สธ.เตือนระวังภัยจาก"ขยะอันตราย"ในบ้านเรือน เสี่ยงมะเร็ง กระดูกผุ ปอดพัง ไตวายวันที่ 03 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 14:17:35 น.
Share
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1275549568&grpid=&catid=04
ดร.พรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ในวันที่ 5 มิถุนายน 2553 เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก กระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใยเรื่องขยะ โดยเฉพาะขยะอันตรายที่เกิดจากครัวเรือน ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัว ที่ใช้กันมากเช่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีทำความสะอาด ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ ซากเครื่องใช้ไฟฟ้า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ขยะเหล่านี้มีสารเคมีตกค้าง เป็นอันตรายทั้งต่อสุขภาพคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมทั้งดิน น้ำ อากาศ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ดร.พรรณสิริ กล่าวว่า ในปี 2546 พบขยะอันตรายจากชุมชนปีละประมาณ 4 แสนตัน กว่าครึ่งเกิดในกทม.ปริมณฑลและภาคกลาง ขยะเหล่านี้ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีน้อยมาก กระทรวงสาธารณสุขไม่แนะนำให้ประชาชนกำจัดขยะอันตรายด้วยตนเอง แต่แนะนำให้แยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่กำจัดขยะ ควรจะจัดถังหรือถุงขยะสีส้ม ซึ่งเป็นสีสัญลักษณ์ของขยะอันตราย และรณรงค์ให้ประชาชนนำขยะอันตรายใส่ถุงสีส้มเพื่อแยกขยะอันตรายออกจากขยะมูลฝอยทั่วไป ซึ่งจะเป็นการลดการแพร่กระจายของสารพิษสู่สิ่งแวดล้อมและประชาชน เนื่องจากขณะนี้ประเทศไทยยังมีการตื่นตัวกับขยะอันตรายน้อยมาก
ทางด้านนายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า ขยะอันตรายหมายถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้แล้วแต่ยังมีสารเคมีอันตรายหลงเหลืออยู่ เช่นกระป๋องสเปรย์ ภาชนะบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารเคมีทำสะอาด สารเคลือบเงาต่างๆ ซากถ่านไฟฉาย หลอดไฟ ซากเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยซากขยะเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์จะมีสารโบรมีน ทำให้เกิดโรคมะเร็ง ถ่านไฟฉายมีสารแคดเมียม เป็นอันตรายต่อโครงสร้างของกระดูก ปอด ไต อาจเกิดไตวายได้ หลอดไฟฟ้ามีสารปรอท เป็นอันตรายต่อระบบประสาท แบตเตอร์รี่มีสารตะกั่วทำลายเม็ดเลือดแดง ทำให้พัฒนาการสมองในเด็กช้าลง สติปัญญาด้อยลง
กลุ่มที่เสี่ยงสัมผัสขยะอันตรายได้แก่ กลุ่มที่มีอาชีพเก็บหรือรับซื้อของเก่า หรือที่เรียกว่าซาเล๊ง มักนำภาชนะบรรจุสารเคมีไปล้าง แล้วเทสารเคมีที่ยังเหลืออยู่ลงดินหรือลงน้ำ ทำให้ดินและน้ำปนเปื้อนสารพิษ ขอให้งดการกระทำดังกล่าว ให้นำไปทิ้งในที่ที่เทศบาลหรืออบต.จัดไว้ให้ และไม่ควรรับซื้อภาชนะดังกล่าว ขณะคัดแยกขยะควรใส่ถุงมือยางและใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกสารพิษ เพราะสารพิษบางตัวซึมผ่านผิวหนังได้
นายแพทย์มานิตกล่าวต่อว่า ในการป้องกันขยะอันตราย สำหรับประชาชนทั่วไป ก่อนทิ้งให้แยกขยะอันตรายออกจากขยะทั่วไป ควรเลือกใช้สารจากธรรมชาติแทนสารเคมี เช่นน้ำหมักจุลินทรีย์ ใช้สมุนไพรป้องกันแมลง และช่วยเป็นหูเป็นตาเฝ้าระวังขยะอันตรายในชุมชน เช่นหากมีการนำขยะอันตรายมาทิ้งในชุมชน ให้รีบแจ้งหน่วยงานท้องถิ่นหรือเกี่ยวข้องให้ทราบเพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป โดยกระทรวงสาธารณสุขจะทำการศึกษาผลกระทบทางสุขภาพและแนวทางการจัดการขยะอันตรายจากชุมชนในเร็วๆนี้ เพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขป้องกันอันตรายจากขยะเหล่านี้ต่อไป
รายละเอียด : ระวัง!! ของเสียอันตราย
http://203.172.130.100/nfe_webkm/display_directory_view.php?direct=direct&&search=%C3%D0%C7%D1%A7!!+%A2%CD%A7%E0%CA%D5%C2%CD%D1%B9%B5%C3%D2%C2&&enc_id=1703
การจัดการของเสียที่เป็นอันตรายโดยไม่ระมัดระวัง หรือไม่ถูกต้องเหมาะสมจะก่อให้เกิดปัญหาพื้นฐานที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้ 4 ประการคือ
1. ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง การสัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับของเสียที่เป็นอันตรายซึ่งประกอบด้วยสารพิษที่เป็นสารก่อมะเร็ง อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งได้โดยเฉพาะเมื่อได้รับสารเหล่านั้นเป็นเวลาติดต่อกันนาน ๆ อาทิ การหายใจเอาอากาศที่มีสารพวกไดออกซิน เบนซิน ฟอร์มาลดีไฮด์เข้าไป หรือกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีพวกยาฆ่าแมลง
2. ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น การที่ได้รับสารเคมีหรือสารโลหะหนักบางชนิดเข้าไปในร่างกาย อาจทำให้เจ็บป่วยเป็นโรคต่าง ๆ จนอาจถึงตายได้ เช่น โรคทางสมองหรือทางประสาท หรือโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย ตัวอย่างของโรคที่เกิดจากการจัดการของเสียที่เป็นอันตรายอย่างไม่ถูกต้อง เช่น โรคมินามาตะ ซึ่งเกิดจากสารปรอท โรคอิไต-อิไต ซึ่งเกิดจากสารแคดเมียมและโรคแพ้พิษสารตะกั่ว เป็นต้น
3. ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ สารโลหะหนัก หรือสารเคมีต่าง ๆ ที่เจือปนอยู่ในของเสียที่เป็นอันตราย นอกจากจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์แล้ว ยังเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ทั้งพืชและสัตว์ ทำให้เจ็บป่วยและตายได้เช่นกัน หรือถ้าได้รับสารเหล่านั้นในปริมาณไม่มากพอที่จะทำให้เกิดอาการอย่างเฉียบพลัน ก็อาจมีผลกระทบต่อโครงสร้างของโครโมโซมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม นอกจากนี้การสะสมของสารพิษไว้ในพืชหรือสัตว์แล้วถ่ายทอดไปตามห่วงโซ่อาหาร ในที่สุดอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ซึ่งนำพืชและสัตว์ดังกล่าวมาบริโภค
4. ทำให้เกิดผลเสียหายต่อทรัพย์สินและสังคม เช่น เกิดไฟไหม้ เกิดการกัดกร่อนเสียหายของวัสดุ เกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลทางอ้อมทำให้เกิดปัญหาทางสังคมด้วย
ที่มา : http://www.school.net.th
ขอขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของสสส.และวิชาการดอทคอม
