลคาไลน์   ตะกั่วถ่วงเบ็ด
ตะกั่วถ่วงข่ายดักปลา ไททาเนี่ยมไดอ็อกไซด์จากสบู่ ยาสระผม และครีมทาผิว  ซัลเฟตจากผงซักฟอก ฯลฯ  
น้ำประปาบางแหล่งเวลาเปิดน้ำแรงๆจะมีฟองขึ้นเต็มเลยทีเดียว
 ไททาเนี่ยมไดอ็อกไซด์ขนาดอนุภาคเล็กละเอียด สามารถซึมเข้าสู่ ผิวหนัง กระแสโลหิต ไปถึงเยื่อปอด และประสาทส่วนกลางได้  บางยี่ห้อ
ระบุว่า จะไม่ซึมลึกไปกว่าผิวหนัง แต่ขัดแย้งกับการทุ่มเงินวิจัยจำนวนมหาศาลของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์เพื่อให้ได้อนุภาคนาโนที่เล็กลง
ไปจนถึงการวิจัยระดับพิโค
น้ำประปาชุมชนใดใช้น้ำจากแหล่งน้ำใต้ดิน น่าจะมีสารเหล่านี้ปนอยู่น้อยกว่า ยกเว้น หินปูน เหล็ก
ท่านที่ใช้สบู่ที่มีส่วนผสมของไททาเนี่ยมไดอ็อกไซด์ ล้างหน้าให้ระมัดระวังอาการคันที่ใบหน้า  ในสูตรของโฟมล้างหน้าไม่นิยมใช้ไททาเนี่ย
มไดอ็อกไซด์เลย  สบู่ที่มีส่วนผสมของไททาเนี่ยมไดอ็อกไซด์เหมาะสำหรับการใช้ร่วมกับเครื่องซักผ้าวิลเวอร์นาโนมากกว่า เสื้อผ้าที่ท่านใส่จะ
สะท้อนรังสีได้ระดับนึงเลยทีเดียว  มีสบู่สมุนไพรวางขายในเซเว่นแล้ว
เวลาท่อประปาแตก ถ้าท่านไปดูเศษชิ้นส่วนท่านจะพบว่าในท่อจะมีตะกอนเป็นคราบสีเหลืองอยู่  การประปาแจ้งว่าปรกติมีกำหนดการล้างและ
เปลี่ยนท่ออยู่ แต่เท่าที่วิเคราะห์ดูน่าจะเป็นการล้างเฉพาะท่อที่ขนาดใหญ่มากๆเท่านั้น
คลอรีน และฟลูออไรด์ มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายสารประกอบไอโอไดท์  ถ้ากินเข้าไปจะไปรบกวนระบบภูมิต้านทานในร่างกายให้เข้าใจว่ามี
ภูมิต้านทานเยอะและหยุดสร้างภูมิต้านทานได้
นอกจากนี้คลอรีนยังระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจได้
ถ้าใช้น้ำประปาแปรงฟันแนะนำให้หาโอ่งมารองน้ำทิ้งไว้ค้างคืนก่อนใช้ ถ้าจะให้ดีควรผ่านเครื่องกรองก่อน  หรือหาน้ำดื่มมาใช้แปรงฟัน
น้ำในภาคอีสานจะมีระดับฟลูออไรด์สูงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์  แต่ปรกติยาสีฟันทั่วไปจะมีการใช้ สารให้ความหวาน  
เซลลูโลส ที่มีสูตรเคมีที่น่าจะย่อยยาก (Cellulose เป็น molecarใหญ่ หนึ่งของGlucose    ซึ่งข้อเสียของGlucose คือ มันจะferment  ทำให้Bacteria 
Growth  ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด ฟันผุ ได้)  และฟลูออไรด์ คนที่เป็นเบาหวาน หรือกลัวจะเป็น ไม่ควรใช้ แต่ยาสีฟันเกือบทุกยี่ห้อมีการใช้
สารให้ความหวานเช่นSorbitol กันทั้งนั้น แต่บางยี่ห้อที่ราคาระดับเกือบร้อยขึ้นไปจะใช้  Xylitol เป็นสารให้ความหวานหลักที่จะลดการเกิด
แบดทีเรียไปได้มาก แต่ส่วนใหญ่ก็ยังเติม Sorbitol อยู่เพื่อใช้เป็นสารรักษาสภาพความเปียกชื้นรอง(ลดต้นทุน) แต่เขาว่ากันว่ายาสีฟันราคาถูก
ส่วนใหญ่จะใส่แป้งเพื่อลดต้นทุนด้วย ซึ่งจะทำให้เข้าไปจับกับไอโอดีนด้วย  อย่างไรก็ตาม อาจมีความเป็นไปได้ ที่ เซลลูโลส (ก็เป็นกลูโคส
สายยาวอีกแบบหนึ่ง)  ก็ทำตัวเหมือนน้ำแป้งได้ ถ้ากลัวของหวานเข้าปาก ทางที่ดีที่สุด คือ กิ่งข่อยกับเกลือ ที่เคยมีการใช้มาตั้งแต่โบราณกาล
ต้นข่อย ที่เป็นส่วนผสมในยาสีฟันสมุนไพร ดอกบัวคู่ (แต่ก็ยังมีการเติมสาร Sorbitol อยู่) ปรกติมีขึ้นมากในธรรมชาติของ ภาคอีสาน ที่มี
ฟลูออไรด์ในธรรมชาติอยู่เยอะ ถ้าเหยาะเกลือจากภาคอีสานสักหน่อยก็ไม่ต้องกลัวการขาดฟลูออไรด์  แต่เกลือในภาคอีสานที่น่าจะปลอดภัยที่
สุดคือเกลือแถบมหาสารคาม ที่ไม่มีหินภูเขาไฟ หรือการตั้งฐานทัพของสหรัฐที่เสี่ยงต่อ สปอร์ของแอนแทรกซ์ ที่คาดว่ากระจายไปทั่วประเทศ
แล้วจากระบบการค้าและปนเปื้อนไปกับ เกลือ หนังวัว และข้าว
ด้วยระบบส่งบำรุงกำลังของสหรัฐ คาดว่าจะมีการนำเข้าเนื้อวัวเข้ามาด้วย ฐานทัพของทหารสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย 8 แห่ง คือ สนามบิน
ดอนเมือง (กรุงเทพฯ)  อู่ตะเภา (ชลบุรี)  ตาคลี (นครสวรรค์) นครราชสีมา, อุบลราชธานี, โนนสูง (อุดรธานี) น้ำพอง (ขอนแก่น)  และ
นครพนม     .ถึง พ . ศ . 2516จึงมีฐานทัพอเมริกาในไทยถึง 12 แห่ง คือ ที่อู่ตะเภา ตาคลี อุบลราชธานี อุดรธานี นครพนม น้ำพอง สัตหีบ ลพบุรี
เขื่อนน้ำพุง โคราช และ กาญจนบุรี โดยมีศูนย์บัญชาการใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ มีเครื่องบินสหรัฐประจำในไทยถึง 550 ลำ เพื่อใช้ในการทิ้ง
ระเบิดในลาว เขมร และเวียดนาม
 ดังนั้นพื้นที่ที่เหมาะแก่การเลี้ยงวัว และปลูกข้าว กล้อง อินทรีย์ชีวภาพ น่าจะเป็น ลุ่มน้ำเสียว  ที่น่าจะยังเป็นแหล่งที่ระบบการค้า
ของทั้งสามสิ่งยังไปไม่ถึง เคยมีข่าวเรื่องเชื้อแอนแทร็กซ์อยู่ครั้งสองครั้ง แล้วก็เงียบไป  ในบางประเทศถึงกับมีการเดินขบวนต่อต้านการ
อนุญาตให้นำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐเลยทีเดียว คนในสหรัฐส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ตระหนักถึงภัยจากโรคนี้ ถูกเบี่ยงเบนปิดหูปิดตา เนื่องจากเป็นเชื้อ
โรคฝังตัวเป็นเวลานับสิบปีที่จะไม่มีอาการ ฆ่าเชื้อด้วยความร้อนก็ไม่ได้  อาการเป็นโรคก็ไม่ชัดเจนในการตรวจหาก็ยาก
เวลารับประทานยาสมุนไพร ควรเลือกสมุนไพรที่ผ่านรังสีแกมม่าแล้ว  (แหลมทองการแพทย์)
น้ำยาบ้วนปากส่วนใหญ่จะทำปฏิกิริยากับคลอรีน เกิดก๊าซที่ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ  ควรนำน้ำที่ปลอดคลอรีนมาเจือจางก่อนใช้
ระบบบิลลิ่งของการประปา การไฟฟ้า ทีโอที เอไอเอส เคยมีปัญหาคิดเงินไม่ตรงอยู่ เวลาได้รับใบเสร็จให้ คูณตัวเลขดูให้ดี โดยเฉพาะผู้ที่จ่าย
โดยการหักบัญชีธนาคาร
น้ำดื่ม RO ควรรับประทานหลังอาหารทันที แต่ถ้าท่านกลัวภาวะการดูดซึมแร่ธาตุออกจากร่างกายให้ใส่เกลือสักห้าหกเกล็ด หรือหนึ่งหยิบมือต่อถัง ผู้ที่เป็นโรคไต หรือความดัน ให้ใช้ ผงน้ำตาลเกลือแร่แทนก็ได้

น้ำดื่ม  ในขวดแก้วมียี่ห้อ ช้าง   กับ  คริสตัล (  RO   NSF )            และ สิงห์ ที่หลังต้มให้แห้งจะมีคราบเหนียวเล็กน้อย        ต้องสั่งจากรถส่ง
แบบยกลัง จึงจะมีการส่งให้


http://www.thairath.co.th/column/life/fromfood/222150
http://www.pwa.co.th/document/performance_water.htm
บทนำ
     การจัดการคุณภาพน้ำในประเทศไทย มีหลายหน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบและร่วมกันดำเนินการอยู่ กรมควบคุมมลพิษ เป็นหน่วย
งานหนึ่งที่มีหน้าที่ส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการติดตามตรวจสอบและการควบคมคุณภาพน้ำ บทความนี้จะได้กล่าวถึงเรื่องคุณภาพน้ำและการ
ควบคุม ที่กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการมา โดยจะอธิบายถึงการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ สถานการณ์คุณภาพน้ำ การดำเนินการในการ
ควบคุมและจัดการคุณภาพน้ำที่ผ่านมา
การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำของกรมควบคุมมลพิษ
1.  แผนการติดตามตรวจสอบ
     ในแหล่งน้ำผิวดิน มีการติดตามตรวจสอบในแม่น้ำจำนวน 48 สาย และแหล่งน้ำนิ่งจำนวน 4 แหล่ง ดำเนินการ 4 ครั้ง/ปี สำหรับลุ่มน้ำภาค
กลาง และ 2 ครั้ง/ปี ในลุ่มน้ำภาคอื่นๆ และมีสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบอัตโนมัติอีกจำนวน 14 สถานี ครอบคลุมแหล่งน้ำทีสำคัญของ
ภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะในแม่น้ำสายหลักภาคกลาง เพื่อตรวจสอบและรายงานผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำในบริเวณที่ติดตั้งได้ตามที่กำหนด
นอกจากนี้จะเริ่มใช้สิ่งมีชีวิตเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำโดยร่วมกับชุมชนในพื้นที่
     ตัวอย่างจะทำการวิเคราะห์ในภาคสนาม สำหรับดัชนีความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิ ความเค็ม ความนำไฟฟ้า ความโปร่งใส สี กลิ่น ออกซิเจน
ละลาย ขยะลอยน้ำ น้ำมันและไขมันลอยน้ำ และส่งตัวอย่างกลับห้องปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะห์ดัชนีคุณภาพน้ำอื่นๆ เช่น สารแขวนลอย
ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โลหะหนัก แบคทีเรีย สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เป็นต้น
2.   มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำแหล่งน้ำผิวดิน
     ได้มีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ต่างๆ พร้อมทั้งกำหนดดัชนีคุณภาพน้ำที่ต้องทำการ
ตรวจวัดทั้งหมด 28 ชนิด มาตรฐานดังกล่าวเป็นประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยแบ่งคุณภาพน้ำออกเป็น 5 ประเภท ขึ้นอยู่กับ
ลักษณะการใช้ประโยชน์ และกรมควบคุณมลพิษ ก็ได้ประกาศประเภทคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำต่างๆ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง
บางปะกง ปราจีนบุรี นครนายก เพชรบุรี ตาปี-พุมดวง ปากพนัง ปัตตานี สงครา พอง ชี มูล และลำตะคอง สำหรับแหล่งน้ำอื่นๆ ก็จะได้ดำเนิน
การในลำดับต่อไป
สรุปสถานการณ์คุณภาพน้ำ
     ในปี พ.ศ. 2543 กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพแหล่งน้ำสำคัญทั่วประเทศ โดยแหบ่งเป็นแม่น้ำจำนวน 47 สาย
และแหล่งน้ำนิ่ง 4 แหล่ง ได้แก่ กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด หนองหานและลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (ประกอบด้วย ทะเลน้อย ทะเลหลวง และ
ทะเลสาบสงขลา) พบว่า แหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑฑ์ดีมีอยู่จำนวน 9 แหล่ง หรือเท่ากับร้อยละ 18 แหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์พอใช้มีอยู่จำนวน 23