ที่มา www.thaihealth.or.th
--------------------------------------------------------------------------------
ระวัง! อันตรายสารพัดพิษภัยจากขยะ http://www.vcharkarn.com/varticle/43510
ภาพขยะกองโตในช่วงน้ำท่วม ขยะที่ไปปิดกั้นทางเดินของน้ำในคูหนอง คลอง ตลอดจนเส้นทางสัญจร ที่กลายเป็นน้ำไปแล้วในขณะนี้ นอกจากปัญหาทางทัศนียภาพ กลิ่นเน่าเหม็น ที่สัมผัสได้แล้ว ปัญหาต่อไปที่คนกรุง หรือผู้ประสบภัยในเมืองใหญ่ต้องเผชิญก็คือ เชื้อโรคสารพัดชนิดที่มากับขยะ โดยเฉพาะใน กทม. เพราะหลังน้ำลดจะมีขยะให้จัดการมากถึง 3 ล้านตันเลยทีเดียว
แน่นอนว่า ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ ขยะเหล่านี้จะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคที่อาจทำให้เกิดโรคระบาดขึ้นมาได้ นับเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุข ที่อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัว หรือคนที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง
จากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้น สำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่งได้รายงานสถานการณ์ในมุมมองต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ ปัญหาจากขยะ น้ำสีดำและกลิ่นเหม็นเน่าจากสิ่งปฏิกูล รวมทั้งเริ่มมีการแพร่พันธุ์ของยุง ที่จะทำให้เกิดไข้มาลาเรีย และไข้เลือดออกตามมา สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น กล่าวว่า หากสถานการณ์น้ำท่วมขังยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที อาจทำให้มีโรคติดต่ออย่างท้องร่วง ไข้เลือดออกและมาลาเรีย ที่อาจแพร่ระบาดในอีกไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าได้
ด้านหนังสือพิมพ์เดอะวอลสตรีท เจอร์นัลรายงานว่า กรุงเทพฯ กำลังเผชิญกับขยะจำนวนมหาศาลที่ลอยมากับสายน้ำ ทั้งโฟม พลาสติก ขยะสดอย่างเศษอาหาร สิ่งปฏิกูล ซากสัตว์ และขยะปนเปื้อนสารพิษต่างๆ ซึ่งไม่เฉพาะความเสี่ยงต่อแหล่งสะสมและการแพร่เชื้อโรคอย่างดีเท่านั้น แต่ยังหมายถึงตัวการสำคัญของการกีดขวางทางเดินของน้ำที่จะระบายออกสู่ทะเลอีกด้วย
จากการสำรวจของกรมควบคุมมลพิษ พบว่าคุณภาพน้ำหลายจุดมีค่าออกซิเจนละลายน้ำ (ดีโอ) ไม่ถึง 1 มิลลิกรัมต่อลิตรซึ่งหมายถึงคุณภาพของน้ำอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมมาก ที่สำคัญ คือ มีขยะจำนวนมากที่เพิ่มพูนขึ้นจากการโยนทิ้งลงน้ำที่ไหลท่วมอยู่รอบบ้าน
นอกจากปัญหาขยะและโรคระบาดที่อาจตามมาแล้ว ในสถานการณ์น้ำท่วมขัง ซึ่งยังคงไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทาให้หมดไปในเร็ววัน ปัญหาต่างๆ ที่ Hospital & Healthcare ได้ไปรวบรวมมาให้คนที่ยังต้องใช้ชีวิตอยู่กับน้ำระวังไว้ก็คือภัยใกล้ตัวที่ไม่อาจมองข้ามจากขยะ โดยเฉพาะขยะอันตรายที่สามารถพบได้ในบ้านพักอาศัยหลังน้ำลด
1) สารทำความสะอาด เมื่อน้ำท่วมอาจทำให้สารเหล่านี้รั่วหรือซึมออกมาภายในบ้าน เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาเช็ดกระจก น้ำยาถูพื้น
2) สารเคมีหรือของเหลวที่ใช้กับรถยนต์ เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันก๊าด แบตเตอรี่
3) อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น วิทยุ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ กล้องถ่ายรูป
4) ผลิตภัณฑ์อันตรายในสวน เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช
5) ผลิตภัณฑ์หรือสารเคมีอื่นๆ เช่น สีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสีในห้องเก็บของ เครื่องสำอางและยา หลอดไฟ เทอร์โมมิเตอร์ สารเคมีที่ใช้สำหรับสระว่ายน้ำ สารเคมี และสารไวไฟอื่นๆ
ผลิตภัณฑ์และสารต่างๆ ที่ยกตัวอย่างให้เห็นนั้น เมื่อเราเข้าไปเก็บกวาดในบ้านอาจทำให้เกิดอันตรายทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อสุขภาพได้ เนื่องจากเป็น "ขยะอันตราย" เพราะมีส่วนผสมของโลหะหนัก และสารเคมีต่างๆ มากมาย เช่น ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม นิกเกิล แมงกานีส สารหนู หากเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดความผิดปกติได้อย่างที่เราแทบไม่อยากเชื่อ เช่น ถ่านไฟฉาย มีสารแคดเมียม อันตรายต่อโครงสร้างกระดูก ปอด และไต ส่วนแมงกานีส จะส่งผลทำให้อารมณ์แปรปรวน ประสาทหลอน สมองอักเสบได้
หรือจะเป็นหลอดไฟฟลูออเรสเซนส์ ถ่านกระดุม ที่มีสารปรอท ซึ่งจะไปทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง แบตเตอรี่รถยนต์ มีธาตุตะกั่วที่สามารถทำอันตรายต่อระบบการสร้างเม็ดเลือดแดง และพัฒนาการของสมองเด็ก ซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสารก่อมะเร็งชั้นเยี่ยม เป็นต้น
นอกจากจะเป็นผลิตภัณฑ์และสารเคมีที่มีอันตรายต่อสุขภาพแล้ว หลังจากทำความสะอาดอาคารบ้านเรือน โดยการสวมถุงมือยาง รองเท้าบูท และเคลื่อนย้ายสารพิษอย่างระมัดระวังแล้ว จำเป็นที่ "ทุกคน" จะต้องเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการแยกขยะมีพิษออกจากขยะทั่วไปให้เหมาะสม เช่น เก็บใส่ถุงดำให้เรียบร้อยแล้วเขียนป้ายระบุเป็นวัตถุอันตราย เพื่อให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเก็บแยกได้ง่ายขึ้น ไม่ทิ้งสารเคมีตกค้างลงแหล่งน้ำหรือสิ่งแวดล้อม หากพบวัตถุอันตราย หรือไม่แน่ใจให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาเก็บกู้ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ทุกคนจะมีจิตสำนึก และรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการทิ้งขยะให้เป็นที่ ไม่ทิ้งขยะลงในแม่น้ำลำคลองร่วมกันคัดแยกขยะเพื่อลดปริมาณขยะจำนวนมหาศาลโดยการนำกลับมาใช้ใหม่ หรือเราจะยังอยู่ในวังวนเดิมๆ ในแบบ "ทำอะไรตามใจคือไทยแท้" มักง่าย และไม่รู้ร้อนรู้หนาวหรือเรียนรู้จากมหันตภัยที่เกิดขึ้นเลย
อะฟลาทอกซินจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