แหล่ง หรือเท่ากับร้อยละ 45 แหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำมีอยู่จำนวน 18 แหล่ง หรือเท่ากับร้อยละ 35 และแหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำมากมีอยู่
จำนวน 1 แหล่ง หรือเท่ากับร้อยละ 2 (ดังตารางที่1)
     แหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก ได้แก่ แม่น้ำท่าจีน โดยเฉพาะในช่วงท่าจีนตอนล่าง (ตั้งแต่อ.นครชัยศรี จ.นครปฐมจนถึงปากแม่น้ำจ.สมุทา
สาคร) แหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์สำหรับใช้เพื่อการอุตสาหกรรม การอุปโภคและบริโภคโดยต้องทำการฆ่าเชื้อโรคและปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็น
พิเศษก่อนในภาคกลางได้แก่ เจ้าพระยา ป่าสัก สะแกกรังน้อย ลพบุรี และเพชรบุรี ภาคตะวันออกได้แก่ บางปะกง นครนายก ระยอง และประ
แสร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ ลำตะคองตอนล่าง (ท้ายอ่างเก็บน้ำลำตะคองไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา) ภาคเหนือได้แก่ ยม น่าน กวง
กก และอิง ภาคใต้ได้แก่ ทะเลสาบสงขลา ทะเลหลวง และแม่น้ำตรัง
ตารางที่ 1   สรุปคุณภาพน้ำโดยรวมของแหล่งน้ำสำคัญทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2543
มาตราฐานคุณภาพน้ำ การใช้ประโยชน์ จำนวนแหล่งน้ำ ร้อยละ
ดีมาก * การขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต การอุปโภคและบริโภคโดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติ - -
ดี การอนุรักษ์สัตว์น้ำ การประมง การว่ายน้ำ กีฬาทางน้ำ การอุปโภคและบริโภค โดยต้องทำการฆ่าเชื้อโรคและปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อน 9 18
พอใช้ การเกษตร การอุปโภคและบริโภคโดยต้องทำการฆ่าเชื้อโรคและปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อน 23 45
ต่ำ การอุตสาหกรรม การอุปโภคและบริโภคโดยต้องทำการฆ่าเชื้อโรคและปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นพิเศษก่อน 18 35
ต่ำมาก การคมนาคม 1 2
หมายเหตุ   * เป็นแหล่งน้ำที่เป็นต้นน้ำลำธารปราศจากน้ำทิ้งจากกิจกรรมทุกประเภท ซึ่งไม่ได้มีการตรวจวัด
     คุณภาพน้ำในปี 2543 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2542 พบว่า แหล่งน้ำบางแห่งที่เคยมีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก เช่น แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
(จังหวัดนนทบุรีจนถึงปากแม่น้ำจังหวัดสมุทรปราการ) และลำตะคองตอนล่าง แหล่งน้ำเหล่านี้มีคุณภาพดีขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้พบว่าปริมาณน้ำ
ท่าในปี 2543 ของแหล่งน้ำต่างๆ ส่วนใหญ่เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2542 ดังนั้นปริมานน้ำที่ช่วยเจือจางสิ่งสกปรกในแหล่งน้ำจึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ
ให้คุณภาพน้ำดีขึ้น พารามิเตอร์ที่เป็นปัญหาต่อคุณภาพแหล่งน้ำผิวดินทั่วประเทศ มาจากการปนเปื้อนของแบคทีเรียทั้งสองชนิด ประมาณร้อย
ละ 42 รองลงมา คือ ความขุ่น (ความขุ่นและของแข็งทั้งหมด) ร้อยละ 34 ออกซิเจนละลายร้อยละ 12 แอมโมเนียร้อยละ 7 ฟอสฟอรัสร้อยละ 4
และค่าความสกปรกในรูปบีโอดีประมาณร้อยละ 1 ดังแสดงในรูปที่ 1

รูปที่ 1 แสดงพารามิเตอร์ที่เป็นสาเหตุให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม
     ปัญหาคุณภาพน้ำที่เกิดขึ้นโดยภาพรวมทั้งประเทศแล้ว พบว่าสาเหตุเกิดจากการระบายของเสีย จากแหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆ โดยเฉพาะตาม
เมืองและแหล่งชุมชนใหญ่ ลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้ตรวจพบการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟิคอลโคลิฟอร์มในปริมาณสูงเกินค่ามาตรฐานใน
ช่วงที่แหล่งน้ำไหลผ่านชุมชนเมือง ปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ แหล่งน้ำหลายแห่งโดยเฉพาะในภาคเหนือ มักมีความขุ่นสูงมาก สาเหตุเนื่อง
มาจากสภาพธรรมชาติที่เป็นพื้นที่สูง ทำให้เกิดการกัดเซาะและพังทลายของดินลงสู่แหล่งน้ำ และยังทำให้กระบวนการผลิตน้ำประปามีค่าใช้
จ่ายในการกำจัดตะกอนเพิ่มมากขึ้น
     สำหรับเหตุการณ์ปัญหาคุณภาพน้ำที่เกิดขึ้นในปี 2543 ที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหามลพิษในแม่น้ำท่าจีนโดยในช่วงปลายเดือนเมษายนถึง
พฤษภาคม 2543 ได้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ปลาในแม่น้ำตายเป็นจำนวนมาก และก่อให้เกิผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำในด้าน
ต่างๆ ซึ่งได้รายงานไว้ในลำดับต่อไป
     ในแหล่งน้ำนิ่งซึ่งประชาชนมีความวิตกกังวลกับปัญหาการเจริญเติบดตอย่างรวดเร็วของสาหร่ายและพืชน้ำ (Eutrophication) และอาจมี
สาหร่ายบางชนิดที่มีความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตทำให้เกิดปัญหาต่อกระบวนการผลิตน้ำประปาเมื่อใช้แหล่งน้ำนั้นเป็นแหล่งน้ำดิบ เช่น อ่าง
เก็บน้ำเขื่อนแม่กวง อ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่งัด จังหวัดเชียงใหม่ กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา หนองหาร จังหวัดสกลนคร อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง
จังหวัดนครราชสีมา และอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี ไม่พบสารพิษไมโครชิสติน (สารพิษนี้สร้างจากสาหร่าย Microcystis aeruginosa
โดยเป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดตับอักเสบ และเร่งการเกิดมะเร็งในตับ) ในปริมาณที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อน้ำดิบเพื่อการประปาในทั้ง 6
แหล่งน้ำ ซึ่งมาตรฐานกำหนดให้มีค่าไม่เกินกว่า 0.1 ไมโครกรัมต่อลิตร ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO)
     ส่วนผลการตรวจสอบปริมาณโลหะหนักประเภท แคดเมี่ยม โครเมี่ยมทั้งหมด โครเมียมชนิดเฮ็กซา วาเล้นท์ แมงกานีส นิคเกิล ตะกั่ว สังกะสี
และปรอด ในแหล่งน้ำทุกบริเวณที่ตรวจสอบยังมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำประเภทที่ 2-4
การควบคุมคุณภาพน้ำ
1.  การกำหนดพื้นที่อนุรักษ์แหล่งน้ำดิบเพื่อการประปา
1.1   เขตอนุรักษ์แหล่งน้ำดิบเพื่อการประปานครหลวง พ.ศ. 2522 ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 17 เมษายน 2522 และเขตอนุรักษ์แหล่งน้ำดิบ
เพื่อการประปานครหลวง พ.ศ. 2531 ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 12 มกราคม 2531 เรื่องมาตรการการอนุรักษ์แหล่งน้ำดิบเพื่อการประปานคร
หลวง ได้มีมติเห็นชอบเกี่ยวกับการอนุรักษ์แหล่งน้ำดิบเพื่อการประปานครหลวงบริเวณอำเภอเมือง จ.ปทุมธานี สาระสำคัญคือ ไม่อนุญาตให้
ตั้งหรือขยายโรงงานอุตสาหกรรมที่มีน้ำทิ้งที่มีสารเป็นพิษประเภทโลหะหนัก และไม่อนุญาติให้ตั้งหรือขยายโรงงานอุตสาหกรรมที่มีน้ำทิ้ง
ประมาณเกินกว่าวันละ 50 ลูกบาศก์เมตร รวมทั้งมีการกำหนดเขตควบคุมและอนุรักษ์(เพิ่มเติม) ในพื้นที่จังหวัดอยุธยาและปทุมธานี
1.2   เขตอนุรักษ์แหล่งน้ำดิบเพื่อการประปานครหลวง บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา พ.ศ. 2535 ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 11
กุมภาพันธ์ 2535 เรื่อง มาตรการอนุรักษ์แหล่งน้ำดิบเพื่อการประปาฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา สาระสำคัญ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับ
ผิดชอบดำเนินการตามมาตรการที่เสนอ กำหนดเขตพื้นที่อนุกรักษ์บริเวณคลองมหาสวัสดิ์และแม่น้ำท่าจีน มีการควบคุมและห้ามตั้ง หรือขยาย
โรงงาน และดูแลกิจตกรรมที่มีมลพิษสูง
     นอกจากเขตอนุรักษ์ที่กล่าวข้างต้นแล้วหากปรากฎว่าพื้นที่ใดมีลักษณะเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารหรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติที่แยกต่าง
จาดพื้นที่อื่นโดยทั่วไป หรือมีระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติที่อาจถูกทำลายหรืออาจได้รับผลกระทบกระเทือนจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้โดย
ง่าย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดยคำแนะนำของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอำนาจกำหนดให้พื้นที่นั้นเป็นเขต
พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และสามารถกำหนดมาตรการคุ้มครองต่างๆ เช่น กำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อรักษาสภาพธรรมชาติหรือมิ
ให้กระทบกระเทือนต่อระบบนิเวศน์ กำหนดประเภทของขนาดของโครงการภาครัฐและเอกชน ที่จะทำการก่อสร้างหรือดำเนินการในพื้นที่
ให้มีหน้าที่ต้องเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
2.   การควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด
2.1  จากน้ำทิ้งชุมชน   การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำเสียจากชุมชน เป็นน้ำเสียจากกิจกรรมการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ การจัดการที่
สำคัญประการหนึ่งในการลดปัญหาน้ำเสียจากชุมชนคือ การจัดให้มีระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียชุมชน เพื่อบำบัดน้ำเสียให้มี
คุณภาพได้ตามเกณฑ์มาตรฐานก่อนที่จะระบายลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยในอดีตที่ผ่านมาจนถึงในปี 2544 ประเทศไทยมีระบบบำบัดน้ำเสีย
ชุมชนกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งที่เดินระบบแล้ว รอส่งมอบ และกำลังก่อสร้าง ดังแสดงในตารางที่ 2
ตารางที่ 2   สถานะและความสามารถในการรองรับปัจจุบันของระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนทั่วประเทศ
พื้นที่ จำนวนระบบบำบัดน้ำเสีย
 ความสามารถในการรองรับ
น้ำเสียรวม
(ลบ.ม./วัน)

เดินระบบแล้ว
+(ขยายระบบ) *
(แห่ง)
 รอส่งมอบ
(แห่ง) กำลังก่อสร้าง
(แห่ง) รวม
(แห่ง)
กรุงเทพมหานคร 3 - 4 7 992,000
กลาง 15 6 3 24 857,059
ตะวันออก 12 2 - 14 305,300
เหนือ 6 - 4 10 164,159
ตะวันออกเฉียงเหนือ 10 1 3 14 193,413
ใต้ 6 1 6 13 318,250
รวม
 52 10 20 82 2,830,181
* พื้นที่ที่กำลังเดินระบบฯ และปัจจุบันอยู่ในระหว่างขยายระบบด้วย มีจำนวน 4 แห่ง คือ ทน.ขอนแก่น ทน.นครราชสีมา ทม.ภูเก็ต และ ทต.ป่า
ตอง
     สำหรับการกำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งชุมชนที่ได้มีการกำหนดขขึ้นและบังคับใช้แล้ว มีดังนี้
1)   กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด มีการกำหนดมาตรฐานนิ้ทิ้งจากอาคาร 10 ประเภท ซึ่งเริ่ม
มีผลบังคับใช้ในทางกฎหมายแล้ว 8 ประเภทคือ อาคารประเภท ก ประเภทต่างๆ ตามประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป
เล่มที่ 111 ตอนพิเศษ 9 ง ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2537 มีผลบังคับใช้วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2538
2)   กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร และกำหนดให้ที่ดินจัดสรรเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการ
ปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม แบ่งประเภทที่ดินจัดสรรออกเป็น 2 ประเภท คือ ที่ดินจัดสรรเกิน 100 แปลง แต่ไม่
เกิน 500 แปลง และที่ดินจัดสรรเกินกว่า 500 แปลงขึ้นไป ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม 113 ตอนพิเศษ 8 ง ลงวันที่ 27
มีนาคม 2539 และมีผลบังคับใช้กับที่ดินจัดสรรที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน ตั้งแต่ วันที่ 27 มีนาคม 2539 เป็นต้นไป
2.2  จากน้ำทิ้งอุตสาหกรรม
     น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งของปัญหามลพิษทางน้ำ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรม
จำนวนมาก และน้ำเสียจาก
โรงงานอุตสาหกรรมมีปริมาณและความสกปรกแตกต่างกัน และอุตสาหกรรมบางประเภทยังมีการปนเปื้อนของสารพิษประเภทต่างๆ ด้วย
     มาตรการหนึ่งคือการควบคุมให้มีการบำบัดน้ำเสียก่อนระบายออกจากโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้มีการกำหนดมาตรฐานควบคุม
การระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งการกำหนดประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม
รวมทั้งการกำหนดประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม มีการกำหดนพารามิเตอร์ที่บังคับใช้ 18 พารามิเตอร์ ประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113 ตอนที่ 13 ง ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539
2.3  จากน้ำทิ้งเกษตรกรรม
เป็นน้ำใช้จากพื้นที่เพาะปลูก น้ำทิ้งจากกิจกรรมปศุสัตว์ รวมทั้งน้ำเสียจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในปัจจุบันได้มีการกำหนดมาตรฐานควบคุม
การระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทการเลี้ยงสุกร และกำหนดให้การเลี้ยงสุกรเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการ
ปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไปเล่ม 119 ตอนพิเศษ 18 ง ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544
ผลบังคับใช้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2544 โดยได้มีการกำหนดประเภทของฟาร์ม และค่าความเข้มข้นของปริมาณบีโอดีก่อนปล่อยน้ำทิ้งลงสู่
แหล่งน้ำ
สรุป
ปัจจุบันนี้คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายสำคัญโดยทั่วไปแล้วอยู่ในระดับพอใช้ ในขณะที่แม่น้ำที่ไหลผ่านชุมชนขนาดใหญ่อยู่ในระดับที่เสื่อมโทรม
คุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรมเป็นผลมาจากการปนเปื้อนของน้ำเสียจากชุมชน อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม การตัดไม้ทำลายป่า และโครงการ
พัฒนาต่างๆ ในหลายพื้นที่คุณภาพน้ำเสื่อมโทรมจนส่งผลกระทบต่อทรัพยากรทางน้ำ การใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ และผลกระทบต่อ
สุขภาพอนามัยของผู้ใช้น้ำ ดังนั้นการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องควรจะมีความเคร่งครัดยิ่งขึ้น การจัดการคุณภาพน้ำควรจะดำเนินการให้
เป็นระบบและทำเป็นแบบบูรณาการทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำ รวมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและองค์กรเอกชนในพื้นที่มีส่วนร่วมใน
การจัดการ เพื่อให้มีการพัฒนาทรัพยากรมน้ำเป็นอย่างยั่งยืน

--------------------------------------------------------------------------------
ทรัพยากรน้ำ และความต้องการใช้น้ำ
ทรัพยากรน้ำ
     ประเทศไทยมีพื้นที่รวม 512,000 ตารางกิโลเมตร จำแนกทางอุทกวิทยาออกเป็น 25 พื้นที่ลุ่มน้ำหลัก (ตารางที่ 3) มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยต่อปี
ทั้งประเทศประมาณ 1,700 มิลลิเมตร ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นปริมาณน้ำจากน้ำฝนปีละประมาณ 800,000 ล้านลูกบาศก์เมตร  600,000 ล้านลูกบาศก์
เมตร จะซึมลงใต้ดินและระเหยกลับไปสู่บรรยากาศเหลือเพียง 200,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่อยู่ในแม่น้ำลำคลอง หนอง บึง ปัจจุบันการพัฒนา
แหล่งน้ำในรูปแบบต่างๆ ทั้งโครงการขนาดใหญ่และขนาดกลาง 650 แห่ง และโครงการขนาดเล็ก 60,000 แห่ง สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ได้
70,800 ล้านลูกบาศก์เมตร (ตารางที่ 3) หรือประมาณร้อยละ 30 ของปริมาณน้ำเฉลี่ยทั้งปี ส่วนที่เหลือไหลลงสู่ทะเล
     ปริมาณน้ำฝนปีละ 600,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ซึมลงไปใต้ดินและระเหยกลับไปในอากาศ มีเพียงส่วนหนึ่งไหลไปกักเก็บน้ำอยู่ใน
แหล่งน้ำใต้ดิน ปริมาณน้ำที่ไหลลงไปเก็บกักในแหล่งน้ำใต้ดินนี้จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะและสภาพของชั้นหิน สามรถที่จะเก็บกัก
น้ไว้ได้สูงถ้าเป็นหินร่วน เช่น กรวด ทราย ดินเหนียว โดยชั้นน้ำใต้ดินที่เป็นกรวดทรายสามารถเก็บน้ไว้ในช่องว่างหรือรูพรุนได้สูง ถ้าเป็น
หินแข็งปริมาณน้ำที่เก็บไว้ได้จะขึ้นอยู่กับช่องว่างที่เกิดจากรอยแตก รอยเลื่อน โพรง หรือช่องว่างระหว่างการวางตัวของชั้นหิน การศึกษาทาง
อุทกธรณีวิทยาสามารถประเมินเบื้องต้นได้ว่า แต่ละปีน้ำฝนไหลซึมลงไปเก็บกักในหินร่วนประมาณร้อยละ 10 และในส่วนหินแข็งประมาณ
ร้อยละ 2-5 ในประเทศไทยมีทั้งหินร่วนและหินแข็งที่เป็นแหล่งน้ำใต้ดิน โดยในภาพรวมปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำใต้ดินทั่วประเทศ
ปีละประมาณร้อยละ 5 ของปริมาณฝนทั้งหมด หรือประมาณปีละ 38,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แยกเป็นภาคเหนือ 11,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาค
กลาง 2,800 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9,700 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันออก 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ภาคตะวันตก 3,500
ล้านลูกบาศก์เมตร และภาคใต้ 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำที่ซึมลงไปเหล่านี้จะไม่สามารถเก็บกักไว้ในแหล่งน้ำใต้ดินได้ทั้งหมด มี
บางส่วนไหลลงสู่ทะเล หรือไหลไปสู่แม่น้ำลำธาร ปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในการประเมิณปริมาณน้ำใต้ดินทั้งหมดในประเทศไทย ซึ่งเป็น
แหล่งน้ำที่จัดว่ามีความสะอาด และศักยภาพสูงสำหรับใช้ในการบริโภคอุปโภค
     น้ำฝนเองเป็นทรัพยากรน้ำที่มีคุณค่าและความสะอาดสูง ความสามารถรองรับและเก็บกักในภาชนะไว้เพื่อใช้ในการบริโภคอุปโภคได้โดย
ตรง ปริมาณน้ำฝนทั่วประเทศดังกล่าวมาแล้ว แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการนำน้ำฝนมาใช้ปรโยชน์ทั้งในเขตเมืองและชนบท
ตารางที่ 3   ความต้องการใช้น้ำเพื่อการบริโภคอุปโภค และรวมทั้งหมดใน 25 ลุ่มน้ำหลัก
  ลุ่มน้ำ พื้นที่
(ตร.กม.) น้ำท่า
(ล้าน ลบ.ม.) ความจุของอ่าง
(ล้าน ลบ.ม.) พื้นที่ชลประทาน
(ไร่) ความต้องการใช้น้ำ (ล้าน ลบ.ม./ปี)
การบริโภคอุปโภค รวมทั้งหมด
1 สาละวิน 17,920 8,571 24 188,948 16.42 633.35
2 แม่โขง 57,422 19,362 1,551 1,692,333 134.55 4,457.88
3 กก 7,895 5,279 30 520,767 15.33 416.72
4 ชี 49,477 8,752 4,246 1,863,173 244.79 5,453.61
5 มูล 69,700 26,655 4,255 1,819,785 432.18 3,652.33
6 ปิง 33,898 7,965 14,107 1,942,927 76.26 6,127.46
7 วัง 10,791 1,104 197 472,350 21.21 553.63
8 ยม 23,616 3,117 98 994,205 53.95 913.08
9 น่าน 34,330 9,158 9,619 1,780,637 66.61 5,520.41
10 เจ้าพระยา 20,125 22,015 33 5,731,375 2,240.45 11,009.04
11 สะแกกรัง 5,191 1,297 162 436,410 8.62 887.37
12 ป่าสัก 16,292 2,820 124 661,120 95.60 1,022.98
13 ท่าจีน 13,682 22,300 416 2,385,259 405.19 4,697.30
14 แม่กลอง 30,837 7,973 26,690 3,400,000 20.34 9,013.67
15 ปราจีนบุรี 10,481 5,192 57 733,862 10.86 849.18
16 บางประกง 7,978 3,713 74 1,353,263 23.23 2,268.77
17 โตนเลสาป 4,150 6,266 96 123,720 12.60 209.60