Aspergillus flavusอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) เป็นสารพิษชนิดหนึ่งซึ่งมักพบเจือปนอยู่ในอาหาร เกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ประเภทเชื้อรากลุ่ม Aspergillus flavus, A. parasiticus และ A. nomius แต่ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อราชนิด Aspergillus flavus ที่เจริญเติบโตอยู่บนเมล็ดถั่วลิสงและข้าวโพดและอาจพบในข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี มันสำปะหลัง หอม กระเทียม พริกแห้ง [1] มีสีเขียวหรือสีเขียวแกมเหลือง มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถทนความร้อนสูง การต้มหรือทอดไม่สามารทำลายสารนี้ได้
อะฟลาทอกซิน เมื่อบริโภคจำนวนมากทำให้อาการท้องเดิน อาเจียน ถ้าบริโภคแบบสะสมเป็นสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับ [2]
อัลฟาท๊อกซิน http://www.baanjomyut.com/library/health/002.html
สารอัลฟาท๊อกซิน เป็นสารที่สร้างจากเชื้อรา Aspergillus ซึ่งเป็นเชื้อราตระกูลเดียวกับที่พบตามขนมปังที่เก็บไว้นานๆ นั่นเอง เชื้อชนิดนี้บางตระกูลสามารถสร้างสารพิษที่เรียกว่า อัลฟาท๊อกซินขึ้น ซึ่งสารพิษนี้สามารถชักนำให้เกิดมะเร็งตับได้ เชื้อราชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในอาหารบางอย่าง ซึ่งเก็บไว้อย่างไม่ถูกวิธี และมีความชื้น เช่น ถั่ว พริกป่น ข้าวโพด ข้าวสาร เป็นต้น การศึกษาจากประเทศจีนตอนใต้พบว่า อุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งตับ ในผู้ป่วยที่เป็บโรคตับอักเสบแบบบีเรื้อรัง ในหมู่บ้านที่มีสารอัลฟาท๊อกซินปนเปื้อนในอาหารสูงกว่า กลุ่มประชากรที่เป็นตับอักเสบบีแบบเรื้อรัง ที่บรโภคอาหารที่ไม่ได้ปนเปื้อนด้วยสารอัลฟาท๊อกซินอย่างชัดเจน ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารดังที่กล่าวมาแล้ว
กรมวิทย์เผย ผัก-ผลไม้นำเข้าพบอะฟลาท็อกซินเพียบ http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9540000082335
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 กรกฎาคม 2554 14:11 น. Share3
ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยผลการตรวจ อาหารนำเข้า และเครื่องดื่มที่มีพืช ผัก ผลไม้ผสม ระหว่างเดือน ม.ค.53 - ม.ค.54 จำนวน 426 ตัวอย่าง พบอะฟลาท็อกซินเกินมาตรฐาน อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร (สคอ.) ได้ตรวจวิเคราะห์สารพิษจากเชื้อราอะฟลาท็อกซินในตัวอย่างอาหารนำเข้า ที่เก็บและส่งตรวจ โดยกองงานด่านอาหารและยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ระหว่างเดือนมกราคม 2553 ถึงเดือนมกราคม 2554 จำนวน 426 ตัวอย่าง ได้แก่ ถั่วลิสง เมล็ดเกาลัด ถั่วขาว เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดถั่วลันเตา ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง อัลมอนด์ ถั่วมาคาเดเมีย เมล็ดแตงโม ถั่วพิตาชิโอ ถั่วปากอ้า เมล็ดงา เมล็ดข้าวโพดดิบ เมล็ดข้าวโพดสำหรับทำ ป๊อปคอร์น ข้าวหอมมะลิ ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ พริกแห้ง พริกป่น อบเชย พริกไทย เมล็ดผักชี โป๊ยกั๊ก กระเทียม ชอกโกแลต ขนมแครกเกอร์ แป้งถั่วเหลือง อาหารเช้าซีเรียล เครื่องดื่มที่มีพืช ผัก ผลไม้ผสม และชา ตรวจพบถั่วลิสงมีอะฟลาท็อกซินปนเปื้อนเกินเกณฑ์มาตรฐาน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้มีปนเปื้อนได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม จำนวน 4 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 0.9 ของตัวอย่างที่วิเคราะห์ทั้งหมด และคิดเป็นร้อยละ 6.7 ของตัวอย่างถั่วลิสงที่ส่งตรวจทั้งหมด 60 ตัวอย่าง
รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวต่ออีกว่า เนื่องจากสภาพภูมิอากาศ ของประเทศไทยเป็นแบบร้อนชื้น ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดเชื้อราได้ง่าย อีกทั้งสารพิษอะฟลาท็อกซินไม่สามารถทำลายได้ด้วยความร้อนหรือการชะล้าง ดังนั้น ผู้บริโภคต้องเลือกซื้ออาหารโดยการสังเกตว่าไม่มีเชื้อรา รอยกัดแทะ ของแมลงหรือสัตว์ ในส่วนการเก็บรักษา ก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรเก็บอาหารในที่มิดชิด ไม่มีความชื้นสูง ไม่ให้เกิดไอน้ำในบรรจุภัณฑ์ ก็จะช่วยป้องกันการเกิดเชื้อรา ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดสารพิษจากเชื้อราอะฟลาท็อกซินได้
นายมงคล เจนจิตติกุล ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อะฟลาท็อกซิน (aflatoxin) เป็นสารพิษที่เกิดจาก เชื้อราสายพันธุ์แอสเปอร์จิลลัส ฟลาวัช (Aspergillus flavus) และแอสเปอร์จิลลัส พาราซิติคัส (Aspergillus paraciticus) เชื้อราสายพันธุ์นี้เจริญเติบโตได้ดีในภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ในสภาวะที่เหมาะสม คือ ความชื้นร้อยละ 18-30 อุณหภูมิ 43-63 องศาเซลเซียส หากร่างกายได้รับสารนี้จะสามารถสะสมพิษได้ ซึ่งจะมีผลต่อตับ ทำให้เกิด จนถึงระดับ ที่ทำให้เกิดอันตรายจะส่งผลต่อตับ เช่น ทำให้เกิดโรคตับแข็ง ตับอักเสบ เลือดออกในตับ เซลล์ตับถูกทำลาย และอาจก่อให้เกิดมะเร็งตับได้ และหากได้รับปริมาณที่สูงในครั้งเดียว จะมีผลให้เปิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ปอดบวม ชัก หมดสติและอาจทำให้เสียชีวิตได้ อัลฟาท็อกซินมักพบในพืชตระกูลถั่ว โดยเฉพาะถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง นอกจากนี้ยังพบในอาหารแห้งหลายชนิด เช่น พริก ข้าวโพด กระเทียม หัวหอม เป็นต้น อย่างไรก็ตามผู้บริโภคควรเลือกบริโภคอาหารแห้งที่ใหม่จากฤดูกาลเก็บเกี่ยว หลีกเลี่ยงอาหาร ที่เก่าเก็บหรือเลือกรับประทานอาหารสด เช่น พริกสดแทนพริกแห้ง หรือกำจัดเปลือก ในการประกอบอาหาร เช่น ถั่วคั่วให้กำจัดเปลือกที่ร่อนออก
พริกป่น ถั่วเหลือง http://www.beautyfullallday.com/?subject=35
Mycotoxins สารพิษจากเชื้อราอะฟลาท็อกซิน http://www.unisys-th.com/page40.php
สารพิษจากเชื้อรา mycotoxins ที่ปนเปื้อนอาหาร เท่าที่ค้นพบแล้วมีประมาณ100ชนิด สร้างโดยเชื้อราประมาณ200สายพันธุ์
การปนเปื้อนของสารพิษจากรามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจการผลิตอาหาร องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติประมาณว่า ทั่วโลกสูญเสียอาหารที่เนื่องจากการปนเปื้อนของพิษจากราถึง100ล้านตันต่อปี และที่สำคัญกว่านั้นก็คือมีผลต่อสุขภาพมนุษย์ ในบรรดาสารพิษจากเชื้อราที่รู้จักทั้งหมดนั้น เชื้อราที่เป็นปัญหาหลักของการปนเปื้อนอาหาร ได้แก่
1. อะฟลาท็อกซิน บี 1, บี 2 ,จี 1, จี 2 , เอ็ม 1 และ เอ็ม 2 (Aflatoxins B1, B2, G1, G2, M1 and M2) เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษต่อตับ คือ แอสเพอร์จิลลัส ฟลาวัส (Aspergillus flavus)
สารนี้มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ถึง 260 องศาเซลเซียส และถูกทำลายด้วยสารละลายที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
บี (B) หมายถึง บลู (blue) คือลักษณะของสารนี้จะมีสีฟ้า
จี (G) หมายถึง กรีน (green) คือให้สีเขียว
เมื่อดูภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต UV ขนาดความยาวคลื่น 365 นาโนเมตร
เอ็ม (M) หมายถึงสารที่พบในน้ำนมวัว คือมิลค์ (milk) เป็นผลมาจากการบริโภคอาหารสัตว์ปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน บี1
ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 กำหนดให้มีอะฟลาท็อกซินทุกชนิดในอาหารทั่วไปได้ไม่เกิน 20 ส่วนในพันล้านส่วน (คือ 20 ไมโครกรัมในอาหาร1กิโลกรัม
2. สเตอริกมาโตซิสติน (Sterigmatocystin) เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ แอสเพอร์จิลลัส เวอร์ซิโคเลอร์ (Aspergillus versicolor)
3. ซีราลีโนน (Zearalenone) เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ ฟิวซาเรียม กรามิเนียรุม(Fusarium graminearum) เป็นพิษต่ระบบฮอร์โมน
4. โอคราท็อกซิน (Ochratoxins) เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ เพนิซิลเลียม ไวริดิคาตุม (Penicillium viridicatum) เป็นพิษต่อไต
5. พาทูลิน (Patulin) เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ เพนิซิลเลียม พาทูลุม (Penicillium patulum) เป็นพิษต่อระบบประสาท
6. ที-2 ท็อกซิน ทริโคเทซีเนส (T-2 toxin, trichothecenes) เชื้อราหลักที่สร้างสารพิษ คือ ฟิวซาเรียม ตริซิงก์ตุม (Fusarium tricinctum) เป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร
และอื่นๆ
สำหรับผลิตภัณฑ์จากธัญพืชทางการเกษตร มักจะพบสารพิษ Aflatoxin (อะฟลาทอกซิน) ส่วนมากสร้างมาจากเชื้อราพวก Aspergillus flavus (แอสเปอร์ จิลัสฟลาวัส) และ Aspergillus parasiticus (แอสเปอร์ พาราซิติกัส) เนื่องจากการเก็บในที่อบชื้น
ในข้าวโพด เกือบทั้งหมดจะพบสารพิษเป็นแบบอะฟลาทอกซิน บีหนึ่ง (AFB1) ซึ่งเป็นสารก่อกลายพันธุ์และสารก่อมะเร็งตับปนเปื้อนอยู่ ส่วนแบบอะฟลาทอกซิน บีสอง (AFB2) มีพิษน้อยและพบอยู่เล็กน้อย
แต่ ในถั่วลิสง สารพิษส่วนมากจะเป็นแบบอะฟลาทอกซิน บีหนึ่ง (AFB1) และพบ AFG1, AFG2 ได้ด้วย
หากไม่มีการควบคุมอะฟลาทอกซินจะก่อปัญหาด้านสุขภาพของสัตว์และคน ความรุนแรงของพิษที่ได้รับขึ้นอยู่กับปริมาณของ อะฟลาทอกซินที่คนและสัตว์ได้รับเข้าไป และยังก่อปัญหาทางด้านอื่นๆ อีกหลายประการ
สำหรับการตรวจวัดหา Aflatoxins ในอาหารธัญพืชและผลิตภัณฑ์ทางอาหารมีหลายวิธี อาจใช้วิธีทางเคมี เช่น
โครมาโทรกราฟีผิวบาง (Thin Layer Chromatography, TLC) หรือ
โครมาโทรกราฟีสมรรถนะภาพสูง (High-Performance Liquid Chromatography,HPLC) โดยใช้คอลัมน์และความดันร่วม หรือ
สเปคโตรเมตรีแยกมวลสาร (Mass Spectrometry)
แต่ทั้ง3วิธี ดังกล่าวไม่สามารถแยกความจำเพาะต่อชนิดของอะฟลาทอกซิน ผลที่ได้อาจขาดความแน่นอนและความไว การวิเคราะห์ต้องทำสารตัวอย่างให้สะอาด (clean up) บริสุทธิ์เสียก่อน มีขั้นตอนมาก ทำให้เสียเวลา และ ค่าใช้จ่ายสูงประกอบกับเครื่องมือในการตรวจสอบล้วนแต่ราคาแพงต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้และทักษะเป็นอย่างดี
ดังนั้นวิธีการตรวจคัดกรองธัญพืชอย่างรวดเร็ว โดยเทคนิคอีไลซ่า Enzyme Linked Immunosorbent Assay (ELISA) แบบแถบสตริป ที่มีความไว มีความจำเพาะสูง และ ราคาประหยัด เหมาะสม ที่จะนำมาไปใช้ในสถานที่ต่างๆ นอกห้องปฏิบัติการ (On-site) ได้สะดวก และ ง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ ทักษะเป็นอย่างดี มีคุณภาพที่เชื่อถือ จึงได้นำไปใช้โดย ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว
สำหรับ เกษตรกรผู้เพาะปลูก โรงงานปลอกเปลือก พ่อค้ารับซื้อผลิตภัณฑ์ โรงงานคัดแยก โรงานแปรรูปอาหาร ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อนการเก็บเกี่ยว
--------------------------------------------------------------------------------
ชุดทดสอบอะฟลาท็อกซิน แบบรวดเร็ว สำหรับตรวจวัตถุดิบอาหารต่างๆ เช่น ถั่วสิสง ถั่วคั่ว อัลมอนด์ ข้าวโพด เมล็ดนุ่น พริก พริกหยวก ผงกระหรี่ ชา พิสทาชิโอ ลูกเกดสีทอง ข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง แป้งข้าว แป้งสาลี แป้งหมี่หบาบ กากธัญพืช DDGs ที่ระดับขีดทดสอบ 4 ppb, 10ppb และ 20 ppb โดยผ่านการรับรองจาก USDA /GIPSA และ Japanese- FDA
--------------------------------------------------------------------------------
>ชุดตรวจหาระดับสาร อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin), ซีราลีโนน (Zearalenone) , ที2ท็อกซิน หรือ ทริโคเทซีเนส (Trichothecene), โวมิทท็อกซิน (Vomitoxin : DON) , ฟูโมนิซิน (Fumonisin) ในหลอดทดสอบ หรือ ไมโครเพลท หาระดับปริมาณสารในทางห้องปฏิบัติการ
Name of ELISA Kit Assay Range(ppb) Kit Format Incubation Time
Aflatoxin 2-100 Coated Tube 20 min
Aflatoxin 2-100 Microtiter plate 20 min
DON (Vomitoxin) 50-1,000 Coated Tube 20 min
DON (Vomitoxin) 500-6,000 Microtiter plate 15 min
DON High Sensitivity 5-250 Microtiter plate 15 min
Fumosin 300-6,000 Microtiter Plate 15 min
T2 (Trichothecene) 75-1,000 Microtiter Plate 15 min
Zearalenone 20-1,000 Microtiter Plate 15 min
เครื่องเทศ http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_food/a_fd_4_00t.asp?info_id=57
สารสกัดกระเทียมฆ่า อะฟลาทอกซินในพริกแห้ง
http://www.dailynews.co.th/agriculture/648
การลดการปนเปื้อนอะฟลาทอกซินในถั่วลิสง http://www.rdi.ku.ac.th/kufair50/technology/40_techno/40-tech.html
The Reduction of Aflatoxins Contamination in Peanut