18 ฝั่งทะเลตะวันออก 13,830 11,115 565 427,000 212.60 870.06
19 เพชรบุรี 5,603 1,400 750 562,688 17.20 1,820.20
20 ฝั่งทะเลตะวันตก 6,745 1,420 537 327,015 20.97 1,403.97
21 ภาคใต้ฝั่งตะวันออก 26,353 23,270 5 1,780,481 65.10 3,771.20
22 ตาปี 12,225 12,513 5,865 245,970 35.90 2,776.50
23 ทะเลสาปสงขลา 8,495 4,896 28 905,550 93.95 3,088.65
24 ปัตตานี 3,858 2,738 1,420 337,878 33.64 1,626.75
25 ภาคใต้ฝั่งตะวันตก 21,172 25,540 20 339,273 72.10 325.10
  รวมทั้งหมด 512,066 244,431 70,769 31,025,989 4,429.65 73,368.81
ความต้องการใช้น้ำ
     ภายใต้สถานการณ์และแนวโน้มปัจจุบัน ซึ่งมีความต้องการใช้น้ำในการบริโภคอุปโภค และกิจกรรมด้านต่างๆ รวมประมาณ 73,400 ล้าน
ลูกบาศก์เมตรต่อปี (ตารางที่ 3) ความต้องการใช้น้ำของประชาชนไทยรวมทั้งหมด จะเพิ่มขึ้นเป็น 93,900 ล้านลูกบาศก์เมตร ในปี 2549 และ จะ
เพิ่มขึ้นเป็น 98,800 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี หรือประมาณร้อยละ 35 จากความต้องการในปัจจุบันใน 10 ปีข้างหน้าใน พ.ศ. 2553 (ตารางที่ 4)
     เมื่อแยกความต้องการใช้น้ำในภาพรวมทั้งประเทศออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ การบริโภคอุปโภค อุตสาหกรรมและท่องเที่ยว ชลประทาน
เพื่อเกษตรกรรม และผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว ในระยะ 10 ปีข้างหน้า ความต้องการน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภค เป็นด้านที่จะเพิ่มขึ้นเร็วและมากที่
สุดถึงร้อยละ 140 จากปัจจุบัน รองลงมาคือ ด้านอุตสาหกรรมและท่องเที่ยวร้อยละ 80 ส่วนชลประทาน/เกษตรกรรม และผลิตกระแสไฟฟ้า
เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 35 และ 16 ตามลำดับ (ตารางที่ 4) สัดส่วนของปริมาณน้ำที่ต้องการเพิ่มการบริโภคอุปโภค จะเพิ่มจากร้อยละ 6 ในปัจจุบัน
เป็นร้อยละ 10 ในอนาคตระยะสิบปีข้างหน้าดังกล่าว
     เมื่อพิจารณาความต้องการใช้น้ำแต่ละด้านที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยแยกเป็นลุ่มน้ำรายภาค ลุ่มน้ำที่ความต้องการน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภค
เพิ่มสูงมากที่สุดคือ ลุ่มน้ำภาคกลาง (ร้อยละ 144) รองลงมาคือลุ่มน้ำ ภาคตะวันออกและลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ 101 และ 44)
ตางรางที่ 5
     จากข้อมูลปัจจุบัน ความต้องการใช้น้ำทั้งหมดในแต่ละภาค เปรียบเทียบกับปริมาณน้ำท่า (Runoff) ของภาคนั้นๆ จะมีสัดส่วนสูงมากใน
ลุ่มน้ำภาคกลาง รองลงมาคือ ลุ่มน้ำภาคกลาง รองลงมาคือ ลุ่มน้ำภาคเหนือและลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รูปที่ 2)
     เมื่อพิจารณาปริมาณน้ำเฉลี่ยต่อประชากรต่อปี ทั้งประเทศประมาณ 3,300 ลูกบาศก์เมตรต่อคน จัดอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง แต่หากพิจารณาใน
บางพื้นที่ลุ่มน้ำ เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะมีค่าเฉลี่ยเพียงประมาณ 1,100 ลูกบาศก์เมตรต่อคน ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ดังจะเห็นได้จากปัญหาการ
ขาดแคลนน้ำ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี เพราะปริมาณน้ำที่มีอยู่จำกัด และสามารถนำมาใช้งานได้มีปริมาณน้อยลง เนื่องจากคุณภาพไม่
เหมาะสม แต่ในขณะเดียวกัน ปริมาณความต้องการด้านต่างๆ ทั้งการบริโภคอุปโภค เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การรักษาสภาพระบบนิเวศ
ในลำน้ำ และอื่นๆ มีเพิ่มมากขึ้น
     พื้นที่ลุ่มน้ำที่มีความต้องการน้ำบริโภคสูง และต้องให้ความสนใจพิเศษในการจัดหาน้ำรองรับความต้องการ (Domestic water stress area)
ห้าอันดับแรกได้แก่ เจ้าพระยา มูล ท่าจีน ชี และชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยความต้องการน้ำบริโภคอุปโภคของลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีสัดส่วนสูง
ถึงครึ่งหนึ่งของทั่วประเทศ รองลงไปอีกห้าแห่งได้แก่ โขง ป่าสัก ทะเลสาบสงขลา ปิง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก (รูปที่ 3) ใน 10 พื้นที่ลุ่มน้ำดัง
กล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการใช้น้ำทั้งหมดมี 6 ลุ่มน้ำที่มีความต้องการน้ำบริโภคอุปโภคสูง   คือ เจ้าพระยา ป่าสัก ท่าจีน มูล ชายฝั่ง
ทะเลตะวันออกอ่าวไทย และชายฝั่งทะเลตะวันตกภาคใต้ โดยใช้ค่าเฉลี่ยของประเทศ คือ ร้อยละ 6 เป็นเกณฑ์ ลุ่มน้ำเหล่านี้มีสัดส่วนของ
ปริมาณน้ำที่ต้องการเพื่อการบริโภคอุปโภค นับแต่เกือบร้อยละ 10 จนถึงสูงสุดร้อยละ 24 ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา การวางแผนและการลงทุนระยะ
ยาวทั้งในด้านบริมาณ และคุณภาพน้ำให้เพียงพอ ตลอดจนการพิจารณาจัดสรรน้ำอย่างเป็นธรรม ให้แต่ละส่วนของสังคม โดยเฉพาะในลุ่มน้ำ
เจ้าพระยา และในลุ่มน้ำมูล ชี และโขง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับกลุ่มลุ่มน้ำ
ดังกล่าว
     การพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม มีผลกระทบต่อแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำผิวดินที่เกิดการปนเปื้อน
จากชุมชน อุตสาหกรรม ตลอดจนเกษตรกรรม น้ำใต้ดินมีการปนเปื้อนจากสารที่มีอยู่ในธรรมชาติ ตลอดจนจากขยะมูลฝอยที่ฝังกลบ ทั้งจาก
แหล่งชุมชนและแหล่งอุตสาหกรรม แม้กระทั่งน้ำฝนที่มีอยู่ในบรรยากาศก็อาจได้รับผลกระทบ มีการปนเปื้อนทำให้ไม่สามารถนำมาบริโภค
อุปโภค ได้เหมือนเช่นอดีตที่ผ่านมา ดังนั้นเมื่อมีปัญหาข้อจำกัดในด้านปริมาณที่มีอยู่ในบางพื้นที่จึงอาจนำไปสู่การนำน้ำที่มีคุณภาพไม่เหมาะ
สมมาใช้ โดยเฉพาะการนำมาใช้เพื่อการบริโภคอุปโภคซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพในที่สุด
     ในระยะที่ผ่านมางานพัฒนาแหล่งน้ำที่ดำเนินการเสร็จแล้วทั้งหมด ยังไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนและสนองความต้องการน้ำเพื่อการ
พัฒนาด้านต่างๆ ได้ทั่วถึ่ง ในหลายท้องที่ไม่มีงานพัฒนาแหล่งน้ำช่วยเหลือ หรือบางท้องที่ไม่มีศักยภาพต่อการสร้างงานแหล่งน้ำได้ จึง
ประสบความเดือดร้อนในเรื่องน้ำที่นับวันจะทวีความราุนแรงมากขึ้นทุกๆ ปี นอกจากนั้นแหล่งน้ำธรรมชาติบางแห่งยังมีปัญหาเกี่ยวกับ
คุณภาพน้ำที่เสื่อมโทรมอีกด้วย สภาพปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาแหล่งน้ำมีหลายด้าน ทุกลุ่มน้ำมักมมีข้อจำกัด หลายท้องที่ไม่สามารถ
สร้างงานพัฒนาแหล่งน้ำได้อย่างเหมาะสมตามที่ต้องการ เนื่องจาก
     (1)   การไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติสำหรับใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการพัฒนา หรือแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอกับความต้อง
การของประชาชนและพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในแต่ละลุ่มน้ำ
     (2)   สภาพภูมิประเทศไม่เหมาะสม แม้ว่าสภาพแหล่งน้ำมีความเหมาะสมเอื้ออำนวยให้ทำการพัฒนาได้ ถ้าภูมิประเทศที่สร้างงานพัฒนา
แหล่งน้ำไม่เหมาะสมหรือต้องลงทุนด้วยค่าก่อสร้างจำนวนมาก ก็ไม่อาจก่อสร้างงานตามที่ต้องการได้
     (3)   ปัญหาเกี่ยวกับที่ดินและการย้ายชุมชน โครงการอ่างเก็บน้ำซึ่งมีพื้นที่เพาะปลูกของราษฎรถูกน้ำท่วมจำนวนมาก และทางราชการไม่
สามารถจัดหาพื้นที่จัดสรรชดเชยที่เหมาะสมให้ได้ เป็นเหตุสำคัญทำให้โครงการต้องถูกระงับไป
     (4)   ปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ธรรมชาติ หากมิได้มีการกำหนดมาตรการประสานงาน และทำความเข้าใจระหว่างผู้
เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้แน่ชัดถูกต้อง จะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาแหล่งน้ำอย่างมาก ในปัจจุบันหลายโครงการมีปัญหาข้อขัดแย้งดังกล่าว
ตารางที่ 4   ความต้องการใช้น้ำในภาพรวมทั้งประเทศและอัตราการเพิ่มขึ้นในระยะ 10 ปีข้างหน้า
  ปัจจุบัน พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2553 อัตราเพิ่ม (ร้อยละ)
การบริโภคอุปโภค 3118.14 6593.32 7411.01 137.7
อุตสาหกรรมและท่องเที่ยว 1311.52 2154.40 2352.72 79.4
ชลประทาน/เกษตรกรรม 48171.92 61746.64 64940.69 34.8
ผลิตกระแสไฟฟ้า 20767.24 23425.30 24050.73 15.8
รวม
 73368.82 93919.66 98755.15 34.6
ตารางที่ 5   อัตราการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้น้ำแต่ละด้าน (ร้อยละ) ในระยะ 10 ปีข้างหน้า
ลุ่มน้ำรายภาค การบริโภคอุปโภค อุตสาหกรรม/ท่องเที่ยว ชลประทาน
ภาคเหนือ 19.2 449.8 66.7
ภาคกลาง 144.4 46.4 4.3
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 76.7 66.9 28.8
ภาคตะวันออก 101.5 138.3 47.6
ภาคใต้ 53.8 159.5 28.2

รูปที่ 2  แสดงปริมาณน้ำท่า (Runoff) และความต้องการใช้น้ำทั้งหมดในแต่ะลภาค (ล้าน ลบ.ม. ต่อปี)

รูปที่ 3  พื้นที่ลุ่มน้ำ 10 อันดับแรกที่มีความต้องการน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภคสูง (ล้าน ลบ.ม. ต่อปี)

--------------------------------------------------------------------------------
สถานการณ์ปัจจุบัน แนวโน้ม และประเด็นปัญหาของแหล่งน้ำ และน้ำสะอาดเพื่อการบริโภค อุปโภค
แหล่งน้ำธรรมชาติ
1.   น้ำผิวดิน
1.1  สถานการณ์
     ในด้านอุตุนิยมวิทยาและปริมาณน้ำ มีเครือข่ายสถานีติดตามตรวจสอบทั้งของกรมอุตุนิคมวิทยาและกรมชลประทาน รวมทั้งบางส่วนของ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และกรมส่งเสริมและพัฒนาพลังงานในด้านคุณภาพน้ำผิวดิน มีเครือข่ายสถานีติดตามตรวจสอบทั้ของกรมควบคุมมลพิษ