อะฟลาทอกซินเป็นสารพิษสร้างขึ้นโดยเชื้อรา เป็นสารก่อมะเร็งในคน เนื่องจากมีคุณสมบัติทนความร้อนได้สูงถึง 270 องศาเซลเซียสจึงสามารถทนต่อกระบวนการแปรรูปได้และหลงเหลือในผลิตภัณฑ์อาหาร อะฟลาทอกซินมักพบปนเปื้อนในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นที่นิยมบริโภคเป็นส่วนผสมของอาหารคาวและขนมขบเคี้ยวของคนไทย ปัญหาการปนเปื้อนอะฟลาทอกซินในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์ทั้งที่ผลิตภายในประเทศ และนำเข้าบ่อยครั้งที่มีผลทำให้ผู้บริโภคภายมีความเสี่ยงต่อการได้รับสารพิษในขณะเดียวกัน สินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกถูกกักเมื่อพบปริมาณอะฟลาทอกซินเกินมาตรฐานที่กำหนด ส่งผลเสียโดยตรงต่อชื่อเสียงผู้ผลิตและเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยเหตุนี้คณะวิจัยได้ทำการ 1) ตรวจติดตามสถานการณ์การปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ในช่วงปี 2547-48 โดยเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากแหล่งปลูกที่จังหวัดลำปาง แหล่งผลิตที่จังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งในลักษณะโรงงานและกลุ่มแม่บ้าน จำนวน 9 และ 12 แห่ง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังเก็บตัวอย่างสินค้านำเข้า ตลาดนำเข้าด่านเชียงแสนจังหวัดเชียงรายและด่านอรัญประเทศจังหวัดสระแก้ว ถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์กลุ่มแม่บ้านโรงงานผลิต ร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ถั่วลิสง ตลาดขายส่งกระจายสินค้าเกษตรและห้างสรรพสินค้าวิเคราะห์หาปริมาณอะฟลาทอกซิน ข้อมูลปฐมภูมิประมวลที่ได้ใช้สนับสนุนการประเมินสถานการณ์โอกาสเสี่ยงของถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน 2) เสนอวิธีลดปริมาณการปนเปื้อนอะฟลาทอกซินในถั่วลิสงป่นโดยวิธีคัดเลือกด้วยมือ (hand sorting) วิธีฉายรังสีอัลตร้าไวโอเลต และวิธีรมแก๊สแอมโมเนียและ 3) ระบบ GMP เพื่อใช้ในการจัดการสุขลักษณะของกระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวและการผลิตถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์แก่ผู้ผลิตโรงงานและกลุ่มแม่บ้าน จำนวน 4 และ 11 แห่งตามลำดับ และถ่ายทอดการจัดการด้านความปลอดภัยอาหารโดยการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ในการผลิตผลิตภัณฑ์ถั่วลิสงแก่ผู้ประกอบการ 1 แห่ง
ผลการศึกษาพบว่าขั้นตอนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวในส่วนของผู้ปลูกมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเพิ่มโอกาสการเจริญของเชื้อราและการสร้างอะฟลาทอกซิน การขาดสุขลักษณะที่ดีของการจัดการโรงเรือน เครื่องมือและอุปกรณ์ผลิตการควบคุมกระบวนการกะเทาะเปลือก มีโอกาสเพิ่มการปนเปื้อนของเชื้อรา แต่อย่างไรก็ตามในระหว่างกระบวนการผลิตหากมีการคัดเลือกด้วยมือพบว่าทำให้แยกวัตถุดิบที่ปนเปื้อนออกไปได้ แต่หากไม่กำจัดถั่วลิสงตกคุณภาพ ถั่วลิสงเหล่านั้นจะยังคงอยู่ในห่วงโซ่อาหาร และมีการนำไปทำถั่วลิสงป่น ซึ่งพบว่ามีปริมาณอะฟลาทอกซินปนเปื้อนสูงมาก และไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาควบคุมการผลิตนี้ จาก การสำรวจและเก็บตัวอย่างวิเคราะห์ พบการปนเปื้อนของอะฟลาทอกซินที่มากกว่า 20 ppb ในถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์จำนวน 55 ใน 183 ตัวอย่าง (ร้อยละ 30) พบในถั่วลิสงป่นมากที่สุด จำนวน 27 ใน 35 ตัวอย่าง (ร้อยละ 77) ชี้ชัดว่าผู้บริโภคมีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับอะฟลาทอกซินจากการบริโภคถั่วลิสงป่น การประยุกต์ใช้ระบบ HACCP
รูปที่ 1การคัดเลือกถั่วลิสงคุณภาพด้วยมือ รูปที่ 2การรวมแก๊สแอมโมเนียมในถั่วลิสง
พบว่าขั้นตอนการคัดเลือกถั่วลิสงวัตถุดิบด้วยมือ(ภาพที่ 1) ยืนยันว่าช่วยลดการปนเปื้อนอะฟลาทอกซินในการผลิตภัณฑ์อาหารได้ ขั้นตอนการคัดเลือกถั่วลิสงจึงเป็นจุดวิกฤตที่สามารถควบคุม และป้องกันอะฟลาทอกซินไม่ให้เข้าสู่กระบวนการผลิตขั้นต่อไป และสามารถปฏิบัติได้จริงในโรงงานผลิตในประเทศปริมาณอะฟลาทอกซินในถั่วลิสงเกรด A ที่ผ่านการคัดเลือกแล้วมีปริมาณ 0.02-3.05 ppb การรมแก๊สแอมโมเนียที่ 40 psi (ภาพที่ 2) อุณหภูมิ 35+ 2?C 120 นาที มีแนวโน้มสามารถลดปริมาณการปนเปื้อนอะฟลาทอกซินในถั่วลิสงได้สูงสุดร้อยละ 85 แต่ต้องพัฒนาเครื่องมือและวิธีการให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อการปฏิบัติงาน รวมทั้งพิจารณาจุดคุ้มทน รวมทั้งการนำถั่วลิสงที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป สำหรับการฉายรังสีอัลตร้าไวโอเลต ช่วยลดปริมาณอะฟลาทอกซินแต่ยังไม่สามารถยืนยันการลดความเป็นพิษของอะฟลาทอกซิน
สารอฟลาทอกซินที่ปนเปื้อนในเครื่องเทศ
สารพิษจากเชื้อรา ( mycotoxin )
คือสารพิษธรรมชาติที่สร้างจากเชื้อรา
เมื่อคนหรือสัตว์ได้รับสารพิษจากเชื้อราเข้าไปแม้ในปริมาณน้อยก็ทำให้เกิดอาการพิษ
( mycotoxicosis ) ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
โดยการใช้ยาอาการดังกล่าวไม่สามารถถ่ายทอดจากคนหนึ่งไปสู่คนอื่นได้
และมีหลักฐานว่าอาการดังกล่าวเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อราและสารพิษจากเชื้อรา
การปนเปื้อนดังกล่าวเกิดขึ้นได้ตั้งแต่การเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว
การเก็บรักษาและการนำผลิตผลทางการเกษตรมาผลิตเป็นอาหาร
สารพิษจากเชื้อราทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกายมากหรือน้อยขึ้นกับปัจจัยต่าง
ๆ เช่น ความสมบูรณ์ของร่างกาย การดื่มสุรา
การได้รับการรักษาด้วยยาบางชนิด อาหารที่รับประทานเป็นต้น
อาการพิษเกิดขึ้นเนื่องจากสารพิษจากเชื้อราเข้าไปทำลาย DNA, RNA
และโปรตีน ทำให้เกิดพิษต่ออวัยวะต่าง ๆ แบ่งเป็น
1. พิษต่อตับ ( hepatotoxin ) ได้แก่ อฟลาทอกซิน (
aflatoxin )
2. พิษต่อไต ( nephrotoxin ) ได้แก่ ออคราทอกซิน (
ochratoxin )
3. พิษต่อระบบประสาท ( neurotoxin ) ได้แก่ พาทูลิน (
patulin )
4. พิษต่อระบบทางเดินอาหาร ( alimentary tract toxin )
ได้แก่ ไทร โครทีซิน ( trichothecene )
5. พิษต่อระบบฮอร์โมน ( estrogenic mycotoxin ) ได้แก่
ซีราลีโนน ( zearalenone )
6. พิษอื่น ๆ ( other mycotoxin ) ได้แก่เออร์กอต ( ergot
)
สารพิษจากเชื้อราที่มีการศึกษากันแพร่หลาย คือ อฟลาทอกซิน
ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่ตับ และอวัยวะอื่น ๆ เช่น ไต ระบบหายใจ
ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบภูมิคุ้มกัน
สร้างจากเชื้อราตระกูล Aspergillus เช่น A. flavus, A.