กรมอนามัย และกรมวิชาการเกษตร
     ในปี 2541 กรมควบคุมมลพิษ ได้ตรวจสอบคุณภาพน้ำในแม่น้ำทั้งหมด 48 สาย แหล่งน้ำนิ่ง 4 แห่ง รวมจุตรวจสอบทั้งหมด 358 จุด ได้แก่
ภาคกลาง ตรวจสอบทั้งหมด 4 ครั้ง คือ ช่วงฤดูน้ำน้อย (เดือนธันวาคมถึงพฤษภาคม) 1 ครั้ง และช่วงฤดูน้ำมาก (เดือนมิถุนายนถึงพฤศจิกายน) 3
ครั้ง ภาคเหนือตรวจสอบ 2 ครั้ง คือ ในเดือนพฤษภาคม และในเดือนพฤศจิกายน ภาคตะวันออก ตรวจสอบทั้งหมด 2 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์
และในเดือนพฤศจิกายน   ยกเว้นแม่น้ำบางประกง นครนายก และปราจีนบุรี ตรวจสอบทั้งหมด 4 ครั้ง คือ ช่วงฟโุน้ำน้อย 1ครั้ง และช่วง
ฤดน้ำมาก 3 ครั้ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตรวจสอบทั้งหมด 2 ครั้ง คือ ในเดือนมกราคม และในเดือนสิงหาคม และภาคใต้ ตรวจสอบทั้งหมด 2
ครั้ง ในเดือนพฤษภาคม และพฤศจิกายน โดยพารามิเตอร์สำคัญที่ทำการตรวจสอบ ได้แก่ อุณหภูมิน้ำ ความเป็นกรด-ด่าง ความนำไฟฟ้า ความ
เค็ม ความขุ่น ปริมาณออกซิเจนละลาย ปริมาณความสกปรกในรูปบีโอดี ปริมาณการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟิคอลโคลิฟอร์ม ปริมาณโลหะ
หนัก เป็นต้น
     จากการตรวจสอบพบว่าคุณภาพน้ำโดยรวมของแหล่งน้ำทั่วปะรเทศประมาณร้อยละ 19 ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งเปรียบเทียบได้กับแหล่งน้ำ
ประเภทที่ 2 เหมาะแก่การอนุรักษ์สัตว์น้ำหรืออุปโภคบริโภคโดยต้องทำการฆ่าเชื้อโรคตามปกติก่อน และแหล่งน้ำที่จัดว่ามีคุณภาพน้ำอยู่ใน
เกณฑ์ดีอยู่เสมอ ได้แก่ แม่น้ำแควใหญ่ แควน้อย หนองหาน และบึงบรเพ็ด ขณะที่ประมาณร้อยละ 53 เป็นแหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์พอใช้
(แหล่งน้ำประเภทที่ 3) ส่วนอีกประมาณร้อยละ 28 ยังเป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ต่ำ (แหล่งน้ำประเภทที่ 4) (รูปที่ 3-1)
1.2  สภาพปัญหา
     ปัญหาที่พบในแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ปัญหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟิคอลโคลิฟอร์มสูง โดยมีปัญหาร้อยละ 32 ของจำนวนปัญหา
ทั้งหมด ซึ่งเป็นลักษณะที่อาจเสี่ยงต่อสภาวะการแพร่กระจายของโรคทางเดินอาหาร อาทิเช่น อุจจาระร่วง อหิวาตกโรค บิด ไทฟอยด์ เป็นต้น
ปัญหารองลงมาคือ ปัญหาแหล่งน้ำมีปริมาณออกซิเจนละลายต่ำ โดยมีปัญหาร้อยละ 26 ของจำนวนปัญหาทั้งหมด อันอาจทำให้สัตว์น้ำไม่
สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือปัญหาความขุ่นของลำน้ำซึ่งจะมีปัญหาในช่วงฤดูน้ำมาก โดยมีปัญหาร้อยละ 11
ของจำนวนปัญหาทั้งหมด อันอาจทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำได้ และปัญหาคุณภาพน้ำโดยส่วนใหญ่ พบว่า ภาคกลางเป็น
บริเวณที่คุณภาพน้ำมีสภาพเสื่อมโทรมมากที่สุด โดยแม่น้ำที่มีสภาพเสื่อมโทรมมาก ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง และ
แม่น้ำระยอง
     นอกจากนี้ พบว่าคุณภาพน้ำในแต่ละฤดูกาลจะมีลักษณะของปัญหาที่แตกต่างกัน ได้แก่ ช่วงฤดูน้ำมาก แหล่งน้ำหลายแห่งมักได้รับผล
กระทบจากความขุ่นที่เพิ่มขึ้สูงเกินกว่า 100 หน่วยความขุ่น (NTU) โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออก รวมทั้ง ภาคกลางและภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือบางแห่ง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขา เนินเขาและที่ราบสูงทำให้เกิดการพัดพาตะกอนดินลงสู่ลำน้ำ
     ส่วนช่วงฤดูน้ำน้อย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า มีการแพร่กระจายของเกลือจากดินเค็มเข้าสู่แหล่งน้ำหลายบริเวณ จนบางครั้งไม่
สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกได้ ได้แก่ แม่น้ำเสียว บริเวณอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ขณะเดียวกัน แหล่งน้ำที่เชื่อมต่อกับ
ทะเล อาทิเช่น แม่น้ำบางปะกง จะได้รับอิทธิพลจากการรุกล้ำของน้ำทะเลและยังรุกล้ำเข้าไปถึงแม่น้ำนครนายกและปราจีนบุรีเสมอจนเป็น
อุปสรรคต่อการเพาะปลูกพืช
     ในลุ่มน้ำภาคกลาง บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีนตอนล่าง มีความเข้มข้นของปริมาณแอมโมเนียไนโตรเจนในแหล่งน้ำเพิ่มขึ้นสูง
เกินกว่ามาตรฐาน และปริมาณออกซิเจนละลายมีค่าต่ำอยู่เสมออันอาจก่อให้เกิดผลกระทบและเป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ส่วน
ลุ่มน้ำภาคใต้ พบว่าส่วนใหญ่มีคุณภาพพอใช้ ยกเว้นทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งน้ำที่มีคุณภาพต่ำ โดยเฉพาะบริเวณปากคลองอู่ตะเภา อำเภอ
รัตภูมิ ปากคลองพะวง อำเภอหาดใหญ่ ปากคลองสำโรง และตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยมีปริมาณความสกประกในรูปบีโอดี
และฟอสฟอรัสสูงมาก อันอาจส่งผลให้สาหร่ายและพืชน้ำต่างๆ เจริญเติบโตมากผิดปกติ จนเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำได้
     ส่วนการตรวจสอบปริมาณโลหะหนักประเภทแคลโวี่ยม โครเมี่ยมทั้งหมด โครเมียมชนิดเอ็กชาวาเล้นท์ แมงกานีส นิคเกิล ตะกั่ว สังกะสี
และปรอทในแหล่งน้ำที่ทำการตรวจสอบ ยังมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำ ยกเว้นน้ำผิวดินใน 3 พื้นที่ คือ อำเภอร่อนพิบูลย์
จังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา และอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จุดแรกพบสารหนูในปริมาณสูงที่เหลือพบ
สารตะกั่วในปริมาณสูง การปนเปื้อนโลหะหนักดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากการทำเหมืองแร่-แต่งแร่ในพื้นที่
     การติดตามตรวจสอบสารเคมีทางการเกษตรในแม่น้ำสายหลักภาคกลาง โดยกรมวิชาการเกษตร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ตรวจหาสารกลุ่ม ออร์กา
โนคลอรีน ออร์กาโนฟอสฟอรัส คาร์บาเมท และสารกำจัดวัชพืชในแม่น้ำบางปะกง (เก็บตัวอย่างจากจังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี และ
ฉะเชิงเทรา) พบการปนเปื้อนในฤดูแล้งมากกว่าฤดูฝน monocrotophos พบปริมาณเฉลี่ย 0.73 ppb ส่วนที่เหลือคือ diazinon 0.40 ppb,
methylparathion 0.32 ppb, และ dimethoate 0.19 ppb ในแม่น้ำท่าจีน (เก็บตัวอย่างจากจังหวัดชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร)
พบการปนเปื้อนคล้ายแม่น้ำบางปะกง เป็นสารกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส เป็นส่วนใหญ่ monocrotophos พบปริมาณเฉลี่ย 0.21 ppb ส่วนที่
เหลือพบปริมาณระหว่าง 0.05-0.06 ppb ในแม่น้ำแม่กลอง (เก็บตัวอย่างจากจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และสมุทรสาคร) กลุ่มออร์กาโนคลอรีน
ที่พบบ่อยครั้ง คือ DDT, endosulfan, heptachlor & epoxide, aldrin และ dielddrin กลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสพบการปนเปื้อนคล้ายแม่น้ำทั้งสอง
แห่งข้างต้น ได้แก่ dimethoate, moncrotophos และ malathion พบปริมาณระหว่าง 0.15-0.22 ppb ส่วนสารกำจัดวัชพืชตรวจพบการปนเปื้อน
ของ atrazine และ ametryn ปริมาณระหว่าง 0.07-0.08 ppb
     สารเคมีทางการเกษตรในกลุ่มออร์กาโนคลอรีนได้ยกเลิกการใช้ในประเทศไทยไปหมดแล้ว ส่วนสารในกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัสได้ยกเลิก
การใช้ไปแล้วเป็นบางชนิด
2.  น้ำใต้ดิน
2.1  สถานการณ์
     ภาครัฐและเอกชนได้ทำการเจาะและพัฒนาน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ เพื่อวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ การบริโภคอุปโภค อุตสาหกรรม และ
เกษตรกรรม ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้เพื่อการบริโภคอุปโภค รองลงมาเพื่ออุตสาหกรรม ส่วนด้านเกษตรกรรมนั้นมีการสูบน้ำบาดาลเพื่อทำ
นาปรัง ปลูกพืชผักสวนครัวและการเลี้ยงสัตว์ในบางพื้นที่
     การใช้น้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลเพื่อการบริโภคอุปโภคของประชาชน ยกเว้นบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทั้งหมดดำเนินการโดย
หน่วยงานของรัฐ เช่น กรมทรัพยากรธรณี สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท กรมโยธาธิการ กรมอนามัย และกองอำนวยการกลางรักษาความ
ปลอดภัยแห่งชาติ กองบัญชาการทหารสูงสุด (กรป.กลาง) เป็นต้น โดยการเจาะบ่อน้ำบาดาลและจัดทำระบบประปาชนบท ในปัจจุบันมีบ่อน้ำ
บาดาลที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคในอัตราวันละ 50 ลิตร/วัน/คน คาดว่ามีปริมาณน้ำใต้ดินที่สูบขึ้นมาใช้เพื่อการบริโภคอุปโภค ถึงวันละไม่
น้อยกว่า 10 ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานราชการ และการประปาส่วนภูมิภาคสูบน้ำบาดาลเพื่อใช้ในกิจกรรมประปาในเขต
เมืองอีกเป็นจำนวนมาก ภาคเอกชนที่ดำเนินการเจาะน้ำบาดาลเพื่อการบริโภคอุปโภคส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
     ในบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล น้ำใต้ดินเป็นแหล่งน้ำทีสำคัญที่ใช้เพื่อการบริโภค อุปโภคมาเป็นเวลานานแล้ว จากหลักฐาน
และข้อมูลเชื่อได้ว่ามีการใช้น้ำใต้ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450 โดยมีการเจาะบ่อลึก 2 บ่อ ที่บริเวณหน้าวัดสุทัศน์และบริเวณตลาดมิ่งเมือง ตั้งแต่ปี พ
.ศ. 2497 เป็นต้นมา มีการใช้น้ำบาดาลเพื่อการประปา โดยในระยะเวลาแรกใช้เพียงวันละ 8,360 ลูกบาศก์เมตร และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนในปี พ.ศ.
2525 ใช้วันละ 447,000 ลูกบาศก์เมตร ในส่วนภาคเอกชนได้มีการเจาะและใช้น้ำบาดาลเพิ่มขึ้นตลอดมา เช่นกัน ในปี พ.ศ. 2525 ปริมาณน้ำที่
ภาคเอกชนสูบขึ้นมาใช้วันละประมาณ 944,000 ลูกบาศก์เมตร รวมเป็นปริมาณน้ำที่สูบใช้ถึงวันละ 1.4 ล้านลูกบาศก์เมตร การสูบน้ำขึ้นมาใช้
มากเป็นระยะเวลานานติดต่อกันหลายปี เป็นผลทำให้ระดับน้ำบาดาลลดต่ำลงไปทุกทีๆ โดยไม่มีการคืนตัว การลดลงของระดับน้ำดังกล่าวเป็น
ตัวบ่อชี้ถึงวิกฤตการณ์น้ำบาดาล ในปัจจุบันการใช้น้ำบาดาลยังคงมีปริมาณที่สูงอยู่เช่นเดิม โดยมีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในบริเวณกรุงเทพ
มหานครและปริมณฑล (กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม) ถึงวันละประมาณ
2.3 ล้านลูกบาศก์เมตร แยกเป็นน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภควันละ 0.9 ล้านลูกบาศก์เมตร อุตสาหกรรมวันละประมาณ 1.4 ล้านลูกบาศก์เมตร มี
เพียงเล็กน้อยที่ใช้ทางเกษตรกรรม
     การใช้น้ำใต้ดินเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่ทั่วประเทศ ดำเนินการโดยทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ปริมาณการใช้ที่แน่นอนยังไม่สามารถประเมิน
ได้ กรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนาน้ำใต้ดินสำหรับเกษตรกรรม เช่น โครงการน้ำใต้ดินเพื่อการชลประทานในพื้นที่จังหวัด
สุโขทัย ได้มีการเจาะบ่อน้ำบาดาลทั้งหมด 204 บ่อ และสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณปีละ 30 ล้านลูกบาศก์เมตร และปริมาณสูงสุดถึงปีละ 45
ล้านลูกบาศก์เมตร   ส่วนการใช้น้ำใต้ดินเพื่อเกษตรกรรมในหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นโครงการขนาดเล็กที่นำน้ำขึ้นมาใช้เพื่อการ
ปลูกพืชไร่ หรือใช้เป็นแหล่งน้ำเสริมเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง โดยมีบ่อน้ำบาดาลกระจายอยู่ทั่วประเทศในบริเวณที่น้ำบาดาลมีศักยภาพเพียง
พอที่จะสูบขึ้นมาใช้ได้ เช่นในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการแก้ปัญหาภัยแล้งโดยกรมส่งเสริมการเกษตรเจาะบ่อน้ำบาดาลขนาดเล็กระดับตื้นในลุ่มเจ้า
พระยาตอนล่างถึง 50,000 บ่อ ช่วยในการปลูกพืชไร่ นอกจานี้ยังมีภาคเอกชนหรือเกษตรกรที่เจาะบ่อน้ำบาดาลขึ้นมาเพื่อใช้ในการเพาะปลูก
เองเป็นจำนวนมาก คาดว่ามีปริมาณการใช้ที่สูงเช่นเดียวกัน
     แนวโน้มการพัฒนาน้ำใต้ดินในช่วงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 รัฐบาลมีแผนงานเร่งรัดให้มีน้ำสะอาดในชนบท
ด้วยระบบประปา ดังนั้นความครอบคลุมด้วยน้ำสะอาดจากระบบประปาต่อประชากรจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น มากกว่าจากระบบน้ำบ่อสูบมือโยก
นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อก้าวสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ จะส่งผลให้มีการใช้น้ำใต้ดินเพื่ออุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอก
จากนี้การเจาะบ่อเพื่อเกษตรกรรมขนาดย่อมจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน คาดว่าในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 นี้ความต้องการใช้น้ำใต้ดินทั่วประเทศและ
การพัฒนาระบบน้ำใต้ดินจะเพิ่มมากขึ้น ทั้งการเจาะบ่อใหม่ และการเจาะบ่อใหม่ทดแทนบ่อเก่าที่ชำรุดหรือบ่อที่มีปริมาณน้ำและคุณภาพน้ำ
เปลี่ยนไป ความสำคัญในการสำรวจเพื่อเจาะบ่อและพัฒนาชั้นน้ำใต้ดินที่ลึกกว่าเดิมก็จะมีความจำเป็นยิ่งขึ้น ดังนั้นการศึกษารายละเอียด
ศักยภาพน้ำใต้ดินของประเทศไทยในพื้นที่ต่างๆ และการศึกษาวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมน้ำใต้ดินจะทวีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับการวางแผนพัฒนาและจัดการทรัพยากรน้ำใต้ดินของประเทศในอนาคต
2.2 สภาพปัญหา
     ปัญหาหลักที่เกิดขึ้นในการพัฒนาและใช้น้ำใต้ดินในประเทศไทย ประกอบด้วยทั้งปัญหาด้านปริมาณและคุณภาพน้ำ ในด้านปริมาณส่วน
ใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้น้ำใต้ดินมากเกินไป ทำให้ปริมาณน้ำในแหล่งเก็บกักลดลง ไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้ได้ และทำให้เกิดผลกระทบ
ที่สำคัญตามมา คือการลดลงของระดับน้ำใต้ดินและแผ่นดินทรุดหรือน้ำเค็มไหลเข้าสู่แหล่งน้ำจืด ดังที่เกิดขึ้นอยู่ในบริเวณกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑลในปัจจุบัน
     คุณภาพน้ำใต้ดินเป็นปัญหาหลักสำหรับการใช้เพื่อการบริโภคอุปโภค ปัญหาคุณภาพน้ำที่เกิดขึ้นมีทั้งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเกิดจาก
การปนเปื้อนจากแหล่งของเสียหรือกิจกรรมต่างๆ ที่มนุษย์ทำขึ้น เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่อยู่ใต้ดิน คุณภาพน้ำโดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับ
ลักษณะและชนิดของชั้นนำและสภาพแวดล้อมในการกำเนิด ปัญหาคุณภาพน้ำใต้ดินที่เป็นปัญหาหลักในประเทศ มีดังต่อไปนี้
     - ปริมาณสารละลายเหล็กมีมากเกินมาตรฐานน้ำใต้ดินที่จะใช้บริโภค พบในแหล่งน้ำใต้ดินเกือบทุกแห่ง ทำให้เกิดปัญหาในการนำน้ำนั้น
มาใช้ในการบริโภคอุปโภค
     - ปัญหาเรื่องน้ำเค็ม เกิดจากชั้นเกลือหินที่อยู่ใต้ชั้นน้ำใต้ดิน โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้น้ำใต้ดินมีคุณภาพไม่เหมาะสม
ต่อการนำมาใช้ และส่งผลให้มีสารละลายอื่นๆ ในน้ำสูงตามไปด้วย เช่น ซัลเฟต แมกนีเซียม โซเดียม ในบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล หรือบริเวณ
ที่ราบปากแม่น้ำสายใหญ่ๆ จะมีน้ำเค็มแทรกอยู่ในชั้นน้ำจืด ทำให้มีปัญหาคุณภาพน้ำเค็มเช่นเดียวกัน
     - ในบางบริเวณของภาคเหนือและภาคตะวันออก พบน้ำใต้ดินมีปริมาณฟลูออไรท์สูงเกินมาตรฐานน้ำดื่มและเป็นปัญหาทำให้เกิดโรคฟัน
ตกกระและกระดูกในกลุ่มผู้บริโภคน้ำนี้ ในบริเซรที่แหล่งน้ำใต้ดินอยู่ในหินปูน เช่น บริเวณจังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีม และใน
บริเวณอื่นๆ อีกหลายจังหวัดมีปัญหาเรื่องน้ำกระด้าง ทำให้เกิดปัญหาต่อการนำไปใช้ นอกจากนี้ปัญหาคุณภาพน้ำใต้ดินที่เกิดจากการทำ
เหมืองแร่หรือแหล่งแร่ที่เกิดอยู่ตามธรรมชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ ทำให้มีการปนเปื้อนด้วยสารพิษจำพวกโลหะหนัก เช่น สารหนู ที่อำเภอ
ร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น
     - ปัญหาคุณภาพน้ำอีกส่วนหนึ่ง จะเกิดขึ้นจากการปนเปื้อนของแหล่งของเสียที่มีอยู่ทั้งบนดินและใต้ดิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้น
จากมนุษย์ เช่น บริเวณชั้นน้ำใต้ดินที่เป็นพื้นที่รับน้ำโดยตรง (Direct recharge) มีโอกาสเกิดการปนเปื้อนจากแหล่งของเสียบนพื้นดิน ที่เกิด
จากการใช้ปุ๋ยและสารเคมีในทางเกษตรกรรม หรือในเมืองใหญ่ๆ จะมีปัญหาการปนเปื้อนจากน้ำเสีย หรือของเสียจากบ้านเรือนและจากโรง
งานอุตสาหกรรมตลอดจนการทิ้งขยะหรือการฝังกลมขยะและกากของเสีย จากบ้านเรือนและดรงงานอุตสาหกรรม เช่น ในภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ พบว่าน้ำใต้ดินมีปริมาณไนเตรทสูงเกินมาตรฐานคุณภาพน้ำใต้ดินเพื่อการบริโภคอยู่เป็นจำนวนมาก สามารถก่ออันตรายต่อสุขภาพ
ของประชาชนที่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำเหล่านั้นเป็นั้นเป็นน้ำดื่มอยู่เป็นประจำ
3.  น้ำฝน
3.1  สถานการณ์
     ในด้านอุตุนิยมวิทยาและปริมาณน้ำฝน มีเครือข่ายหลักคือ สถานีอุตุนิยมวิทยา ของกรมอุตุนิคมวิทยาในด้านคุณภาพน้ำฝน มีเครือข่ายสถานี
ติดตามตรวจสอบทั้งของกรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และกรมอนามัย
     กรมอนามัย ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ดำเนินการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำฝนในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมือง และเขต
ชนบท รวม 76 จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อเร่งรัดการควบคุมและปรับปรุงคุณภาพน้ำฝน ให้มีคุณภาพดี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และ
เกิดความมั่นใจในการนำน้ำฝนไปใช้ในการบริโภคอุปโภค ว่ามีความสะอาด ปลอดภัยต่อสุขภาพ โดยเฉพาะช่วงภาวะการเกิดมลพิษทาง
อากาศซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะฝนกรด ตลอดจนการปนเปื้อนจากสารมลพิษอื่นๆ ดัชนีในการตรวจวัดได้แก่ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าความ
กระด้าง ค่าซัลเฟต ค่าไนเตรท เป็นต้น
3.2 สภาพปัญหา
     การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำฝนในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2540-2542 ทำการวิเคราะห์คุภรพาน้ำฝนทางด้านกายภาพ เคมี และแบคทีเรีย นำมา
เปรียบเทียบกับเกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภค ส่วนใหญ่ยังมีคุณภาพในเกณฑ์ดีมาก สรุปได้ดังตารางข้างล่าง ในส่วนค่าความเป็นกรด-ด่าง ไม่อยู่ใน
เกณฑ์คุณภาพร้อยละ 7.8 โดยพบว่ามีค่ากรด-ด่างต่ำกว่า 5.6 ร้อยละ 2.2
ตารางที่ 6  การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำฝน ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2542
  พ.ศ. 2540 - 2542 ได้มาตรฐาน (ร้อยละ)

ฟิคอลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย 84.9
กรด-ด่าง 92.2
น้ำสะอาดเพื่อการบริโภคอุปโภค
1.   การประปานครหลวง
1.1  สถานการณ์
     แหล่งน้ำดิบที่การประปานครหลวงนำมาผลิตน้ำประปาในปัจจุบันได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเป็นลุ่มน้ำหลักที่ใช้เพื่อการ
บริโภคอุปโภค โดยเฉพาะสำหรับประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ทั้งสองแม่น้ำเป็นแหล่งน้ำต่อเนื่องจาก
เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิต์ ซึ่งเก็บกักน้ำที่ใช้งานได้ 9,662 ล้านลูกบาศก์เมตร และ 6,660 ล้านลูกบาศก์เมตรตามลำดับ แม่น้ำเจ้าพระยา
ตอนกลางยังมีเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งเก็บกักน้ำที่ใช้งานได้ 735 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมความสามารถเก็บกักปริมาณน้ำที่ใช้งานได้รวม 17,057
ล้านลูกบาศก์เมตร
     ความต้องการใช้น้ำจากแหล่งน้ำทั้งสองในปัจจุบัน ประมาณปีละ 11,850 - 13,850 ล้านลูกบาศก์เมตร ไม่เพียงแต่ในการผลิตน้ำประปาเท่านั้น
ยังประกอบด้วยกิจกรรมอื่นๆ คือ