parasiticus
อฟลาทอกซินเรืองแสงได้เมื่อส่องดูภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต
โดยอฟลาทอกซิน บี และ เอ็ม จะเรืองแสงสีฟ้า
อฟลาทอกซินจีเรืองแสงสีเขียว อฟลาทอกซินทนความร้อนได้สูงถึง 260
องศาเซลเซียส
และคงตัวในสภาพที่เป็นกรดแต่จะสลายตัวในสภาพที่เป็นด่าง
นอกจากนี้ยังสลายตัวภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต
อะฟลาทอกซินละลายน้ำได้เล็กน้อย เมื่อเข้าสู่ร่างกาย
บางส่วนจะถูกขับออกในรูปเดิม
บางส่วนจะถูกขบวบการของร่างกายเปลี่ยนแปลงเป็นสารตัวอื่น (
metabolites ) ซึ่งมีพิษมากหรือน้อยลงก็ได้
ซึ่งสารดังกล่าวจะถูกสะสมในร่างกาย บางส่วนถูกขับออกทางปัสสาวะ
อุจจาระและทางน้ำนม สาร metabolite ที่มีพิษมากที่สุดคือ
aflatoxin B1 - 2,3-epoxide ซึ่งจะไปจับกับ DNA, RNA
ทำให้การสังเคราะห์โปรตีนในเซลส์ผิดปกติ
และทำให้เกิดมะเร็งที่ตับ สาร metabolite
ที่ถูกขับออกทางน้ำนมเช่นที่พบในนมโคคือ อฟลาทอกซิน เอ็ม 1 (
aflatoxin M1 ) สามารถทำให้เกิดมะเร็งตับเช่นเดียวกับอฟลาทอกซิน
บี
ซึ่งปนเปื้อนในอาหารที่โคกินเข้าไปในร่างกายแต่พิษน้อยกว่าอาการที่แสดงออกเมื่อสัตว์ต่าง
ๆ เช่น ไก่ หมู วัว ได้รับอฟลาทอกซินที่ปนเปื้อนใน
อาหารเข้าไปในร่างกายคือ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
มีน้ำไหลออกจากจมูก ดีซ่าน ท้องมาร ตกเลือดตาย
อฟลทอกซิน มักปนในถั่วลิสง ข้าวโพด และผลิตผลทางการเกษตร
ปริมาณการปนเปื้อนของอฟลาทอกซินในอาหารและผลิตผลทางการเกษตร
ทำให้แต่ละประเทศกำหนดค่าการปนเปื้อนเพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค
เช่น ประเทศอิตาลีกำหนดค่าการปนเปื้อนที่ 50 พีพีบี
ประเทศออสเตรเลียที่ 15 พีพีบี
และประเทศไทยกำหนดให้มีการปนเปื้อนของอฟลาทอกซินได้ไม่เกิน 20
ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม หรือ 20 พีพีบี
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529
นั่นคือเมื่อผู้บริโภคได้รับประทานอาหารชนิดต่าง
ในแต่ละวันที่มีการปนเปื้อนของอฟลาทอกซินรวมกันไม่มากกว่า 20
พีพีบี
ไปได้ทุกวันตลอดชั่วชีวิตจะไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพตามอาการทางพิษวิทยาที่ใช้ศึกษา
เช่น ในกรณีของอฟลาทอกซินคือไม่ทำให้เกิดมะเร็งตับ เป็นต้น
แต่ในความเป็นจริงการเกิดมะเร็งตับสามารถเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ
หลายอย่าง เช่น
ร่างกายได้รับอฟลาทอกซินจากอาหารร่วมกับมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
type B การดื่มสุรา การรับประทานอาหารหมักดอง อาหารที่ปรุงสุกๆ
ดิบๆ ซึ่งมีพยาธิใบไม้ตับและเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อน
อาหารที่ทอดด้วยน้ำมันซึ่งใช้ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จนมีสีดำ
อาหารที่ปิ้งย่างจนไหม้ดำ เป็นประจำ เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าการรับประทานอาหารที่มีอฟลาทอกซินปนเปื้อนในแต่ละวันแม้ว่ารวมกันแล้วจะไม่เกินปริมาณที่กำหนดแต่ถ้ามีพฤติกรรมการรับประทานอาหารดังกล่าวก็มีโอกาสกระตุ้นให้เกิดมะเร็งตับได้
นอกจากนี้การปนเปื้อนของอฟลาทอกซินในผลิตผลทางการเกษตรยังถูกนำมาใช้เป็นเครื่องต่อรองราคาในการซื้อขายผลิตผลดังกล่าวทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ
ทำให้แต่ละประเทศกำหนดค่าการปนเปื้อนของอฟลาทอกซินในอาหารชนิดต่างไม่เท่ากัน
การกำหนดดังกล่าวทำให้เกิดความสับสนและการได้เปรียบเสียเปรียบทางการค้าระหว่างประเทศ
ในปัจจุบันองค์การระหว่างประเทศที่มีชื่อย่อๆ ว่าโคแด็กซ์ (
Codex Alimentarius Commission )
กำหนดให้มีการปนเปื้อนของอฟลาทอกซินในถั่วลิสงที่ต้องนำไปผ่านขบวนการต่อไปได้ไม่เกิน
15 พีพีบี ทั้งนี้เพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค
และให้ความเป็นธรรมในด้านการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งองค์การค้าโลก
WTO ( World Trade Organization )
ได้ใช้ค่าดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานในการเจรจาเมื่อเกิดปัญหาทางการค้าระหว่างประเทศ
บทความนี้นำเสนอการปนเปื้อนของอฟลาทอกซินในเครื่องเทศซึ่งใช้เป็นเครื่องปรุงรส
อาหารให้มีความอร่อยและช่วยในการเจริญอาหาร
เครื่องเทศดังกล่าวได้แก่ พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า พริกไทย
กระเทียมดอง หอมแดง น้ำพริกเผา ซีอิ๊ว น้ำจิ้มสะเต๊ะ เป็นต้น
เมื่อเก็บเครื่องเทศดังกล่าวอย่างไม่ถูกวิธี
เช่นเก็บในที่มีความชื้นสูง เก็บในอุณหภูมิสูง เก็บไว้นานเกินไป
เมื่อมีเชื้อราขึ้นจะมีการ
สร้างอฟลาทอกซินปนเปื้อนในเครื่องเทศและรวมไปถึงอาหารต่างๆ
ที่ปรุงขึ้นจากเครื่องเทศดังกล่าวด้วย
เมื่อบริโภคอาหารเหล่านั้นเป็นประจำทำให้เกิดมะเร็งตับได้
ในระหว่างปี พ.ศ. 2535 - 2544
กองอาหารได้ทำการวิเคราะห์ตัวอย่างเครื่องเทศได้แก่ พริกขี้หนู
พริกชี้ฟ้า ( ชนิดที่เป็นเมล็ดพริกแห้งและชนิดป่นละเอียด )
พริกไทยป่น กระเทียม ( ชนิดสด เจียวกับน้ำมัน และชนิดผง )
นำจิ้มสะเต๊ะ ซีอิ๊ว และอื่นๆ ได้แก่ เครื่องแกงสำเร็จรูป
น้ำพริกเผา ซอสพริก ซุปสกัด โดยจำนวนตัวอย่างที่ตรวจทั้งหมด )
พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า 35 (ทั้งเมล็ด) , 29 (ป่นละะเอียด) 37,
27, 17, 2, 5 และ 11 ตัวอย่าง ตามลำดับ
จะเห็นได้ว่าเครื่องเทศทั้งหมด 160 ตัวอย่าง
ตรวจพบอฟลาทอกซินปนเปื้อนเพียง 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 5
ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 6.59 - 61.28 พีพีบี
โดยจะพบในพริกทั้งเมล็ด 4 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 12.26
- 61.28 พีพีบี พริกป่น 3 ตัวอย่างปริมาณที่พบคือ 7.84, 12.94
และ 14.40 พีพีบี และกระเทียมชนิดผง 1 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบคือ
6.59 พีพีบี ในจำนวนนี้มีพริกทั้งเมล็ด 3
ตัวอย่างเท่านั้นที่พบเกินมาตรฐาน 20 พีพีบี
ที่ประกาศโดยกระทรวงสาธารณสุข ปริมาณที่พบคือ 23.73, 30.70 และ
61.28 พีพีบี
ส่วนเครื่องเทศชนิดอื่นตรวจไม่พบการปนเปื้อนของอฟลาทอกซิน
การตรวจวิเคราะห์เครื่องเทศต่างๆ โดยเฉพาะพริก
มักจะพบสารเรืองแสงใกล้เคียงกับอฟลาทอกซินทั้งสีและตำแหน่งของการเคลื่อนที่ในแผ่นทีแอลซี
อาจทำให้แปลผลผิดพลาดได้ง่ายกว่าตรวจพบอฟลาทอกซินในตัวอย่างดังกล่าว
ผู้วิเคราะห์ต้องทำการตรวจยืนยันผลโดยใช้วิธีต่างๆ ช่วยเช่น
การทำ two dimension การทำปฏิกิริยาเคมี เป็นต้น
เพื่อให้เกิดความถูกต้องในการแปลผล
เมื่อคำนึงถึงว่าพริกแห้งสามารถนำมาบริโภคในรูปแบบต่างๆ
เช่น รับประทานทั้งเมล็ดร่วมกับขนมจีนน้ำยา
ทำเป็นพริกป่นโรยก๋วยเตี๋ยวต้มยำ หรือใส่ในก๋วยเตี๋ยวผัดไทย
ทำเป็นเครื่องแกงและน้ำพริกชนิดต่างๆ ใช้ปรุงอาหารหลายประเภทเช่น
ผัดพริก ต้มยำ ส้มตำ ยำ ลาบ น้ำตก
รวมความแล้วปริมาณพริกแห้งที่บริโภคต่อคนต่อวันประมาณ 1 - 3 กรัม
เครื่องเทศที่นำมาตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนอฟลาทอกซินในครั้งนี้
มีเพียงพริกชี้ฟ้าเมล็ดแห้ง 3 ตัวอย่างจาก 160 ตัวอย่าง
ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.9
ที่พบอฟลาทอกซินเกินมาตรฐานที่กรวงสาธารณสุขประกาศ
ผลการวิเคราะห์พอจะสรุปได้ว่าเครื่องเทศที่เราบริโภคกันมีการปนเปื้อนอฟลาทอกซินอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารและผู้บริโภคควรเลือกเครื่องเทศที่มีคุณภาพดี
มีลักษณะแห้ง ไม่ชื้นไม่มีรา
ไม่มีกลิ่นอับกลิ่นหืนจากการเก็บไว้นาน เมล็ดเต็มสมบูรณ์
ไม่มีรอยแมลงกัดแทะ เป็นต้น
มาใช้ทำเป็นอาหารในการรับประทานเพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น
แหล่งที่มาของงานวิจัย : ดวงจันทร์ สุประเสริฐ * กองอาหาร
กรมวิทยาศาสตร์การ
แพทย์
: วนิดา ยุรญาติ ** กองอาหาร
กรมวิทยาศาสตร์การ
แพทย์
พริกป่น มีอัลฟาทอกซินเหมือนถั่วลิสง Beauty Full Dayงามอย่างมีสุขภาพ | http://www.beautyfullallday.com/?subject=35
สวยสุขภาพดี | เคล็ดลับความสวย | เคล็ดลับความงาม | Beauty on the BeachYou Are :
เคล็ดลับความงาม | พริกป่น มีอัลฟาทอกซินเหมือนถั่วลิสง พริกป่น
มีอัลฟาทอกซินเหมือนถั่วลิสง
รู้หรือไม่ ถ้าเราเก็บรักษา "พริกป่น"
ไม่ดีโดยปล่อยให้มีความชื้นจะส่งผลให้เกิดสารอันตราย "อัลฟาทอกซิน" ได้ไม่แพ้
"ถั่วลิสง" และ "ข้าวโพด"
แล้วพริกป่นสำเร็จรูปที่เราทานกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันล่ะ จะ "ปลอยภัย"
ต่อสุขภาพแค่ไหนกัน
เกิดเป็นไทยกินอาหารอะไรก็ต้องแซ่บไว้ก่อน "พริก"
จึงกลายเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่คนไทยขาดแทบไม่ได้
แถมยังเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ
สามารถพัฒนาในระดับอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ยา
ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ยาฆ่าแมลง ส่วนผสมของสายเคเบิ้ล หรือผลิตภัณฑ์แก้ง่วง
"พริกป่น" เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมไม่แพ้กัน
แต่พริกป่นนั้นจำเป็นต้องเก็บไว้ในที่แห้งสนิท เพราะเกิด "เชื้อรา"
ง่ายเมื่อเกิดเชื้อราขึ้นแต่เราบริโภคเข้าไป ก็จะได้รับสาร "อัลฟาทอกซิน"
เป็นของแถม จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า
พริกป่นเป็นอาหารที่เสี่ยงต่อการเกินสารอัลฟาทอกซินได้ง่ายไม่แพ้ "ถั่วลิสง"
ยิ่งในปัจจุบันประเทศไทยนำเข้าพริกป่นจากต่างประเทศมากขึ้นความเสี่ยงจึงมีมากขึ้นตามไปด้วย
เพราะผู้บริโภคขาดข้อมูลแหล่งผลิตสินค้า
เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง เราจึงเก็บตัวอย่าง "พริกป่น" ที่บรรจุในซองสำเร็จรูป
2 ยี่ห้อยอดนิยม ได้แก่ "ไร่ทิพย์" และ "ข้าวทอง"
พร้อมด้วยพริกป่นบรรจุซองขายในห้างอีก 5 ยี่ห้อ ได้แก่ ตราเจเจ ตราบางช้าง
ตรามือที่ 1 ตรานักรบและตราศาลาแม่บ้าน รวมทั้งพริกป่นแบบแบ่งขายใตตลาดสด
จากนั้นไปนำส่งห้องทดสอบ สถาบันวิจัยโภชนาการ
มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อ ตรวจหาสารอัลฟาทอกซิน
ผลการทดสอบ
พบการปนเปื้อนสาร "อัลฟาทอกซิน" ในพริกป่นเกือบทุกตัวอย่าง
แต่ปนเปื้อนในปริมาณไม่มากจนน่าห่วง คือ พบน้อยกว่าที่ อย.กำหนดไว้ที่ไม่เกิน
20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ทั้งนี้
ตามปกติแล้วเรามักไม่บริโภคพริกป่นในปริมาณมาก
เพียงแค่เติมเพื่อชูรสชาติเท่านั้น จึงไม่น่ากังวลต่อการบริโภค
อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรประมาท
ทางที่ดีที่สุดจึงเป็นการเลือกพริกแห้งมาคั่วพริกป่นทานเอง หากซื้อจากแม่ค้า
ก็ควรเลือกซื้อจากเจ้าที่เชื่อถือได้และหมุนเวียนสินค้าไว
คำแนะนำ
1.ควรเก็บพริกป่นในที่แห้งสนิทและใช้ช้อนกลางตักเสมอ
2.ไม่ควรซื้อพริกป่นในปริมาณมาก เพื่อเก็บไว้ทานนานๆ
3.พริกป่นที่ทำเอง จะสะอาดและเผ็ดกว่าที่ทำขาย เราสามารถทำเองได้ง่ายๆ
โดยการนำพริกสดไปตากแห้งแล้วคั่วจนหอม
จากนั้นให้นำใส่เครื่องปั่นหรือโขลกให้แหลก
4.ควรเลือกซื้อพริกป่นจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน ตรวจสอบวันผลิตทุกครั้ง
ประโยชน์ของพริกป่น
พริกป่นนอกจากจะให้ความเผ็ดแล้ว ยังมีประโยชน์อย่างอื่นอีก วันนี้
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับพริกป่นมีมาบอกกัน...