     1.1.1   เพื่อการผลิตน้ำประปา ประมาณปีละ 1,920 - 2,900 ล้านลูกบาศก์เมตร (ใน พ.ศ. 2543-2560)
     1.1.2   เพื่อการผลักดันน้ำเค็ม บริเวณปากน้ำเจ้าพระยา ประมาณปีละ 1,600 ล้านลูกบาศก์เมตร และบริเวณปากน้ำท่าจีน ประมาณปีละ 950
ล้านลูกบาศก์เมตร
     1.1.3   เพื่อเกษตรกรรมและการบริโภคอุปโภค ในเขตโครงการชลประทานพิษณุโลกและเจ้าพระยาใหญ่ฤดูนาปี และฤดูนาปรัง ประมาณปี
ละ 8,000 - 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
     1.1.4  การคมนาคมทางน้ำ โดยอาศัยน้ำในระบบของกิจกรรมข้อ 1 - 3
1.2  สภาพปัญหา
     1.2.1   สภาวะความแห้งแล้งได้เกิดขึ้นติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. 2534 - 2537 มีฝนตำต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยมากทำให้มีผลกระทบต่อการเก็บกักน้ำใน
เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์น้อยลง ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นทุกปี เพราะน้ำในเขื่อนทั้งสองจะต้อง
ระบายใช้งานในกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นตลอดเวลา ทำให้ระดับน้ำในเขื่อนละลงอย่างรวดเร็ว ในบางปีระดับน้ำลดลงถึงระดับต่ำสุด จนไม่
สามารถระบายออกใช้งานได้ (รูปที่ 4) ปริมาณน้ำเก็บกักเพื่อใช้งานได้ของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิต์โดยเฉลี่ยตั้งแต่ พ.ศ. 2535 - 2541
ประมาณ 8,420 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี แต่ความต้องการน้ำใช้ในการเกษตรกรรม การคมนาคม การผลักดันน้ำเค็มและอุปโภคบริโภคมีประมาณ
12,000 - 14,000 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี การขาดแคลนน้ำจะต้องเกิดขึ้นในช่วงปีใดปีหนึ่งแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพปรวนแปรของสภาพ
ธรรมชาติ
     1.2.2   ปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม เนื่องจากปริมาณน้ำจากเขื่อนมีไม่เพียงพอในการผลักดันน้ำเค็ม โดยปกติมีความต้องการประมาณ 2,500 -
2,600 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องจากสภาวะความแห้งแล้ง การก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เสร็จพร้อมใช้งานได้ใน พ.ศ. 2542
จะบรรเทาปัญหาการผลักดันน้ำเค็มในระดับหนึ่ง
     1.2.3   คุณภาพของแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภค ที่มีผลต่อประชาชนผู้บริโภคในกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ ได้แก่ ลุ่มน้ำแม่น้ำ
เจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน ซึ่งได้รับการปนเปื้อนตลอดทางตั้งแต่ต้นน้ำมาตลอดจนถึงปลายน้ำ ได้แก่ น้ำเสีย สิ่งปฏิกูลของชุมชนเมือง โรง
งานอุตสาหกรรม และกิจกรรมทางภาคเกษตรกรรม ปลูกข้าว พืชสวน การเลี้ยงปลา กุ้ง ฟาร์มสุกร ไก่ ฯลฯ ซึ่งมีอยู่ตลอดแนวลุ่มน้ำดังกล่าว
คุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนในระยะ 5 - 6 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มการปนเปื้อนเพิ่มขึ้นตามความหนาแน่นของชุมชน
     1.2.4   ความต้องการและการจัดหาแหล่งน้ำในอนาคตมีความต้องการสูงขึ้น ตามการเพิ่มของประชากรที่เพิ่มขึ้น การประปานครหลวงจะ
ต้องจัดหาแหล่งน้ำใหม่ เนื่องจาก
          1) รัฐบาลมีนโยบายให้การประปานครหลวง ผลิตน้ำประปาได้ไม่เกิน 5.2 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน หรือ 1,898 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี โดยที่ใน
พ.ศ. 2543 การประปานครหลวงจะต้องผลิตน้ำประปาโดยใช้น้ำผิวดิน ทดแทนน้ำประปาที่ผลิตจากน้ำบ่อใต้ดิน เพื่อป้องกันแผ่นดินทรุดตัว
ในพื้นที่วิกฤติ เขตที่ 1 ได้แก่ มีนบุรี และบางพลี บางบ่อ ในจังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่วิกฤติเขตที่ 2 บางมด และปากท่อ
          2) คุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนมีแนวโน้มการปนเปื้อนสูงขึ้นดังกล่าวแล้ว โดยเฉพาะแม่น้ำท่าจีน ทำให้ต้องเพิ่มสาร
เคมีในการผลิตน้ำประปาสูงขึ้น และการปล่อยน้ำจากเขื่อนในช่วงฤดูแล้งด้วยปริมาณจำกัด ไม่เพียงพอที่จะเจือจางความสกปรกของแม่น้ำท่าน
จีนลงได้

รูปที่ 4   ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิต์
     การประปานครหลวงได้แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน โดยขุดคลองฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
เพื่อที่จะรับน้ำจากแม่น้ำแม่กลองเหนือเขื่อนวชิราลงกรณ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นระยะทาง 106 กิโลเมตร ด้วยปริมาณ 3.9 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน
หรือ 1,423 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ส่งให้โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ สำหรับแหล่งน้ำใหม่จะสามารถควบคุมคุณภาพน้ำดิบได้ เพราะน้ำดิบจาก
เขื่อนจะไหลเข้าสู่คลองโดยตรง ไม่ผ่านการปนเปื้อนจากแหล่งน้ำอื่นๆ นอกจากนี้คลองส่งน้ำดิบ ยังมีมติคณะรัฐมนตรี กำหนดเขตควบคุมและ
อนุรักษ์แหล่งน้ำดิบ ห้ามสร้างโรงงานอุตสาหกรรมและบ้านพักอาศัยในบริเวณพื้นที่อนุรักษ์
     การประปานครหลวงได้จัดทำแผนความต้องการน้ำประปาในพื้นที่รับผิดชอบ 3,080 ตารางกิโลเมตร ของกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และ
สมุทรปราการ โดยใน พ.ศ. 2560 การประปานครหลวงจะต้องผลิตน้ำประปา โดยใช้แหล่งน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาและจากเขื่อนวชิราลงกรณ์
ปริมาณวันละ 7.90 ล้านลูกบาศก์เมตร/วัน หรือ 2,884 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี เพื่อรองรับประชากร 15.5 ล้านคนในอนาคต
2.  การประปาส่วนภูมิภาค
2.1  สถานการณ์
     ความต้องการใช้น้ำของประชากรนับวันจะยิ่งมากขึ้น แหล่งน้ำนอกจากจะต้องนำมาใช้เพื่อการบริโภคอุปโภคแล้ว ยังต้องนำมาใช้เพื่อการ
เกษตรกรรม ปศุสัตว์ และอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการเก็บกักน้ำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว อีกทั้งกิจกรรมของมนุษย์ก่อให้เกิดสิ่งปนเปื้อนของสาร
ต่างๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะทางชีวภาพ กายภาพ และเคมีของน้ำ ซึ่งนับวันที่จะหาแหล่งน้ำสะอาดได้ยากขึ้น
     การประปาส่วนภูมิภาค มีหน้าที่ในการจัดหาน้ำสะอาดในปริมาณที่เพียงพอให้แก่ประชาชน จึงจำเป็นที่จะต้องเลือกแหล่งน้ำดิบที่มีความ
เหมาะสมสำหรับการผลิตน้ำประปา ปัจจุบัน การประปาส่วนภูมิภาคมีการประปาที่รับผิดชอบทั่วประเทศ ยกเว้นในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล จำนวน 233 แห่ง แยกเป็น สำนักงานประปาเขต 10 แห่ง รับผิดชอบประชาชนในเขตเมือง 12.1 ล้านคน ในพื้นที่ 7,700 ตาราง
กิโลเมตร โดยอาศัยแหล่งน้ำผิวดิน 278 แห่ง หรือร้อยละ 87 ของปริมาณแหล่งน้ำดิบทั้งหมด ที่เหลืออีกร้อยละ 13 ของปริมาณแหล่งน้ำดิบ มา
จากน้ำใต้ดิน 367 แห่ง (ตารางที่ 7) รวมกำลังการผลิตแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 2.4 ล้านลูกบาศก์เมตร (ตารางที่ 8)
ตารางที่ 7   แหล่งน้ำดิบการประปาส่วนภูมิภาคแยกตามกำลังการผลิต
แหล่งน้ำ จำนวน (แห่ง) กำลังผลิต(ลบ.ม./วัน)
น้ำผิวดิน   แม่น้ำ 76 795,816
                  อ่างเก็บน้ำ 65 427,848
                  คลองชลประทาน 25 289,020
                  คลอง 52 392,880
                  บึง               34 109,800
                  ห้วย 26 39,600
                  รวม 278 2,054,964
น้ำใต้ดิน 367 313,126
รวมทั้งหมด              645 2,368,090
ตารางที่ 8   ปริมาณน้ำผลิตและน้ำจำหน่ายปีงบประมาณ 2542 กาประปาส่วนภูมิภาค
เขต น้ำผลิตจ่าย (ล้าน ลบ.ม.) น้ำจำหน่าย (ลบ.ม.) น้ำจ่ายฟรี (ล้าน ลบ.ม.)
1 109.227 78.727 0.101
2 52.821 35.233 0.121
3 104.345 56.040 0.061
4 48.996 33.928 0.017
5 44.451 31.775 0.016
6 71.357 46.561 0.113
7 43.913 32.044 0.121
8 42.021 31.656 0.112
9 56.541 39.537 0.053
10 41.487 28.591 0.094
รวม
 615.161 414.094 0.811
2.2   สภาพปัญหา
2.2.1.  คุณภาพน้ำผิวดิน
      -   ความขุ่นสูงในช่วงต้นฤดูฝน เกิดจากน้ำฝนได้ชะเอาดินและสิ่งเจือปนต่างๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงไหลลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้สภาพน้ำไม่
สามารถตกตะกอนได้ในทันทีโดยธรรมชาติ มีผลทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพน้ำมากขึ้น ตัวอย่างการประปาที่ได้รับผล
กระทบ ได้แก่ การประปาหล่มสัก การประปาปากช่อง การประปาเพชรบูรณ์ การประปาท่าตะดก และการประปาแม่ริม เป็นต้น
     -   ค่าความกรด-ด่าง อยู่ในระดับต่ำในช่วง 3 - 5 ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพของพื้นที่ใกล้เคียงเป็นเหมืองแร่เก่า จึงได้รับผลกระทบจากสินแร่
ต่างๆ ละลายลงสู่แม่น้ำ การประปาที่ได้รับผลกระทบได้แก่ การประปาเกาะสมุย เป็นต้น
     -   ค่าคลอไรด์สูง เนื่องจากสภาพของระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ปริมาณน้ำในเขื่อนมีไม่เพียงพอในการผลักดันน้ำเค็ม ทำให้สภาพของแหล่งน้ำ
บางแห่งมีรสกร่อย การประปาที่ได้รับผลกระทบได้แก่ การประปาปากพนัง การประปาฉะเชิงเทรา การประปาบางปะกง การ
ประปาสมุทรสงคราม การประปาพนมสารคาม การประปาพิมาย และการประปาเมืองพล เป็นต้น
     -   ปัญหาสาหร่าย เป็นปัญหามาจากสภาพของอ่างเก็บน้ำของการประปาหรือแม่น้ำ มีสภาพค่อนข้างนิ่งหรือไหลเอื่อยๆ อีกทั้งในน้ำมีธาตุ
อาหารทั้งไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในปริมาณที่มากพอ เมื่อได้รับแสงแดดจึงก่อให้เกิดสาหร่ายขึ้นได้ นับว่าเป็นปัญหาสำคัญของการผลิตน้ำ
ประปาเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เกิดการอุดตันของหน้าทรายกรองเร็วขึ้น และก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นของสาหร่าย
     -   แนวโน้มการปนเปื้อนในแหล่งน้ำมากขึ้น ทั้งนี้เกิดจากสภาวะแหล่งน้ำอยู่ใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรม การเลี้ยงสุกร การเลี้ยงกุ้ง และ
ชุมชน มีการปล่อยสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ สร้างปัญหาให้แก่แหล่งน้ำดิบของการประปาส่วนภูมิภาคต่อ ตัวอย่างเช่น การ
ประปาขอนแก่น