1. สารที่ให้ความเผ็ดเรียกว่า "แคปไซซิน"
พริกป่นมีคุณสมบัติช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งได้ โดยไม่ทำลายเซลล์ดีภายในร่างกาย
2. ผู้หญิงนั่งหรือยืนทำงานทั้งวัน จนปวดหลังควรจะทานพริกป่นมากๆ
เพราะพริกป่นมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยที่กล้ามเนื้อหลังได้
3. ใช้ลดความอ้วน
เพราะสารบางตัวในพริกป่นสามารถปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติได้
จึงดีสำหรับสาวๆ ที่กำลังไดเอท
ซึ่งจะต้องงดทานอาหารประเภทแป้งและคาร์โบไฮเดรต
ซึ่งอาจมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สมดุล
4. ในพริกป่นมีสารที่ช่วยกระตุ้น
ให้กระบวนการทำความสะอาดตัวเองของร่างกายทำงาน คนที่ทานพริกป่นมากๆ
จึงเหมือนได้ทำดีท็อกซ์ไปในตัว
5. นอกจากนี้พริกป่นช่วยไม่ให้เมือกเสียๆ มาจับตัวกันภายในส่วนต่างๆ
ของร่างกายด้วย
6. ความเผ็ดของพริกช่วยกระตุ้นการหมุนเวียนของโลหิต ขับเหงื่อ
และทำให้ระบบย่อยทำงานดีขึ้น
ที่สำคัญยังกระตุ้นระบบเมตบอลิสซึ่มหรือระบบเผาผลาญอาหารให้ทำงาน
ทำให้ไขมันไม่จับตัวอยู่ในร่างกาย เป็นการตัดโอกาสของโรคอ้วนไปในตัว
อัลฟาทอกซิน (Alfatoxin) สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง หรือในอาหาร
ที่มีราขึ้นโดยเฉพาะสีเขียว เหลือง จะมีสารอัลฟาทอกซินปนเปื้อนเป็นจำนวนมาก
คำค้นสำคัญ : สุขภาพ
เนื้อหาที่ใกล้เคียงและเกี่ยวข้อง
- เคล็ดลับลดความอ้วน และการควบคุมน้ำหนัก
- ผิวพรรณดีมีเทคนิคการสร้าง
- เคล็ดลับการใส่กางเกงขาสั้นให้ดูสวย
- อาหารเสริมลดน้ำหนัก ดีจริงหรือ
- ปวดประจำเดือน ความผิดปกติของประจำเดือน
ดีน่ะเนี่ยที่รู้ก่อน เพราะชอบซื้อมาทานไม่ค่อยทำเอง
ความเห็นเรื่องนี้โดย : เลิฟลี่ วันที่ 2010-03-26 [delete]
อ่านแล้ว ยังไงรบกวนให้ความเห็นอะไรซักหน่อยก็ดีนะ
พูดคุยเรื่องราว สาวสวย ได้ที่นี่ ชุมชนสาวสวย
Comment
Name
พริกป่น มีอัลฟาทอกซินเหมือนถั่วลิสง เทคนิคความงามสุขภาพดี บอกเล่าเรื่องราว
ที่คุณอยากรู้หน้าหลัก Beauty Women
ขอบคุณในความกรุณาจากทุกท่านเป็นอย่างสูงที่สนใจเนื้อหาภายในเว็บไซต์แห่งนี้
หากต้องการนำบทความในหน้านี้ไปเผยแพร่หรือคัดลอกไปใช้ในกรณีใดๆ โปรดกรุณาทำ
link กลับมายังต้นฉบับด้วย จะขอบพระคุณเป็นอย่างสูง หรือจะ copy url
ด้านล่างนี้ไปใช้เพื่อทำ link กลับมายังหน้าแห่งนี้ได้เลย
ใส่ลิงก์เว็บ:
ขอบคุณค่ะเคล็ดลับ การดูแลความสวย สุขภาพ ความงาม
ปรับสุขภาพจิต ให้ดีหลังน้ำลด
ความสวยความงาม ของผิวหน้า
ไขความลับ สารอาหารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่
เปลือกแอปเปิ้ล ป้องกันมะเร็ง
ปรับพฤติกรรมการกิน ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม
รู้ สู้ โรคฉี่หนู
รู้ทัน อาหารฟังก์ชัน functional foods
ลดความดันโลหิต ด้วยอาหาร Dash Diet
การดูแลผิวสวย สุขภาพดี สมวัย
น้ำท่วม ปัจจัยเสี่ยงให้เด็กไทยไอคิวต่ำ
เคล็ดลับลดความอ้วน และการควบคุมน้ำหนัก
ผิวพรรณดีมีเทคนิคการสร้าง
เคล็ดลับการใส่กางเกงขาสั้นให้ดูสวย
อาหารเสริมลดน้ำหนัก ดีจริงหรือ
ปวดประจำเดือน ความผิดปกติของประจำเดือน
กรดเฟรูลิก Ferulic acid กับการต้านมะเร็ง
อันตรายจากเลเซอร์
ผักผลไม้ช่วยลดน้ำตาลในเลือด โรคเบาหวาน
โรคกระดูกพรุนคุณผู้หญิง ป้องกันได้
โรคอ้วนในผู้หญิง
ตกขาว ปัญหาสุขภาพคุณผู้หญิง
กาแฟบางยี่ห้อ มียาลดความอ้วนผสม อันตราย
น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ คุณค่ากับความงาม
สุดยอดอาหารล้างพิษในร่างกาย
ฟิตกระชับด้วยตัวเองด้วยวิธีง่ายๆ
มิสฮ่องกง อวดโฉมชุดว่ายน้ำ ก่อนขึ้นเวที
เคล็ดลับการอาบน้ำเพิ่มความงาม
เคล็ดลับผิวสวยหน้าใส ด้วยมะพร้าว
เคล็ดลับในการขจัดรังแคบนศรีษะ
สูตรกระชับทรวงอก
วิธีรับมือภาวะอ่อนล้าของสาววัยทำงาน
เทคนิคฝึกสมองให้ฉลาดอยู่เสมอ
อาหารชะลอวัย ให้ดวงตา
การบริหารสมองให้สดชื่น
The Price of Beauty
คาราวานตรวจสุขภาพทุกทิศทั่วไทย
อยู่อย่างไรให้ห่างไกล โรคเบาหวาน
วิธีสังเกตคนที่ชอบเรา
เผยเคล็ดลับความงาม แบบไทย
เคล็ดลับลดความอ้วนสูตรดารา
สูตรทำสวยเร่งรัดใน 14 วัน ต้อนรับ Valentine
สิงห์อมควัน ต้องการสวย
คงความเยาว์วัยด้วย Carnosine ดีหรือไม่?
อาหารเช้าเพื่อสุขภาพ สำหรับสาวสวย
สุขภาพดีเพราะมี ความรัก
เดือนแห่งความรักษ์สุขภาพ
เคล็ดลับผิวขาว สุขภาพดี
นิ่ว ถุงน้ำดี และทางเดินน้ำดี
อกหัก รักคุด อย่างมีชีวิตชีวา
น้ำปั่นผลไม้บำรุงสายตา
คีเลชั่น Chelation
ฉีดผิวขาวดีหรือไม่
บำรุงผิวหน้าด้วย แตงโม
เคล็ดลับเพื่อสุขภาพดีของหญิงสาว
เคล็ดลับความสวย แบบประหยัด
ความสูง ความสวย
โคจิค เอซิด สารปรับผิวขาว
เคล็ดลับ ผิวขาวใส แบบใส่ใจสุขภาพ
การรักษารูปร่างให้สวยกระชับ การออกกำลังกายของผู้หญิง
เหงื่อ ความลับสุขภาพดี ที่คุณยังไม่รู้
วิธีการลดคอเลสเตอรอล ด้วยวิธีธรรมชาติ
Aromatic Perfume
Peritoneum Mesothelioma of Cancer
ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ แขนขาอ่อนแรง
Asbestos Mesothelioma Lawsuit
ไข้หวัดใหญ่ สายพันธ์ใหม่ ชนิด A 2009 H1N1
เคล็ดลับการกินให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพ
เคล็ดลับความงาม สำหรับสาวทำงาน
คู่มือประจำ สาวทำงานมือใหม่
Foods Healthy
พริกป่น มีอัลฟาทอกซินเหมือนถั่วลิสง
วิธีแก้ อาการปวดหลัง เมื่อไหร่จะหายปวดหลัง
วิธีกระชับทรวงอก
วิธีดูแลผิว รูปร่าง ให้สวยรับลมหนาว
วิธีฟิตหุ่น ทำสะโพกให้สวย ดูดี
ลอยกระทง
สวนกาแฟ แก้ได้ทุกโรค
ความเข้าใจที่ผิดในการดูแลสุขภาพ
Amethyst Gemstone Rings
เมลามีน Melamine ถึงเวลาที่ต้องรู้จัก
สุดยอด อาหาร คงความอ่อนเยาว์
อารมณ์ สำคัญกับลูกน้อยอย่างไร
ก่อนจะไม่มีเท้าให้ดูแล
กินข้าวทำให้อ้วน จริงหรือ?
อวดผิวสวยใส สไตล์คุณ อย่างมั่นใจกลางไอแดด
ถนอมผิวสวยเมื่อทำงานในห้องแอร์
รู้จักผิว เข้าใจสิว : เคล็ดลับ ความงาม
โรคมะเร็งกับการป้องกัน : เคล็ดลับสุขภาพ
จำเป็นไหม Whitening
ขี้หู มาจากไหน
ล้างหน้า ให้ผิวใส ตลอดวัน
กระชับ หน้าอก เด้งดึ๋ง
วิธีเลือกซื้อ ครีมกันแดด
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งลำไส้
Dance The Magical Beautiful Art
เตือนอันตราย เชื้อรา ในเม็ดแมงลัก
คิดผิดคิดใหม่ ดื่มน้ำมาก ไม่ได้ช่วยให้สุขภาพดีขึ้น
อาหาร ช่วยลด คอเลสเตอรอล : เคล็ดลับความงาม
วิธีขับถ่ายปัสสาวะเพื่อสุขภาพที่ดี สุขภาพหญิงสาว
อาหารสำหรับสาว IT
นิสัยที่ทำให้ อ้วน : เคล็ดลับความงาม
ดูแลตัวเองให้เหมาะกับวัย ห่างไกลมะเร็ง
แต่งสวย... ให้เป็น : เคล็ดลับความงาม
มือใหม่ แต่งหน้าแล้วพลาด แก้ไขได้อย่างไร
สวยงามสุขภาพดี
เคล็ดลับผิวสวยและความงาม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น