2.2.2.  คุณภาพน้ำบาดาล   ด้วยสภาพธรณีวิทยาในแต่ละพื้นที่ มีอิทธิพลทำให้น้ำบาดาลได้รับการเจือปนจากเกลือแร่ธาตุที่ละลายในน้ำได้แก่
     -   คลอไรด์ ทำให้น้ำมีรสกร่อยหรือเค็ม
     -  เหล็กและแมงกานีส ทำให้เกิดสีแดงของสนิมเหล็ก และ/หรือสีดำของแมงกานีส
     -  ความกระด้าง ทำให้คราบหินปูนเกาะติดตามผนังท่อ สร้างปัญหาให้น้ำไหลผ่านได้น้อย เกิดปัญหาท่อแตกได้ง่าย
     ทำให้การประปาส่วนภูมิภาคจำเป็นต้องสร้างระบบจำกัดเฉพาะ เพื่อให้คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
2.2.3.   สภาพปัญหาปริมาณน้ำ
     -   ปริมาณน้ำน้อยอันเนื่องมาจากสภาพปัญหาหลายประการ เช่น ประชากรมีความต้องการใช้น้ำในหลายๆ กิจกรรม เช่น การเกษตร
อุตสาหกรรม สนามกอล์ฟ ขณะเดียวกับที่ความต้องการใช้น้ำประปาสูงขึ้นตามการเพิ่มประชากร หรือในช่วงฤดูแล้ง เป็นต้น
     - ปริมาณน้ำมากเกินไป เป็นผลมาจากสภาพของฝนตกหนักและระดับน้ำขึ้นสูง ประกอบกับบางแห่งการประปาสร้างมานานแล้ว สภาพ
พื้นที่ทำให้น้ำท่วมโรงสูบน้ำดิบ สร้างปัญหาไม่สามารถผลิตน้ำประปาได้    
2.3   น้ำเพื่อการบริโภคอุปโภคในพื้นที่ชนบท
2.3.1 สถานการณ์
     การจัดหาน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคอุปโภคสำหรับประชาชนในชนบท ได้กำหนดนโยบายไว้ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบประกอบด้วย กรม
ทรัพยากรธรณี สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท กรมโยธาธิการ กรมอนามัย และกองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ กอง
บัญชาการทหารสูงสุด (กรป.กลาง) ดำเนินการจัดสร้างระบบประปาชนบทให้แล้วเสร็จร้อยละ 70 ของหมู่บ้านทั่วประเทศ เมื่อสิ้นแผน
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) ตัวเลขความครอบคลุมเมื่อต้นแผนพัฒนาฯ ประมาณร้อยละ 33 ของ
จำนวนหมู่บ้านทั่วประเทศ แหล่งน้ำส่วนใหญ่เป็นน้ำใต้ดิน
     ผลการสำรวจของสำนักเลขาธิการการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมการปกครอง ซึ่งได้สำรวจข้อมูลภัยแล้งในพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
เมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภคของทุกหมู่บ้านทั่วประเทศจำนวน 64,154 หมู่บ้าน และประเมินผลตาม
เกณฑ์ จปฐ. ได้สรุปผลการสำรวจข้อมูลแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภคไว้ดังนี้
     หมู่บ้านที่มีน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภคแล้วจำนวน 30,740 หมู่บ้าน หรือประมาณร้อยละ 48 ของหมู่บ้านทั่วประเทศ เพิ่มขึ้นมาอีกร้อยละ 15
จากความครอบคลุมเมื่อต้นแผนพัฒนาฯ ในหมู่บ้านเหล่านี้ แหล่งน้ำส่วนใหญ่ใช้น้ำใต้ดินเป็นหลัก รองลงไปยังคงเป็นบ่อน้ำตื้น โดยมีบ่อน้ำ
บาดาลทั่วประเทศที่ใช้การได้ 167,662 บ่อ ระบบประปาหมู่บ้านจำนวน 37,077 แห่ง และบ่อน้ำตื้น 950,766 บ่อ
     ที่เหลืออีก 33,414 หมู่บ้าน หรือร้อยละ 52 ยังคงประสบปัญหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค แยกเป็นหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
15,438 หมู่บ้าน ในภาคเหนือ 7,003 หมู่บ้าน ในภาคกลางและภาคตะวันออก 6,519 หมู่บ้าน และภาคใต้ 4,454 หมู่บ้าน
2.3.2  สภาพปัญหา
     1)  ปัญหาใหญ่อันดับแรกของการจัดหาน้ำสะอาดในพื้นที่ชนบท คือ หน่วยงานที่รับผิดชอบกระจัดกระจายอยู่ถึง 4 - 5 กระทรวงในส่วน
กลาง การดำเนินงานขาดความเป็นเอกภาพ เกิดความซ้ำซ้อนและขาดการประสานงานเป็นอย่างมาก ขาดการติดตามแก้ไขเมื่อแหล่งน้ำที่
ดำเนินการก่อสร้างไว้แล้วชำรุดเสียหายหรือคุณภาพน้ำเปลี่ยนไป เนื่องจากไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ รวมทั้งขาดการมีส่วนร่วมของ
องค์กรปกครองท้องถิ่น ชุมชน และประชาชนในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นดอกาสให้มีการใช้อิทธิพลเข้ามากำหนดการจัดสร้างแหล่งน้ำของ
หน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะการขอบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่ที่จะเป็นประโยชน์ต่ดการหาเสียงเลือกตั้ง
     2)  ปัญหาในด้านปริมาณ การขาดแคลนแหล่งน้ำที่สามารถเจาะบ่อบาดาลได้ รวมทั้งแหล่งน้ำผิวดินตามธรรมชาติหรือแหล่งกักเก็บน้ำผิว
ดินมีไม่เพียงพอในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในฤดูแล้ง ซึ่งจะเป็นปัญหามากสำหรับหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
     3)  นอกจากในด้านหน่วยงาน และปริมาณน้ำแล้ว คุณภาพน้ำยังคงเป็นปัญหาที่ใหญ่มาก ของการจัดหาน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคอุปโภค
ในชนบท ทำให้น้ำที่จัดหามาไม่เหมาะสมต่ำอการนำมาใช้ในการบริโภคอุปโภคได้ ปัญหาที่พบในน้ำบริโภคในชนบทที่สำคัญ ยังคงเป็น
ปัญหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟิคอลโคลิฟอร์มสูง ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสภาวะการแพร่กระจายของโรคทางเดินอาหาร อาทิเช่น
อุจจาระร่วง อหิวาตกโรค บิด ไทฟอยด์ เป็นต้น ตามมาด้วยปัญหาทางเคมีและกายภาพ เช่น บางแห่งมีเหล็กสูง บางแห่งพบฟลูออไรด์สูง บาง
แห่งมีน้ำเค็มปะปน เป็นต้น
     4)  พฤติกรรมและความเคยชินการบริโภคน้ำจากแหล่งน้ำบางแห่ง เช่น ความชอบดื่มน้ำจากบ่อน้ำตื้น ซึ่งอาจจะมีการปนเปื้อนด้วย
แบคทีเรียสูงกว่า แหล่งน้ำใต้ดิน และน้ำฝน
      ในระหว่างปี พ.ศ. 2540 - 2541 กรมอนามัย ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 75 จังหวัด ได้ดำเนินการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคใน
เขตชนบท ได้แก่ น้ำจากบ่อบาดาล น้ำประปาหมู่บ้าน น้ำบ่อตื้น และภาชนะรองรับน้ำฝน โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภคของ
องค์การอนามัยโลก สรุปได้ว่าสถานการณ์คุณภาพน้ำบริโภคในเขตชนบท ปัญาที่สำคัญเป็นปัญหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟิคอ
ลโคลิฟอร์มสูง โดยพบปัญหาร้อยละ 14 - 45 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมด ส่วนปัญหาทางเคมีและภายภาพ ประกอบด้วย ปัญหาเหล็ก ความ
กระด้าง น้ำเค็ม (คลอไรด์) และไนเตรท (ตารางที่ 9)
ตารางที่ 9   ร้อยละปัญหาคุณภาพน้ำบริโภคในเขตชนบทของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2540 - 2541
ตัวอย่าง (จำนวน) ฟิคอลโคลิฟอร์มแบทีเรีย เหล็ก ความกระด้าง น้ำเค็ม ไนเตรท
น้ำบาดาล (613) 13.9 24.5 5.4 0.9 -
ภาชนะรองรับน้ำฝน (436) 15.1 - - - -
น้ำบ่อตื้น (424) 16.5 10.1 - 1.4 1.4
น้ำประปาหมู่บ้าน (4390) 44.5 17.3 2.3 2.5 -
ความครอบคลุมของน้ำสะอาดเพื่อการบริโภคอุปโภค
1.   สถานการณ์
     น้ำสะอาดเพื่อการบริโภคอุปโภคเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อชีวิตและสุขภาพที่ดีของมนุษย์รวมไป ถึงการดำรงชีวิตประจำวันในด้านต่างๆ
ความพยายามดำเนินการร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ในระยะ 20 ปีที่ผ่านมา ได้เพิ่มความครอบคลุมของน้ำสะอาดทั้งในเขตเมืองและเขต
ชนบทขึ้นเป็นลำดับ
     ความครบอคลุมของน้ำสะอาดเป็นทั้งตัวชี้วัดความก้าวหน้าและประเมินผลโครงการที่สำคัญยิ่ง จึงมีการสำรวจต่อเนื่องหลายครั้งในระยะที่
ผ่านมา ตัวเลขที่ได้จากการสำรวจแต่ละครั้งใช้วิธีการและคำถามที่แตกต่างกันไปบ้าง ความครอบคลุมจากแต่ละครั้งแม้ในปีที่ใกล้เคียงกันจึง
แตกต่างกัน อย่างไรก็ดีสามารถบอกถึงแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน จากประมาณร้อยละ 60 โดยการสำรวจขององค์การอนามัยโลก ในปี พ.ศ.
2523 เป็นกว่าร้อยละ 80 และกว่าร้อยละ 70 ในพื้นที่เมืองและชนบทตามลำดับจากการสำรวจล่าสุด โดยกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2539
2.  สภาพปัญหา
     การสำรวจล่าสุดโดยกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ.2539 ดังกล่าวพบว่า ในภาพรวมประชาชนไทยทั่วประเทศ ทุก 1 ใน 5 ยังคงขาดแคลน
น้ำสะอาดสำหรับการบริโภคอุปโภค โดยที่ความรุนแรงของปัญหาขาดแคลนน้ำสะอาดในชนบทสูงกว่าในเมืองทุก 1 ใน 4 ประชาชนใน
ชนบทขาดแคลนน้ำสะอาดเมื่อเทียบกับเพียง 1 ใน 8 ของประชาชนในเขตเมือง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้มีความรุนแรงของ
ปัญหาสูงกว่าภาคอื่นๆ ตามมาด้วยภาคเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนภาคกลางโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลมีความครอบคลุม
ด้วยน้ำสะอาดมากกว่า (ตารางที่ 10)
     การสำรวจนี้ไม่ได้สอบถามเฉพาะเจาะจงถึงความครอบคลุมด้วยน้ำประปา อย่างไรก็ดีเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ กับความครอบคลุมบริการ
ในส่วนของการประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค ความครอบคลุมของน้ำสะอาดที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและ
เขตเมือง น่าจะมีส่วนอย่างมากมาจากการดำเนินงานของการประปาทั้งสององค์กร
     อย่างไรก็ดี แม้จะได้มีการดำเนินการร่วมกันโดยหน่วยงานต่างๆ ในระยะดังกล่าว ความครอบคลุมของน้ำสะอาดที่ยังคงต่ำกว่าในเขตชนบท
สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันของการได้รับบริการขั้นพื้นฐาน ตลอดจนปัญหาอุปสรรคการดำเนินการ และยังต้องเพิ่มความสำคัญ
และความพยายามของงานด้านนี้ในพื้นที่ชนบทอีกมาก
     ข้อมูลที่น่าสนใจจากการสำรวจ พบว่า น้ำฝนยังคงเป็นแหล่งน้ำดื่มที่สำคัญของประชาชนไทย โดยทั่วประเทศประชาชนร้อยละ 44 ยังคง
ใช้น้ำฝนเป็นน้ำดื่ม สูงถึงร้อยละ 55 ในส่วนภูมิภาค แม้ว่าจะเพียงแค่ร้อยละ 7 ใน เขตกรุงเทพมหานคร ตัวเลขการใช้น้ำฝนให้เห็นถึง
ศักยภาพของแหล่งน้ำนี้ในประเทศไทย ที่อาจจะขยายให้เป็นแหล่งน้ำบริโภคอุปโภคที่สำคัญในส่วนภูมิภาคและพื้นที่ชนบทในระยะต่อไป
ตารางที่ 10   ความครอบคลุมของน้ำสะอาดสำหรับบริโภคอุปโภค แยกตามภาคต่างๆ จากการสำรวจโดยกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2539
พื้นที่ ความครอบคลุมด้วยน้ำสะอาด (ร้อยละครัวเรือน)
ทั่วประเทศ 81.4
เขตเมือง 87.7
เขตชนบท 73.0
กรุงเทพมหานคร 97.6
ภาคกลาง 88.8
ภาคตะวันออก 82.9
ภาคเหนือ 79.8
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 70.4
ภาคใต้ 68.8

การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ  http://www.mwa.co.th/2010/ewt/mwa_internet/ewt_news.php?nid=1503

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น